คมนาคม ลุยตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถไฟหวังลดต้นทุน2.2หมื่นล้าน


เพิ่มเพื่อน    

 

6 ก.พ. 2562 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมระบบราง ว่า ขณะนี้เป็นที่สรุปแล้วว่า กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง จะเดินหน้าผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิต รถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วน ระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด และให้เกิดโรงงานแรกให้ได้ภายในปี 65โดยทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งภายในรัฐบาลนี้
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจัดตั้งโรงงานผลิตในไทยอย่างจริงจัง คมนาคมจะกำหนดให้ภายในปี63 การกำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด ต้องระบุให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนภายในปี65 กำหนดให้มีการจัดซื้อและส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศภายในปี67 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตโดยชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่า40% ของมูลค่ารถที่สั่งซื้อ และภายในปี68 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญ เช่น ตัวรถ โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบจ่ายไฟ ระบบช่วงล่าง เป็นต้น

สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากผลการศึกษาของอุตสาหกรรมพบว่า ใน20ปีข้างหน้า ไทยมีความต้องการใช้รถไฟ รถไฟฟ้ามากว่า 1,000 ตู้ ประกอบกับในปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนทางรางในไทยทั้งของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(บีทีเอส),การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.),รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง,การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ใช้ตู้รถไฟมากว่า 413 ตู้ และในอนาคตไทยมีจะการลงทุนรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รถไฟความเร็วสูงอีกจำนวนมาก 

“เราลงทุนระบบรางเยอะ เราตั้งใจว่า ต่อไประบบรางจะเป็นระบบหลักของประเทศ ทั้งการขนส่งคนและการขนส่งสินค้า เพราะว่าการพัฒนาระบบราง จะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางด้วย ซึ่งจากแผนนั้น สมมติว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีโครงการ PPP ในสายไหน จะต้องใส่เงื่อนไขเข้าไปในทีโออาร์ให้คนที่จะเข้ามาประมูล รวมไปถึงโครงการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในอนาคตด้วย เพราะเป็นโครงการของภาครัฐ” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นอกจากนั้น หากมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้าในไทย จะช่วยลดต้นทุนการผลิต นำเข้า บำรุงรักษาทั้งระบบหากมีการจัดซื้อตู้รถไฟ1,000 ตู้ รวมกว่า 22,300 ล้านบาท แยกออกเป็น ลดการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ต่างๆกว่า 18,000 ล้านบาท/1,000ตู้,ลดต้นทุนการบำรุงรักษา จ้างผู้เชี่ยวชาญ และซ่อมบำรุงกว่า 4,300ล้านบาท/ปี และหากมีการตั้งโรงงาน จะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท/ปีส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานรถไฟฟ้านั้น มองว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสม เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"