'เจษฎา ศรีสุข'รุ่นใหม่'รปช.' : 'งานการเมืองต้องฟังเสียงประชาชน แม้เสียงเดียวยิ่งต้องฟัง'


เพิ่มเพื่อน    

"เจษฎา ศรีสุข" หรือ "ทนายเอก" ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 11 กรุงเทพมหานคร เขต 8 ลาดพร้าว วังทองหลาง  พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ถือเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ตัดสินใจเลือกตั้งที่ลงเล่นการเมือง ภายใต้ความเชื่อของตนเองที่ว่า "งานการเมือง ต้องฟังเสียงประชาชน แม้เสียงเดียว ยิ่งต้องฟัง"

ทนายเอก อายุ 35 ปี การศึกษา จบปริญญาตรี นิติศาสตร์ บัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจบการศึกษาได้เข้าเป็นทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ของบริษัทเอกชน บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ 

ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น เคยเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองกับ "กปปช." ในการต้านกฎหมายนิรโทษกรรม

"ผมมีความสนใจทางการเมืองตั้งแต่ที่ในวัยเด็กประมาณ 8-9 ขวบ เพราะที่บ้านพ่อผมค่อนข้างที่จะสนใจข่าวการเมืองอย่างมาก เวลาที่ใช้เวลาอยู่กับที่บ้าน พ่อก็จะเปิดดูแต่ข่าวการเมือง ผมก็ดูตามพ่อ แม้ไม่เข้าใจว่าสำคัญเพียงใด แต่พอรู้ว่ามันต้องเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่  

กระทั่งผมโตขึ้นมาเริ่มทำกิจกรรมกับนักศึกษา กับงานจิตอาสา กับชุมชนในพื้นที่ ผมเริ่มซึมซับถึงปัญหาของประชาชน ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน จนเข้าใจว่าเราไม่อาจไม่สนใจการเมืองได้ เพราะปัญหาที่ว่านี้เกิดจากการเมือง และต้องแก้ด้วยการเมือง" 

ถามว่าจะนำความรู้มาใช้อย่างไร "จากการที่ได้เคยทำงานร่วมกับชุมชน ผมได้แต่พบปัญหาซ้ำๆ แบบที่เคยฟังมาทุกครั้งที่ไปรับฟังปัญหา ที่ต้องทำให้ตระหนักคิด คือ ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำไมปัญหาถึงยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือว่าที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาแบบฉาบฉวย หรือแบบขอไปที แต่ไม่ได้ช่วยทำให้ชุมชนนั้นเข้มแข็ง หรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

"ปัญหาหลักที่พบเจอ คือ ความยากจน เป็นปัญหาที่พบบ่อย จากเสียงบ่นชาวบ้าน นั่นเกิดจากรายได้ครัวเรือนที่ไม่เพียงพอต่อการดูแลครอบครัว และที่สำคัญกว่านั้นในแต่ละครอบครัวมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางครัวเรือนมีเพียงผู้ที่หาเลี้ยงมีรายได้คนเดียว ยิ่งไปกว่านั้น บางครอบครัวยังมีผู้สูงอายุ ผู้พิการที่ต้องดูแล"

ทนายเอกบอกว่า ลงพื้นที่ชุมชนในกรุงเทพฯ ยังมีมากที่อาชีพรับจ้างทั่วไปเก็บของเก่าขาย บางคนว่างงาน ซึ่งมันเป็นภาพของความไม่มั่นคงในชีวิต ตรงนี้สำคัญเราจะสร้างคุณภาพชีวิต สร้างงานสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและคนเหล่านี้ได้อย่างไร 

"ถ้าเราสามารถทำให้ทุกคนในครอบรัวสามารถหารายได้เข้ามา โดยที่สามารถทำอยู่ที่บ้าน ไม่ต้องออกนอกบ้าน เพราะจะได้ดูแลบ้านและคนในครอบครัว ก็จะสามารถลดปัญหาความยากจนได้ การฝึกอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถ สร้างรายได้เพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งช่องทาง เช่น ฝึกการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซ่อมเครื่องยนต์ งานฝีมือ งานตัดเย็บเสื้อผ้า การทำขนม อาหาร เป็นต้น"

เมื่อถามว่าทำไมถึงสนใจมาร่วมงานกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย "เจษฎา ศรีสุข" ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 11  กรุงเทพมหานคร บอกว่า พรรครวมพลังประชาชาติไทย มีความแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น ตรงที่เป็นพรรคการเมืองที่เกิดจากการต่อสู้ของมวลมหาประชาชน ต่อความไม่ถูกต้องของการเมืองไทย และอุดมการณ์ที่อยู่ข้างประชาชนมาโดยตลอด เป็นพรรคที่ไม่ได้เพียงหวังผลทางการเมือง แต่มีเป้าหมายที่จะปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง  

"ที่สำคัญ พรรครวมพลังประชาชาติไทยเป็นพรรคที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจที่จะทำงาน รับฟังปัญหา และความคิดของคนรุ่นใหม่ ที่น่าสนใจอีกคือนโยบายของพรรค เป็นนโยบายที่จับต้องได้ และทำได้จริงเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย  มองปากท้องเป็นที่สำคัญกว่าหน้าตา ความสวยหรู"

ทนายเอกกล่าวด้วยว่า ถ้ามองเรื่องการเมืองที่ผ่านต้องมองย้อนไปให้รอบด้านประมาณ 12-13 ปีผ่านมา เป็นการเมืองถูกมองว่าไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร แต่เมื่อมองย้อนกลับไป ไม่ว่าปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาความแตกแยกในสังคม การทุจริตคอร์รัปชัน ความวุ่นวายทางการเมืองที่ไม่สิ้นสุด ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ผลมาจากนักการเมือง ที่ไม่ได้ทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องในแบบที่สังคมไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไป  

"ผมก็หวังว่าเหตุการณ์ทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นบทเรียนให้กับนักการเมืองที่จะไม่ถูกครอบงำ และหันมาทำงานการเมืองเพื่อประชาชนแท้จริง และที่สำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ หวังว่าจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ จากการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่จะเข้าไปทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงของประชาชน".


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"