"ชันโรง"กับการฟื้นฟูป่าชายเลนชะแล้ สงชลา


เพิ่มเพื่อน    

ป่าชายเลนที่ชะแล้ งดงาม เงียบสงบ และอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ

    "ป่าชายเลน" มีความสำคัญในแง่"เป็นที่พักอาศัย แหล่งอนุบาลของกุ้ง หอย ปู ปลา  ซึ่งในวงจรชีวิตของสัตว์น้ำเหล่านี้ ล้วนมีความสัมพันธ์กับป่าชายเลนทั้งสิ้น   แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าป่าชายเลนของไทยเกือบทุกแห่ง ถูกบุกทำลาย และบางแห่งมีสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก  ซึ่งความเสื่อมโทรมนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เฉพาะพื้นที่ป่าชายเลนเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบในวงกว้าง ทำให้สัตว์น้ำขาดแหล่งอนุบาล และมีปริมาณสัตว์น้ำลดลง ถ้าเสื่อมโทรมถึงขีดสุดถูกถูกทำลายหมดสิ้น อาจจะไม่มีสัตว์น้ำหลงเหลือ ส่วนระบบนิเวศรอบๆ.ไม่ต้องพูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 


    ป่าชายเลนที่ต.ชะแล  อ.สิงหนคร จ.สงขลา นับว่าเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัด แต่ป่าชายเลนชะแล้ก็เคยผ่านจุดที่ย่ำแย่มาแล้ว เพราะมีการทำลายไม้ชายเลน เช่นไม้โกงกาง ไม้เสม็ด ไปทำเป็นถ่านหรือเชื้อเพลิง เพราะคนที่ชะแล้มีอาชีพหลักคือทำน้ำตาลโตนด  ทำให้พื้นที่ป่าประมาณ 250ไร่  หดหายไป แต่เมื่อชาวบ้านละทิ้งอาชีพทำตาลโตนด ป่าชายเลนที่นี่จึงรกร้าง บวกกับการเกิดขึ้นของเมืองขวางทางขึ้น ลง ของน้ำตามธรรมชาติ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขัง พืชพันธฺุ์ท้องถิ่นบางชนิดหายไป 


    ต่อมาชาวชะแล้เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลน จึงรวมกลุ่มกันสร้างธรรมนูญสุขภาพต.ชะแล้ ขึ้น ซึ่งนอกเหนือจะเป็นกฎหลักกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขภาพแล้ว ยังครอบคลุมด้านมรดกทางวีฒนธรรม และการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย


    การหันมาอนุรักษ์ป่าชายเลนของชะแล้ ยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เจริญโภภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.), สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ภาคประชาสังคมและชุมชน ในการเดินหน้าเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าใหม่ อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าชายเลนบนพื้นที่ยุทธศาสตร์ใน 5 จังหวัด ผ่านโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” และป่าชายเลนชะแล้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 

ทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ป่าชายเลน ชะแล้


    วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและพัฒนาความยั่งยืน ซีพีเอฟ  กล่าวว่า ทรัพยากรอาหารจะมั่นคงได้ ต้องปกป้อง และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้และยั่งยืน ท่ามกลางประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น เกือบ 7พันล้าน พอถึงจุดหนึ่งปี 2050 เราจะมีประชากรโลก 9พันกว่าล้าน  อาจทำให้ถึงวิกฤต เพราะคนมากขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติเท่าเดิม แล้วเราจะจัดการความมั่นคงทางอาหารได้อย่างไร ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด ซีพีเอฟ ที่รับผิดออบด้านอาหาร มุ่งประเด็นพัฒนาด้านความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหารที่เป็นเรื่องสำคัญมากแต่เราไม่ได้ทำคนเดียว ยังร่วมมือกับทช. ชุมชน หน่วยงานอื่นๆ รวมทั้ง พนักงานซีพีเอฟ  400 กว่าแห่งที่เราให้นโยบายไปว่าต้องดูแลชุมชนด้วย  ให้เป็นอาสาสมัคร ส่วนที่ชะแล้  มองว่าเรื่องของอาชีพและการดำรงชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ  และการที่คนจะหันมาอนุรักษ์ป่าก็ต้องเริ่มต้นจากการที่เขาพึ่งพาป่าแห่งนี้ได้   ซึ่งซีพีเอฟ ในส่วนฟาร์มของสัตว์น้ำเช้ามาช่วยดูแลส่งเสริมชุมชนในการอนุรักษ์  และเราได้บุคคลากร ของเราที่มาเป็นอาสาสมัคร ช่วยเหลือชุมชน นับเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 

