ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ


เพิ่มเพื่อน    

 เมื่อ 4 รัฐมนตรีร่วมก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ ก็มีเสียงเรียกร้องให้รัฐมนตรีทั้ง 4 ลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าเป็นการเอาเปรียบพรรคอื่น เพราะมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีที่ยังทำหน้าที่ในการบริหารประเทศอยู่ เหมือนประหนึ่งว่าสามารถใช้ตำแหน่งของการเป็นรัฐมนตรีเอารัดเอาเปรียบคนอื่น แต่ถ้าหากจะพิจารณาให้ดีแล้ว น่าจะเป็นความเสียเปรียบมากกว่า เพราะพวกเขาไม่สามารถใช้เวลาราชการไปทำงานการเมืองได้ จะสามารถพูดเรื่องการเมืองได้เฉพาะช่วงเวลานอกราชการตอนเช้าและตอนเย็น กับวันเสาร์และอาทิตย์เท่านั้น เมื่อยังเป็นข้าราชการการเมืองอยู่จะต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่สามารถพูดเรื่องการเมืองสนับสนุนพรรคการเมืองใดๆ ได้ และเมื่อพูดถึงการเมืองก็ไม่สามารถนำเอาผลงานของรัฐบาลมาหาเสียงได้ หากนำมาพูดก็จะถูกกล่าวหาว่าเอาเปรียบพรรคอื่นๆ ฟังดูก็แปลก ที่ผ่านมารัฐมนตรีในรัฐบาลรักษาการส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ลาออก และถ้าหากตอนที่เป็นรัฐบาลอยู่ ทำอะไรไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนก็จะต้องบอกว่าจะสานต่อ แต่พอรัฐมนตรี 4 คนนี้เอาผลงานที่เคยทำตอนเป็นรัฐบาลมาพูดหาเสียง ก็โดนกล่าวหาว่าเอาเปรียบพรรคอื่น หรือว่าจะต้องให้พูดว่า “ถ้าหากเป็นรัฐบาลจะทำโน่นนี่นั่นที่ไม่ใช่แนวทางที่รัฐบาลปัจจุบันทำอยู่” ถ้าหากสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้เป็นเรื่องที่ดี ทำไมจะเอามาพูดว่าจะทำต่อไม่ได้ ถ้าหากจ้องกล่าวหากันแบบนี้ รัฐมนตรีทั้ง 4 คนน่าจะเสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ
เมื่อพรรคพลังประชารัฐนำเทียบเชิญขอให้นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รับเป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากมีการเลือกตั้งจบลง ก็มีเสียงพูดแล้วว่าท่านน่าจะต้องลาออก ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเอาเปรียบพรรคอื่น ตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรีคงจะยังไม่ตอบรับทันทีจนกว่าจะถึงวันสุดท้ายตามกฎหมายกำหนดว่าท่านจะต้องตอบรับเทียบเชิญ คนที่บอกว่าให้ท่านลาออกเมื่อท่านตอบรับคำเชิญ ไม่รู้ว่าเขาแกล้งลืมหรือเขาลืมไปจริงๆ ว่า ถ้าหากนายกรัฐมนตรีลาออก คณะรัฐมนสตรีจะต้องลาออกทั้งคณะ แล้วใครจะบริหารบ้านเมือง ใครจะเป็นผู้จัดงานงานพระราชพิธีที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ทั้งๆ ที่มีกฎหมายที่กำหนดไว้เรื่องการต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะเมื่อนายกรัฐมนตรีลาออก ก็ยังจะมีเสียงเรียกร้องให้ท่านลาออก โดยบอกว่าหากท่านอยู่ต่อในตำแหน่งน่ายกรัฐมนตรี จะเป็นการเอาเปรียบพรรคอื่น ลองพิจารณาดูดีๆ ว่าการที่ท่านยังอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เพราะลาออกไม่ได้นั้น) ท่านได้เปรียบหรือเสียเปรียบพรรคอื่น
