สิทธิมนุษยชนเชื่องๆ


เพิ่มเพื่อน    

    ขอพูดถึงเธอคนนี้อีกที 
    "โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา" แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 
    วันนี้ผันตัวมาเป็นแกนนำเรียกร้องส่ง "ฮาคีม อัล อาไรบี" คืนออสเตรเลีย
    ประเด็นคือเธอไปทวีตข้อความใน บัญชีทวิตเตอร์ Bow Nuttaa Mahattana@NuttaaBow ว่า 
     "คนไทยนี่พอรัฐบาลพูดคำว่า 'เราทำทุกอย่างตามกฎหมาย' ก็เชื่อกันเชื่องๆ เลย? #SaveHakeem"
    นักปกป้องสิทธิมนุษยชนใช้คำว่า "เชื่องๆ" กับคนที่เชื่อว่าประเด็นนี้ต้องทำตามกฎหมายตามที่รัฐบาลบอก 
    คำว่า "เชื่อง" ใช้กับสัตว์ ไม่ใช่มนุษย์ 
    ถ้ามนุษย์หน้าไหนถูกนำคำว่า "เชื่อง" มาใช้ ก็แสดงว่ามนุษย์ผู้นั้นมีพฤติกรรมเยี่ยงสัตว์ 
    กับคนใช้ว่า หัวอ่อน ฉลาดน้อย ก็ว่ากันไป 
    แต่นี่ใช้คำว่า "เชื่อง" กับคนที่คิดไม่เหมือนตัวเอง 
    นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมุษย์ของคนเห็นต่างได้อย่างไรกัน 
    ก่อนถูกจับ ไม่มีใครรู้จัก "ฮาคีม"
    ไม่รู้ว่านายคนนี้เป็นใคร ไปทำอะไรมาบ้าง 
    และเมื่อถูกจับ กลายเป็นประเด็นใหญ่โต ตีข่าวไปทั่วโลก
    ผู้ลี้ภัยที่ต้องได้รับการปกป้องด้านสิทธิมนุษยชน ในความจริงมันควรเป็นเช่นนั้น 
    แต่เรื่องราวตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ กลับพบว่า มันมีข้อผิดพลาด กลบความผิด และโยนความผิด 
    วันนี้เริ่มจะไปไกลถึงขั้นว่า หมายแดง หรือ Red Notice ของตำรวจสากล ไม่ใช่หมายจับ
    ตำรวจสากลไม่มีอำนาจบังคับให้ประเทศสมาชิกจับผู้ที่มีหมายแดงติดตัว
    ในกรณีของ "ฮาคีม" การตัดสินใจจับหรือไม่จับเป็นอำนาจของไทย ๑๐๐% หากตัดสินใจไม่จับก็ไม่ผิดกฎของตำรวจสากลแต่อย่างใด
    ถ้าใช้ตรรกะนี้มาบอกว่า ไทยไม่ควรจับ "ฮาคีม" แล้วจะมีตำรวจสากลเอาไว้ทำหอกอะไร
    เอาง่ายๆ นักปกป้องสิทธิฯ ทั้งหลาย ถ้าวันนั้นตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วเห็นหมายแดงของตำรวจสากลว่า บุรุษนายหนึ่งมีคดีก่อการร้ายในประเทศตะวันออกกลาง วันนั้นจะไม่สนใจที่จะกักตัวไว้ก่อนเพราะตำรวจสากลบอกว่า เอ็งไม่ต้องสนใจหมายแดงก็ได้ ใช่หรือไม่ 
    อย่าอวดอ้างตัวเองฉลาดหลังหวยออกให้มาก ให้คิดถึงคนที่อยู่หน้างานแล้วเจอสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจในเวลานั้นบ้าง 
    ในวันที่ "ฮาคีม" มีหมายแดง 
    ในวันที่ทางการบาห์เรนได้ร้องขอให้ตำรวจสากลออกหมายแดงเพื่อจับกุม "ฮาคีม" ๔ วันหลังจากที่เขายื่นขอวีซ่าเข้าประเทศไทย 
    อย่าไปฉลาดเอาเฉพาะวันที่ ตำรวจสากลออสเตรเลียถอนหมายแดงเพราะความผิดพลาดของตัวเอง 
    สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ใช้สิทธิมนุษยชนมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ผู้นั้นหามีความเป็นมนุษย์ในตัวไม่ 
    รัฐบาลออสเตรเลียเลือกที่จะเล่นประเด็นเช่นนี้อย่างน่ารังเกียจมานานแล้ว 
    เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘ โทนี แอบบ็อตต์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ขณะนั้น ใช้นโยบายปิดกั้นผู้ลี้ภัยทางเรืออย่างเข้มข้น 
    ชาวโรฮีนจาล่องเรือขอขึ้นเกาะ โทนี แอบบ็อตต์ บอกว่า
    "ออสเตรเลีย จะไม่ทำอะไรก็ตามที่อาจส่งเสริมให้คนเหล่านั้นคิดว่าพวกเขาสามารถล่องเรือมาได้  หรือร่วมมือกับแก๊งค้ามนุษย์เพื่อมาแสวงหาชีวิตใหม่ในต่างแดนได้”
    นี่คือคำสารภาพของผู้นำประเทศที่ยกย่องตัวเองว่าให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน 
    กรณี "ฮาคีม" ไทยไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องทำตามกฎหมายของตนเอง 
    ว่าไปกรณีอเมริกาชี้เป้าให้แคนาดาจับ "เมิ่ง ว่านโจว" ทายาทหัวเว่ยรุนแรงกว่า "ฮาคีม" หลายเท่า และวันนี้ ทางการแคนาดา ตกอยู่ในสภาพไม่ต่างจากทางการไทยเท่าไหร่ 
    หรือถ้าเทียบกับกรณี สาวซาอุฯ ใช้ไทยเป็นทางผ่าน เพื่อขอลี้ภัยไปประเทศที่สาม ออสเตรเลียแสดงเจตจำนงอยากรับตัวไว้ แต่เจ้าตัวขอไปแคนาดา ครั้งนั้นจบเร็วเพราะ สาวซุอาฯ ไม่มีคดี ไม่มีตำรวจสากลเข้ามาเกี่ยวข้อง 
    ฉะนั้นประเด็นข้อกฎหมายจึงมีความสำคัญในแง่ของความเร็วหรือช้า เพื่อการจบเรื่องเช่นกัน 
    ก็อย่างที่ "โบว์" เคยบอก  
    "ที่ตัดสินใจฟ้องใช้เวลาเพียง ๑ นาที เพราะเราปรึกษากันและได้รับข้อมูลมาจากหน่วยงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่า ถ้าเราฟ้องเขาจะเอาไปทำเรื่องสิทธิมนุษยชนของการละเมิดสิทธิฯ เรื่องหนึ่งของโลก แม้จะรู้ว่าจะจับใครมาดำเนินคดีไม่ได้ก็ตาม"
    ตัดสินใจ ๑ นาทีฟ้องคลิปไก่จ๋า วันนี้ผ่านมาเดือนกว่าแล้ว ฟ้องหรือยัง
    ยูเอ็นรับรู้แล้วหรือไม่
    เพราะมันคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงไม่ใช่หรือ?


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"