ต้นโกงกางรากพันกันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์


    รองกรรมการผู้จัดการฯกล่าวอีกว่า กรณีชะแล้ ก็เป็นเคสหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราฟื้นฟูป่าในชุมชนแล้ว ก็จะทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร  สร้างรายได้ คุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้ง ยังได้เชิญ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ บีโด มาวัดความหลากหลายทางชีวภาพและองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก มาช่วยวัดการกักเก็บก๊าซคาร์บอนด์ ซึ่งโครงการนี้จะทำระยะยาว 5ปี  ถ้าไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ ก็จะมีการซ่อมบำรุง  ให้บรรลุเป้าหมาย กรณีชะแล้ ที่มีพื้นที่200ไร่ ทช.ฟื้นฟูส่วนหนึ่ง ซีพีเอฟเข้ามาช่วยเสริมส่วนที่ตกค้าง ประมาณ25ไร่ ปลูกป่าชายเลน ด้วยวิธียกร่อง เพราะพอน้ำท่วมต้นกล้าที่ปลูกมักเสียหาย  ตายหมด ก็ต้องมาเริ่มใหม่ วันนี้จึงพัฒนาการปลูกแบบยกร่อง ที่ถือว่ามีความพิถีพิถัน  เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่สำคัญยังส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงชันโรง ชองชาวบ้านอีกด้วย 


    " ปัญหาของโลก เรื่องหนึ่งมันโยงไปทุกเรื่อง  เพราะทุกวันนี้แมลงผสมเกสรน้อยลง เพราะมีการใช้สารเคมีกันมาก ซึ่งแมลงมีความละเอียดอ่อนมาก บางประเทศแมลงหายไปเลย ถึงกับให้หยุดใช้สารเคมีไปเลย อย่างประเทศฝรั่งเศส สารพิษบางตัวไม่ให้นำเข้าเลย เพราะทำให้ผึ้งตาย ทำให้พืชผสมเกสรน้อยลง และไปกระทบกับความมั่นคงของอาหาร"


    ป่าชายเลนที่ชะแล้ นับว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เพราะเป็นระบบ 3น้ำ น้ำเค็ม น้ำกร่อยและน้ำจืด หมุนเวียนตามฤดูกาล จัดว่ามีความอุดมสมบูรณ์  ประวีณ เลิศอริยะพงศ์กุล  ผจก.ฝ่ายซีเอสอาร์ ฟาร์มสัตว์น้ำภาคใต้ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ป่าชายเลนที่ชะแล้ มีความพิเศษ แตกต่างจากป่าชายเลนที่อื่น ที่นี่เป็นเหมือนซุปเปอร์มาร์เก็ตของคนในชุมชน มีสัตว์น้ำ ทั้งพวกน้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืดให้จับเป็นอาหารและขายได้ เช่น เวลาหน้าฝน ที่มีมีปลาชะโด ตัวใหญ่ ๆขนาด 5กิโลกรัม หรือปลาช่อน ส่วนช่วงฤดูท่องเที่ยวจะมี ปลาท่องเที่ยวที่รสชาติอร่อยมาให้จับ เท่าที่สำรวจไม่พบปลาชนิดนี้ที่ไหน มีที่ชะแล้ที่เดียว นอกจากนี้ ยังมีกุ้ง ปู หอย ที่ชาวบ้านเข้ามาดักจับได้


