ทัพสหรัฐเตรียมช็อประบบโล่มิสไซล์ 'ไอร์ออนโดม' ของอิสราเอล


เพิ่มเพื่อน    

กองทัพสหรัฐต้องการซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ "ไอร์ออนโดม" ของอิสราเอล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจรวดสกัดกั้นที่สหรัฐช่วยอิสราเอลพัฒนาขึ้นเอง จำนวน 2 หน่วย

แฟ้มภาพ วันที่ 9 กรกฎาคม 2557 มิสไซล์จากระบบไอร์ออนโดมของอิสราเอลพุ่งออกจากเครื่องยิงจรวดแบบเคลื่อนที่ได้ / AFP

    รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ กล่าวว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ของอิสราเอลชนิดนี้พัฒนาโดยบริษัท ราฟาเอลแอดวานซ์ดีเฟนซ์ซิสเต็มส์ ของทางการอิสราเอล โดยสหรัฐให้ทุนสนับสนุน รวมถึงชิ้นส่วนบางอย่างก็ผลิตโดยบริษัทของอเมริกา

    กองทัพอากาศอิสราเอลเริ่มใช้งานไอร์ออนโดม ซึ่งประกอบด้วยเรดาร์และมิสไซล์สกัดกั้น มาตั้งแต่ปี 2554 โดยเฉพาะในการรับมือกับการโจมตีด้วยจรวดจากกาซาและแหล่งที่มาอื่นๆ

    พันเอกแพทริก ไซเบอร์ โฆษกกองทัพสหรัฐ เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า กองทัพสหรัฐต้องการซื้อไอร์ออนโดม 2 หน่วย เพื่อตอบสนองความจำเป็นระยะสั้นในการปกป้องทหารจากการยิงแฝง เช่น จรวดและปืนครก

    สหรัฐยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะวางกำลังระบบป้องกันภัยทางอากาศคู่นี้ที่ใด คำแถลงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ กล่าวว่า ไอร์ออนโดมจะถูกใช้บนพื้นฐานของการทดสอบและจะประเมินทางเลือกต่างๆ สำหรับความจำเป็นระยะยาวต่อไป

    ระบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับการสกัดกั้นจรวดและกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงมาจากระยะ 4-70 กิโลเมตร แต่ละกลุ่มอาวุธนี้จะประกอบด้วยเรดาร์ตรวจจับและติดตาม, ซอฟต์แวร์ควบคุมการยิงที่ล้ำสมัย และเครื่องยิงจรวด 3 ชุด แต่ละชุดมีมิสไซล์สกัดกั้น 20 ลูก เจ้าหน้าที่อิสราเอลอ้างว่า ระบบไอร์ออนโดมนี้ ซึ่งสามารถใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศและสามารถเคลื่อนย้ายได้ มีอัตราความสำเร็จสูงถึง 90%

    ด้านนายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ซึ่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมด้วย กล่าวถึงสัญญาซื้ออาวุธครั้งนี้ว่าพิสูจน์ถึงความเป็นพันธมิตรระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐ ระบบไอร์ออนโดมสามารถจัดการกับภัยคุกคามต่างๆ ทั้งในแง่การป้องกันตนเองและในการโจมตี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"