RATCHโอดพิษค่าเงินฉุดกำไรลด7.5%


เพิ่มเพื่อน    

 

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทปี 2561 มีกำไร 5,587.60 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 7.5% เนื่องจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหากไม่นับรวมผลกระทบดังกล่าวบริษัทมีกำไร 6,452.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.5% ส่วนปี 2562 นี้เตรียมสำรองเงินลงทุน 20,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและก่อสร้างโครงการใหม่ ตั้งเป้าหมายมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 8,960 เมกะวัตต์หรือเทียบเท่า จากปีที่ผ่านมามีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 7,639.12 เมกะวัตต์หรือเทียบเท่า 

โดยแผนการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1,320.88 เมกะวัตต์ในปีนี้ บริษัทมีเป้าหมายร่วมทุนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของเอกชน(ไอพีพี) ในประเทศ คาดจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ มีแผนก่อสร้างในปี 2567-68 ส่วนโครงการลงทุนในโรงไฟฟ้าต่างประเทศยังอยู่ระหว่างเจรจา ซึ่งคาดจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาส 1 หรือต้นไตรมาส 2/2562 ทั้งประเทศกลุ่มอาเซียน ลและประเทศออสเตรเลีย โดยใช้เชื้อเพลิงหลักและพลังงานทดแทน กำลังการผลิตอย่างน้อย 200-300 เมกะวัตต์  รวมถึงโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีโอกาสในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ โรงไฟฟ้าสายสีเหลือง

สำหรับความคืบหน้าการพิจารณาต่ออายุสัญญารับซื้อโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ (TECO) ขนาด 700 เมกะวัตต์ ของบริษัทที่กำลังจะหมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในปี 2563 นั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทดแทนเร็วๆ นี้ ซึ่งต้องรอคามชัดเจนจากกระทรวงพลังงานว่าจะมีนโยบายอย่างไร

นอกจากนี้ บริษัทยืนยันความพร้อมเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตกทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุสัญญาช่วงเดือนก.ค.2563 ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 5,000 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นของราชบุรีโฮลดิ้ง 3,645 เมกะวัตต์ เป็นของราชบุรี พาวเวอร์ 1,490 เมกะวัตต์ ซึ่งราชบุรี โฮลดิ้งถือหุ้นอยู่ 25% คิดเป็นสัดส่วนกำลังการผลิต 720 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ ขนาด 700 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้หากโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ที่กำลังจะหมดอายุยังไม่มีข้อสรุปหรือไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันตามกำหนด ก็ยังคงยืนยันกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันตกที่กว่า 5,000 เมกะวัตต์ เพียงพอรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคตกประมาณ 3,000 เมกะวัตต์

นายกิจจา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2566 บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 10,000 เมกะวัตต์ ทั้งยังมีแผนควบรวมกิจการ(เอ็มแอนด์เอ) อย่างน้อย 300-400 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งจะทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตพอสมควร ส่วนความคืบหน้าการเข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 นั้น เบื้องต้นบริษัทได้เข้าไปศึกษาความพร้อมแล้วมองว่าอาจไม่คุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากหลักเกณฑ์การประกวดราคา (ทีโออาร์) มีเงื่อนไขให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานต้องนำส่งเงินเข้าเป็นรายได้รัฐเป็นเวลา 30 ปีตลอดอายุสัมปทาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"