    การปลูกป่าชายเลนที่นี่ ที่ใช้วิธีการยกร่อง เพราะที่นี่น้ำท่วมหน้าฝน พืชที่ปลูกไว้ตายหมด ประวีณอธิบายว่า ระบบยกร่องดีตรงที่ทำให้พืชหนีน้ำท่วมได้ มีอัตรารอดชีวิตสูง ส่วนเมล็ดพืช เช่นเสม็ดขาว ที่ร่วงหล่นจะไม่ไหลไปตามน้ำ แต่มีที่ดินให้ยึดเกาะ ทำให้มีโอกาสรอดเติบโตได้อีก โดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไร ต่อไปต้นไม้พวกนี้ก็จะโต กลายเป็นป่าไปเองในที่สุด

วิธีการปลูกป่าชายเลนแบบยกร่อง เพื่อเพิ่มโอกาสรอดให้กับต้นไม้เช่นเสม็ดชาว เพราะจะมีช่วงหนึ่งที่น้ำท่วมบริเวณนี้  ที่ซีพีเอฟ

เข้าไปช่วยสนับสนุนชาวบ้าน


    อาชีพเลี้ยงชันโรง เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ซีพีเอฟ เข้าไปสนับสนุนคนในชุมชนชะแล้ จนปัจจุบันสามารถรวมตัวเป็นกลุ่มคนเลี้ยงชันโรงชะแล้ ที่มีสมาชิก 8 คน ซึ่งชันโรงไม่ได้มีความสำคัญแค่ได้น้ำหวาน แต่ชันโรง ที่ทำหน้าที่เหมือนผึ้งคือช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ มีส่วนช่วยขยายเพิ่มนที่ป่่าชายเลน เพราะชันโรงมีพฤติกรรเที่แตกต่างจากผึ้งตรงที่ชันโรงจะเก็บเกสรจากดอกไม้ 80 % และเก็บน้ำหวานจากเกสร  20% ขณะที่ผึ้งจะเก็บน้ำหวาน 80% และเก็บเกสร เพียง20% ดังนั้น ในแง่การช่วยผสมเกสรพืช จึงถือว่าชันโรงทำหน้าที่ได้ดีกว่า และเกสรที่ชันโรงช่วยผสมจะกลายเป็นเม็ดพืช เมื่อเมล็ดพืชพวกนี้ร่วงหล่น ก็จะงอกเงยกลายเป็นต้น และเติบโตเป็นไม้ใหญ่ในวันข้างหน้า  ชันโรงจึงมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมาก

กล่องรังชันโรง ที่กลุ่มเลี้ยง


    ในแง่อาชีพและสร้างรายได้จากชันโรง ซึ่งมีซีพีเอฟ เข้าไปแนะนำ และมีคนในชุมชนรวมกลุ่มเป็น"กลุ่มชะแล้รักษ์ชันโรงและผึ้งหลวง"ซึ่งเริ่มเลี้ยงชันโรงเมื่อปี2561 "  ซึ่งก่อนเลี้ยงได้มีการพาไปศึกษาดูงานการเลี้ยงผึ้งชันโรงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงต.ปันแตอ.ควนขนุนจ.พัทลุง  เมื่อขาวบ้านกลับเลี้ยงเอง ลองผิดลองถูกหลายครั้ง  จนสามารถเลี้ยงและขยายพันธุ์รังของชันโรงได้ ปัจจุบัน กลุ่มฯมีสมาชิก 8คน และมีคนในชุมชนสนใจอยากเลี้ยงชันโรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ ผู้บริหารซีพีเอฟ กับเกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรงฯที่ชะแล้


