ม.มหิดล จับมือ TCELS ทุ่ม 400ล้านพัฒนาวิจัยหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง ช่วยผ่าตัด ป้อนวงการแพทย์ไทย 


เพิ่มเพื่อน    


 

15มี.ค.62-ณ ห้องกมลทิพย์ 2-3 โรงแรมสุโกศล ถนนศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโทโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) เป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) (TCELS ) กระทรวงวิทยาศาสต์และเทคโนโลยีเปิดประชุมนานาชาตินานาชาติหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง หรือ The 2019 International Advanced Medical Robotics Symposium (iAMRS2019) ครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเซียแปซิฟิก 
ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้พยายามจะมุ่งเน้นในการชูบทบาทของประเทศไทย ในการเป็นผู้นำส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูงบนเวทีโลก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรวมเอานักวิจัย จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้ง ม.มหิดล จุฬาฯ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น เป็นต้น มาร่วมกันคิด พัฒนาการงานวิจัย เพื่อนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ แต่ยังติดปัญหาเรื่อง กฎกติกา มาตรฐานต่างๆ ก็ได้มีทีมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ที่ทำเรื่องระบบมาตรฐาน รวมไปถึง สำนักงานคณะกรรมการอาหรและยา(อย.)หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้แลกเปลี่ยนกัน  ทั้งนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เตรียมสร้างศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง (Advanced Medical Robotics Center) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล  มูลค่าการลงทุน 400 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยศูนย์นี้จะมุ่งพัฒนาเปลี่ยนงานวิจัยให้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป นับเป็นการกระตุ้นและสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์การแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ระดับสูงของประเทศ 

 ปัจจุบันมีการใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ระดับโลก  3กลุ่ม คือ1.กลุ่มที่ใช้ในการผ่าตัด  2.ด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคบางอย่าง เช่น โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง โรคหลอดเลือดในสมองตีบ และกลุ่มที่ 3คือ การเข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่ต้องรอคิวนาน ซึ่งขณะนี้ก็มีการใช้หุ่นยนต์ในการช่วยจัดการ  อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้มีความหวังว่าหุ่นยนต์ทางการแพทย์จะมาทดแทนแพทย์หรือพยาบาล แต่จะมาช่วยทำให้การบริการทางการแพทย์สะดวกง่ายขึ้น เช่น เรื่องการผ่าตัด  หุ่นยนต์ไม่ได้มาผ่าแทนหมอแต่มาผ่าร่วมกับหมอ  ในเคสที่ยาก เช่น การผ่าเข่า ผ่าสมอง ที่มีจำนวนคนรอคิวจำนวนมาก  แต่แพทย์ที่มีความใชำนาญกระจุกตัวเฉพาะในรพ.ศูนย์ รพ.มหาวิทยาลัยใน กทม. ในขณะที่ รพ.เล็กๆ หรือตามจังหวัดมีแพทย์ แต่ไม่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งหุ่นยนต์ จะเข้ามาช่วย 


"ตอนนี้หุ่นยนต์การแพทย์ ยังมีราคาแพง แต่จริงๆหากมีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ก็จะทำให้ต้นทุนหรือราคาถูกลง  สามารถช่วยกระจายการให้บริการทางด้านสาธารณสุข  อย่างที่เคยได้ยินว่าชาวต่างจังหวัดต้องมารอรับคิวรพ.ใหญ่ๆในกรุงเทพฯ จะหายไป”ผศ.ดร.จักรกฤษณ์  


 ผู้สื่อข่าวถามว่าจะตอบโจทร์สังคมผู้สูงอายุอย่างไร ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ กล่าวว่า  ในการดูแลผู้สูงอายุนั้นไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่รพ.หรือ บ้านพักคนชราเท่านั้น จริงๆสามารถอยู่ที่บ้านของตนเองและการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์มีหลายอย่างที่สามารถกระจายไปช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง สามารถสื่อสารถึงลูกหลานได้ว่ามีการเจ็บป่วย หรือหกล้มหรือไม่ ช่วยอำนวยความสะดวกได้ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ. 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"