รู้ไว้ใช่ว่า..วางแผนรับมือ "โรคภัย"ระหว่างเดินทาง 


เพิ่มเพื่อน    

    การวางแผนการท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญในการเดินทางกับผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก สภาพอากาศ เสื้อผ้า การคมนาคม กิจกรรมที่ต้องทำ อาหารการกิน และหากเดินทางไปต่างประเทศก็มีเรื่องภาษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นควรวางแผนให้ดีจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสุขภาพร่างกาย เพราะถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่างเดินทางไม่ว่าใกล้ไกลในประเทศหรือต่างประเทศ เรียกว่า หมดสนุกแน่
    ทีมแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล แนะนำว่า การเดินทางไปยังต่างประเทศหรือต่างถิ่นที่อยู่ไกลๆ ผู้เดินทางอาจต้องเผชิญกับปัญหาดังต่อไปนี้
    อาการอุจจาระร่วงในผู้เดินทาง (travelers’ diarrhea) เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดโดยมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และโปรโตซัว อัตราความชุกของโรคมีตั้งแต่ร้อยละ 30-70 ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะเดินทาง
    อาการคลื่นไส้ วิงเวียน (motion sickness) ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมีการโดยสารพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่ อาทิ เรือ เครื่องบิน เครื่องเล่นในสวนสนุก เป็นต้น
    Acute mountain sickness หรือ high altitude sickness เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถปรับตัว เนื่องจากความกดดันอากาศที่เปลี่ยนไปเมื่อขึ้นสู่ที่สูง โดยทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ หอบเหนื่อย เป็นต้น
    Jet lag เป็นอาการชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับผู้โดยสารเครื่องบินที่ต้องเดินทางข้ามเขตเวลาตั้งแต่สามเขตเวลาขึ้นไป
    ไข้มาลาเรียเป็นโรคที่พบมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้นราวๆ 350-500 ล้านคนทั่วโลก โดยมีผู้ติดเชื้อแล้วเสียชีวิตปีละ 1 ล้านคน
    ไข้เหลือง มีผู้ติดเชื้อปีละ 2 แสนราย และเสียชีวิตปีละ 3 หมื่นราย โดยร้อยละ 90 เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา
    ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางหรือติดต่อหรือสัมผัสกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่เรียกว่า meningitis belt ในแอฟริกา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 21 ประเทศ ตั้งแต่ประเทศเซเนกัลไปทางตะวันออกจนถึงประเทศเอธิโอเปีย (ข้อมูลจากสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข) รวมทั้งผู้ที่ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพบว่ามีรายงานการระบาดมาแล้ว
    ไทฟอยด์ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย มีการประมาณการกันว่า แต่ละปีมีผู้ติดเชื้อประมาณ 22 ล้านคน
    โรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้มีทั้งที่จะหายเองได้ด้วยการพักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ หรือกินยา แต่ก็มีหลายโรคที่จำเป็นต้องปรึกษาหมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น ถ้าให้ปลอดภัยไว้ก่อนคือ ก่อนเดินทางไปในสถานที่ที่คิดว่าจะห่างไกลมือหมอประจำของตัวเอง ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ประจำตัว หรือไม่ก็นำแผนการเดินทางไปร่วมกันพิจารณา เพื่อการจัดเตรียมการให้พร้อม ทำให้การท่องเที่ยวได้สนุกสมใจเต็มที่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"