     ประเสริฐ พุทธทอง ประธานกลุ่มชะแล้รักษ์ชันโรงและผึ้งหลวงกล่าวว่า แต่ก่อนคนที่นี่ไม่เห็นค่าชันโรง ซึ่งมีเยอะเพราะปลูกต้นตาลกันมาก ถ้าบ้านไหนมีชันโรงมาตอมก็จะจุดควันไล่ หรือเผาทิ้ง ไม่เห็นประโยชน์  แต่ตอนนี้ชาวบ้านเริ่มเห็นคุณค่าของชันโรงแล้ว และสนใจอยากเลี้ยงมากขึ้น  ปีที่แล้วกลุ่มมีรายได้จาก ชันโรง  600,000-700,000 บาท รายได้หลักมาจากการขายกล่องรังชันโรง ซึ่งชายราคา รังละ 1,000บาท  และมีการผลิตน้ำผึ้งจากชันโรง ที่มีคุณค่าทางอาหารดีมากกว่าน้ำผึ้งหลวง   ตลาดมีความต้องการมาก แต่กลุ่มฯผลิตไม่ทัน เพราะชันโรงรังหนึ่งๆ จะให้น้ำหวานเพียง 250 ซีซี แต่ต้องใช้เวลาเลี้ยงนาน3-4เดือน  ปริมาณน้ำหวานจากชันโรงจึงน้อยกว่าผึ้งหลายเท่า เนื่องจากชันโรงตัวเล็กกว่าผึ้ง2-3เท่า ส่วนคุณค่าทางอาหารน้ำหวานจากชันโรงที่สูงกว่าน้ำผึ้ง ก็เพราะชันโรงเก็บเกสรดอกไม้ มากกว่าผึ้ง  ทางกลุ่มฯยังมีการแปรรูปน้ำผึ้งชันโรงเป็นสบู่   ส่วนชี้ชันที่ได้จากแคปซูลน้ำหวาน และขี้ชันที่ติดตามรังก็สามารถขายได้อีกด้วย   แต่การเลี้ยงชันโรงก็มีข้อจำกัดตรงที่เลี้ยงไม่ได้ทั้งปี โดยเฉพาะหน้าฝน เลี้ยงได้เฉพาะหน้าแล้ง     รายได้จากชันโรง จึงทำเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น โดยสมาชิกมีรายได้เฉลี่ย คนละ6,000 บาท/เดือน 

มีการสาธิตผ่ารังชันโรงที่เลี้ยงในกระบอกไม้ไผ่ให้เห็นแคปซูลน้ำหวาน และขี้ชัน ก่อนจะแยกนางพญาไปอีกรัง

เพื่อขยายจำนวนรัง


    "ตอนนี้ ชาวบ้านในหมู่บ้านรอบๆก็ให้ความสนใจอ ยากเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มของเรา ซึ่งในปีนี้ทางกลุ่มฯวางแผนกับซีพีเอฟ ว่าจะขยายการเลี้ยงชันโรงไปยัง5 หมู่บ้าน ที่อยู่ในชะแล้ และขยายรังชันโรง จาก250 รัง เป็น 400รัง ซึ่งตอนนี้ เราใช้วิธีฝากรัง ไว้ตามบ้านต่างๆในชุมชน เขาก็พอใจ  เพราะชันโรงช่วยผสมเกสรดอกไม้ให้ ทำให้ไม้ผลของเขาติดลูกดกมากขึ้น อย่างมะพร้าว บางคนบอกว่าสมัยก่อนขายได้ ปีละ18,000 บาท พอเอาชันโรงไปวาง ขายได้30,000 บาท และเก็บไม่ทันอีกต่างหาก ส่วนพวกเราทางกลุ่มฯก็จะตอบแทนบ้านที่เอาชันโรงไปแขวนตามต้นไม้ ง ด้วยการซื้อเมล็ดพืชผักให้เขา พร้อมกับขอร้องเขาว่า อย่าใช้สารเคมี  พวกยาฆ่าแมลง  เพราะของพวกนี้แค่นิดเดียวชันโรงก็อยู่ไม่ได้แล้ว อีกอย่างพวกควัน ก็ไม่ถูกกับชันโรง เจอควันก็จะหนีไปหมด ไม่กลับรัง" ประธานกลุ่มฯ กล่าว

 

น้ำหวานจากชันโรง ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากกว่าน้ำผึ้ง ที่กลุ่มเลี้ยงชันโรงในชะแล้ ผลิตเพื่อขาย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"