ประการแรกท่านยังเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านคงขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงไม่ได้ พรรคพลังประชารัฐสามารถใช้รูปของท่านในการหาเสียงได้ สามารถพูดว่าถ้าหากพรรคพลังประชารัฐได้เป็นรัฐบาล คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็จะเป็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำได้แค่นี้ จะทำมากไปกว่านี้ไม่ได้ นี่คือความเสียเปรียบ ทั้งนี้เพราะหัวหน้าพรรคอื่นๆ คนที่ถูกนำเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ สามารถปรากฏตั้งบนเวทีปราศรัย ช่วยพรรคหาเสียงได้ ดังนั้นการคิดว่านายกรัฐมนตรียังอยู่ต่อหลังจากรับคำเชิญแล้ว เป็นการได้เปรียบนั้น เห็นทีว่าน่าจะไม่ถูกต้อง เป็นการเสียเปรียบมากกว่า นอกจากนั้นแล้ว การทำงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากที่รับคำเชิญแล้วจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสุ่มเสียงกับการทำผิดกฎของ กกต.ที่มีความเข้มงวดมากสำหรับกติกาการเลือกตั้งในครั้งนี้
· การออกโทรทัศน์พูดคุยกับประชาชนต้องทำด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะโดนพวกที่เป็นนักร้องทั้งหลายไปร้อง กกต.ให้สอบสวนว่าข้อความที่พูดนั้นเป็นการหาเสียงเพื่อเป็นประโยชน์กับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ หรือบางคนอาจจะเลยเถิดไปถึงการให้ตีความว่าเมื่อท่านรับเป็นผู้ที่มีโอกาสจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ท่านสามารถจะออกโทรทัศน์ได้ต่อไปหรือไม่
· การออกไปประชุม ครม.สัญจรก็จะต้องระมัดระวัง อาจจะมีคนให้ กกต.ตีความว่าการที่มีข้าราชการและประชาชนมาต้อนรับนั้นผิดกติกาการเลือกตั้งหรือไม่ และหากท่านไปพูดคุยกับประชาชนเล่าผลงานของรัฐบาลที่ทำมาและตั้งใจว่าจะทำต่อไปอีก จะถูกตีความว่าเป็นการหาเสียงให้กับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่
· ถ้าหากเรื่องที่ท่านพูดกับราษฎรว่าท่านได้ทำอะไรไป แต่ยังไม่แล้วเสร็จ จึงคิดว่าต้องการสานต่อให้เสร็จสมบูรณ์จะถูกตีความว่าเป็นการหาเสียงหรือไม่ เพราะเวลานี้การที่ท่านจะอยู่ต่อนั้น สำหรับตัวท่านเองและหลายคนที่เชียร์ท่านก็จะตีความงานอยู่ต่อว่าเป็นการสานต่องานที่ทำไว้ แต่ฝ่ายตรงกันข้ามย่อมมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ เพราะเวลานี้ท่านก็ถูกตีตราว่าเป็นเผด็จการ เพราะเข้าสู่อำนาจด้วยการทำรัฐประหารอยู่แล้ว พวกเขามองว่า 5 ปีนั้นนานเกินพอแล้ว ถึงเวลาที่ท่านจะต้องยุติบทบาททางการเมืองได้แล้ว ดังนั้นการบอกว่าท่านต้องการสานต่องานอะไร ก็จะถูกมองว่าเป็นการหาเสียงเพื่อสืบทอดอำนาจ
· การที่ท่านเป็นแม่เหล็กให้กับพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่อาจขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงได้เหมือนกับคนที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ นั้น ไม่น่าจะเป็นความได้เปรียบ แต่เป็นความเสียเปรียบมามากกว่า เพราะคนที่ได้รับการเสนอชื่อคนอื่นๆ นั้น สามารถปรากฏตัวพูดคุยกับคนลงคะแนนเสียงอย่างใกล้ชิด แต่ตัวท่านเองต้องเก็บเนื้อเก็บตัว ขึ้นเวทีปราศรัยใกล้ชิดกับประชาชนไม่ได้ เช่นนี้แล้ว จะเป็นความได้เปรียบได้อย่างไร
โดยสรุปแล้ว นายกรัฐมนตรีลาออกไม่ได้ และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดไว้ว่าท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องลาออก ก็ควรหยุดเรียกร้อง และสื่อมวลชนก็สมควรที่จะเลิกถามท่านได้แล้ว ไม่ว่าจะถามสักกี่ครั้งก็ตาม ท่านก็ต้องตอบว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ให้ท่านลาออก บางคนก็บอกว่ากฎหมายไม่กำหนดไว้ แต่ถ้ามีจิตสำนึกก็ต้องลาออก พูดแบบนี้ไม่อ่านรัฐธรรมนูญหรือไร ว่าท่านลาออกจะมีผลทั้งคณะ แล้วใครจะบริหารประเทศในเวลาที่ยังไม่มีรัฐบาลใหม่ ใครจะเตรียมงานพระราชพิธีสำคัญของประเทศ และที่มองว่าการไม่ลาออกเป็นการได้เปรียบนั้น ลองคิดใหม่ พิจารณาใหม่ว่าท่านได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันแน่.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"