'วินทร์ เลียววาริณ' ดึงสติคนรุ่นใหม่ต้องซื่อสัตย์ สัญญาอะไรให้คิดว่าทำได้จริงไหม


เพิ่มเพื่อน    

21 ก.พ.62 - วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับการสอนคนรุ่นใหม่ให้มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์ โดยระบุไว้ตอนหนึ่งว่า ปัญหาต่างๆในบ้านเมืองเราเกี่ยวข้องกับคำว่าความซื่อสัตย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม มองไปรอบตัวเราในสังคมปัจจุบัน หาผู้ที่เรียกว่า ‘คนจริง’ ยากเต็มที

ค่านิยมของเราสอนเด็กให้ตั้งเป้าหมายชีวิตที่ความสุขและความสำเร็จ (ซึ่งวัดด้วยเงินตรา) มิใช่ตั้งเป้าหมายที่คุณภาพของคนและคุณภาพชีวิต ผลก็คือเราเป็นสังคมที่มีกฎหมายมาตราต่าง ๆ นับไม่ถ้วน มีตำรวจมากมาย มีทนายความล้นเมือง

สังคมที่มีตำรวจกับทนายความมาก สะท้อนว่าเป็นสังคมที่มีคนไม่ซื่อสัตย์จำนวนมาก เพราะถ้าคนรักษาสัญญาเสียอย่างเดียว กฎหมายอะไรก็ไม่จำเป็น เพราะผูกพันกันด้วยสัญญาสุภาพบุรุษสังคมซึ่งการเก็บเงินที่คนลืมทิ้งในรถแท็กซี่เป็นข่าวและต้องประกาศเกียรติคุณสะท้อนสังคมที่ขาดแคลนความซื่อสัตย์และความดี เพราะเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก

การสั่งสอนเด็กรุ่นใหม่จึงไม่อาจเฉพาะความรู้ ต้องรวมจริยธรรม-ความซื่อสัตย์เข้าไปด้วย สอนเด็กว่า ก่อนให้สัญญาอะไรกับใคร คิดก่อนว่าจะทำได้จริงไหม และจะทำจริง ๆ ไหม เพราะความซื่อสัตย์มีค่าเหนือกว่าความรู้เสียอีก เพราะสังคมที่คนไม่มีความรู้อย่างมากก็แค่ล้าหลัง แต่สังคมที่มีแต่คนโกง พังอย่างเดียว ปราศจากจริยธรรม ต่อให้มีความรู้หรือปริญญากี่ใบ ก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไร้ค่า และท้ายที่สุดผู้ใหญ่เหล่านี้ก็สร้างสังคมที่ไร้ค่า ต่อให้บ้านเมืองเจริญทางวัตถุเท่าใด ก็เป็นสังคมที่กลวงเปล่าที่เราคงไม่อยากให้ลูกหลานของเราเป็นส่วนหนึ่งของมัน

คนโบราณใช้คำว่า ‘อบรมสั่งสอน’

อบรมจริยธรรม สั่งสอนความรู้

อบรมให้รู้จักอาย สั่งสอนให้เป็นคนจริง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"