“พาณิชย์”นัดถกคณะทำงาน ดูโครงสร้างต้นทุนราคายา นำร่อง 1,000 รายการ


เพิ่มเพื่อน    

11 ก.พ. 2562 นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการดูแลยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ เปิดเผยว่า คณะทำงานเพื่อพิจารณาโครงสร้างต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน ที่มีนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน จะมีการประชุมนัดแรก โดยเชิญตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน มาสอบถามเกี่ยวกับต้นทุนของยา ทั้งที่เป็นยาในประเทศและยานำเข้ามาจากต่างประเทศของแต่ละแห่งมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล

ทั้งนี้ หลังจากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะมีการพิจารณาในเรื่องราคายาที่โรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งคิดค่ายากับผู้ใช้บริการเป็นอย่างไรบ้าง และมีการนำอย่างอื่นมารวมไว้กับค่ายาหรือไม่ และหากเห็นว่าราคายาแพงเกินไป และคณะทำงานเห็นว่าโรงพยาบาลมีการชี้แจงต้นทุนไม่สมเหตุสมผล ก็จะมีการเข้าไปดูแลราคาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภคต่อไป 

“ขอยืนยันว่าการดูแลราคายา จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งประชาชน โรงพยาบาล ซึ่งคงต้องดูข้อมูลกันอีกทีว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนของราคายา ยอมรับว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งอาจมีต้นทุนราคาไม่เท่ากัน เช่น โรงพยาบาลที่มีเครือข่ายมากก็สามารถสั่งยาครั้งละมากๆ ได้ และจะได้ยาในต้นทุนต่ำ แต่โรงพยาบาลที่มีสาขาน้อยและซื้อยาไม่มาก ก็อาจจะได้ต้นทุนสูงกว่า”

สำหรับการพิจารณาเรื่องของโครงสร้างราคายา เบื้องต้นจะมีการเน้นตัวยาที่ประชาชนเข้ามาใช้บริการกันมากก่อน นำร่องประมาณ 1,000 รายการ จากทั้งหมดที่มีตัวยากว่า 10,000 ราย

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในฐานะรักษาการรมว.พาณิชย์ ก็จะเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) โดยตำแหน่ง ซึ่งในส่วนของการดูเรื่องของยาและค่ารักษาพยาบาล เบื้องต้นจะเดินหน้าในเรื่องนี้ต่อไป โดยยึดหลักให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงมติคณะอนุกรรมการฯเมื่อวันที่ 31 ม.ค.62 ที่กำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนต้องปิดป้ายแสดงราคายาให้ชัดเจน และเปิดเผย เพื่อให้ผู้บริโภคได้เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจเข้ารับบริการว่า ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ปิดป้ายแสดงราคาอยู่แล้ว แต่โรงพยาบาลจะขายตามราคาที่ปิดป้ายไว้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งการที่คณะอนุกรรมการฯกำหนดให้ต้องปิดป้ายแสดงราคานั้น หากจะให้ได้ผลทางกฎหมาย กระทรวงพาณิชย์จะต้องนำเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ออกประกาศให้โรงพยาบาลปิดป้ายแสดงราคา หากโรงพยาบาลไม่ปิดป้ายให้เปิดเผย เห็นชัดเจน จะมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ.2542 มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากปิดป้ายแล้วไม่ขายตามราคาที่แสดงไว้ จะมีโทษปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

”ทุกวันนี้ โรงพยาบาลบางแห่งมีการชี้แจงราคาอยู่แล้ว แต่ไม่อยู่ในที่เปิดเผย เช่น อยู่ในสมุดเก็บไว้ที่ช่องจ่ายเงิน หรืออยู่ในคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ไม่ได้อยู่ในที่เห็นเด่นชัด อีกทั้งอาจไม่ได้ขายตามราคาที่แสดงไว้ ซึ่งไม่มีหน่วยงานใดดูแลได้ แต่การที่ต้องให้กกร.ออกประกาศ ก็เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ที่จะดำเนินการได้”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ได้นำเสนอให้กกร.ออกประกาศ เพราะต้องการรอให้พิจารณาโครงสร้างต้นทุนยาเสร็จเสียก่อน เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ยาแต่ละชนิดมีต้นทุนเท่าไร ราคานำเข้าเป็นอย่างไร โรงพยาบาลตั้งราคาขายสอดคล้องกับต้นทุนหรือไม่ หรือมีการนำต้นทุนอื่นๆ มาแฝงไว้ในราคายา และบริการทางการแพทย์หรือไม่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าเก็บสต๊อก ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของโรงพยาบาล เป็นต้น ขณะเดียวกัน ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการหาแนวทางที่จะให้โรงพยาบาลคิดราคายา โดยแยกออกจากต้นทุนอื่นๆ  เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"