หนุนหุ่นยนต์ขับเคลื่อน “อีอีซี”


เพิ่มเพื่อน    

        ประเทศไทยจะต้องเร่งปรับตัว ลดการพึ่งพาแรงงาน ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพิ่ม จึงจะสามารถยกระดับคุณภาพสินค้า และต้นทุนสู้กับคู่แข่งในตลาดโลกได้ ซึ่งหากไทยมีฐานอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติที่เข้มแข็ง ก็จะช่วยดึงดูดบริษัทที่มีเทคโนโลยีเข้ามาลงทุนในไทยได้

 

หนุนหุ่นยนต์ขับเคลื่อน “อีอีซี”

        ภาวการณ์ลงทุนในโลกเปลี่ยนไป หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่แรงงานมากขึ้น และหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ภายในประเทศ ทำให้ยอดการใช้หุ่นยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะการส่งเสริมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี EEC) ที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมหุ่นยนต์

(ชิต เหล่าวัฒนา)

 

อุตฯ หุ่นยนต์มาแรง

        ปัจจุบันประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ และมีการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในสายการผลิตมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศในการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ ส่วนทิศทางของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์นั้นจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรนั้น นายชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(FIBO) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Automation) ถือเป็นกลุ่มนิวเอสเคิร์ฟที่สามารถสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวเกี่ยวโยงเกือบจะทุกภาคส่วนธุรกิจที่ต้องการนำเทคโนโลยี ระบบบิ๊กดาต้า และนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาบริหาร รวมถึงลดต้นทุนทางด้านแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเพื่อเพิ่มผลผลิต

        ดังนั้น จึงมองว่าประเทศไทยจะต้องเร่งปรับตัว ลดการพึ่งพาแรงงาน ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพิ่ม จึงจะสามารถยกระดับคุณภาพสินค้า และต้นทุนสู้กับคู่แข่งในตลาดโลกได้ ซึ่งหากไทยมีฐานอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติที่เข้มแข็ง ก็จะช่วยดึงดูดบริษัทที่มีเทคโนโลยีเข้ามาลงทุนในไทยได้

 

หนุนสิทธิประโยชน์ดึงลงทุน

        อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันฯ ได้ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) นำโครงเรื่อง และผลศึกษาเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศ และผลิตบุคลากรรองรับไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นคน พร้อมเงื่อนไขต้องอุดหนุนวัตถุดิบและผลิตในประเทศไม่ต่ำกว่า 30% เพื่อแลกกับสิทธิการยกเว้นภาษีการลงทุน 3 ปี และข้อเสนออื่นๆ เพื่อดึงต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน

        ปัจจุบันคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีมาใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติให้มากขึ้น แต่ก็ยังติดกฎระเบียบที่กำหนดการให้สิทธิประโยชน์ได้เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่สามารถแยกให้การส่งเสริมเป็นกิจกรรมได้ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น เครือซีพี, เอสซีจี, โฮมโปร, สหพัฒนพิบูลย์ ซึ่งจะลงทุนขนาดใหญ่จัดคลังสินค้าอัจฉริยะ หรือลงทุนระบบผลิตในโรงงานนำใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมาใช้งาน เพราะอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ วัสดุก่อสร้าง ไม่อยู่ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ดังนั้น จะส่งเรื่องการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์นี้ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) พิจารณาให้สิทธิประโยชน์ เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้ลงทุนได้

 

บิ๊กเอกชนสนลงทุนอีอีซี

        นายชิต กล่าวว่า สำหรับความสนใจจากนักลงทุนในพื้นที่อีอีซีนั้น มีบริษัทรายใหญ่มาสอบถามแสดงความสนใจลงทุนจำนวนมาก บางรายขอพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่เพื่อพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ขณะนี้มียื่นเข้ามาแล้ว 7-8 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนจากจีนและญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นเจ้าตลาดโลกด้านหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นอยู่แล้ว คาดว่าหลังจากได้ตัวรัฐบาลใหม่จะได้เห็นการเข้าขอลงทุนอีกจำนวนมากในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้

        อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายใน 3 ปีนับจากนี้ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และออโตเมชั่นในไทยจะอยู่ที่ 4-5 แสนล้านบาท ขณะที่การซัพพลายน่าจะมีการลงทุนรวมทั้งสิ้น 2-3 หมื่นล้านบาท จากกลุ่มทุนต่างประเทศขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี และจากการเปิดเผยตัวเลขขอรับการลงทุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) นั้นมีการขอลงทุนทั้งสิ้นราว 6.78 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 50% หรือประมาณ 3.37 แสนล้านบาท มีเป้าหมายที่จะลงทุนเกี่ยวกับหุ่นยนต์และออโตเมชั่น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (IFR) ระบุว่าภายในปี 2562 ตลาดหุ่นยนต์และออโตเมชั่นจะขยายตัวถึง 19% ถือเป็นอัตราเติบโตอันดับหนึ่งของอาเซียน และเป็นอันดับ 4 ของโลก

        นายชิต กล่าวว่า อีอีซีได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนนานาชาติ ทั้งในด้านเงินลงทุน ด้านการร่วมพัฒนาบุคลากรให้ตรงตาม Demand Driven เพื่อช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมได้คนทำงานที่มีทักษะตามต้องการ คนไทยก็จะมีงานทำมากขึ้น ว่างงานน้อยลง และอีกด้านคือการจัดหาเครื่องมือเครื่องจักรและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ ทั้งหมดนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงนำพาประเทศก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง สร้างความก้าวหน้าให้เมืองไทยได้แบบก้าวกระโดด ฯลฯ

        "นวัตกรรม ซึ่งเรามองหาความร่วมมือจากผู้ประกอบการอีกมาก โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเอสเคิร์ฟ (S-Curve) ประเด็นสำคัญอยู่ที่ต้องการองค์ความรู้และเทคโนโลยีชั้นนำเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งในด้านต่างๆ ของประเทศไทย เพราะสหรัฐอเมริกา จีน และอีกหลายประเทศสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาการที่ล้ำหน้าอย่างรวดเร็ว แต่การที่ผมดูแลกลยุทธ์การลงทุนในพื้นที่อีอีซีด้วย พบว่าเราสามารถส่งเสริมการนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ผ่านการลงทุนจากต่างประเทศได้อีกไม่น้อย" นายชิตกล่าว

 

ไม่กังวลแม้เปลี่ยนรัฐบาลใหม่

        นายชิตกล่าว ถึงกรณีที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ว่า ไม่ว่ารัฐบาลไหนมา พ.ร.บ.อีอีซีเดินหน้าต่อ เพราะมี พ.ร.บ.อยู่อย่างเช่นโครงการใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟเชื่อสามสนามบิน, โครงการรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เดินหน้าโครงการไปแล้ว เรื่องโครงสร้างพื้นฐานหลักๆ จะเร่งดำเนินการให้เสร็จ เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาก็สามารถเดินหน้าได้ก่อน

        นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการอาวุโส ทีเส็บ สายงานธุรกิจ กล่าวว่า ทีเส็บพร้อมสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าในไทยที่รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งไทยมีรากฐานเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้าที่เข้มแข็ง จึงมีความพร้อมยกระดับไปสู่การจัดแสดงเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในวงกว้างมากขึ้น

        สำหรับงานแสดงสินค้าของประเทศไทยที่เกี่ยวกับระบบโรโบติกส์ จะถูกฝังไปจัดที่กลุ่มเครื่องจักรกล ในประเทศไทยติดโผของ UFI 5 งานด้วยกัน เป็นที่ที่ทีเส็บให้การสนับสนุนมา 5 ปี ดังนั้นตั้งแค่ตอนต้นได้มีการผลักดันใน 5 งาน การที่จะได้การรับรอง UFI คือเพิ่มขนาดจำนวนของผู้เข้าร่วมงานนำเอาเทคโนโลยีมาร่วมในงานมากขึ้น จำนวนของนักลงทุนหรือเจ้าของที่เกี่ยวกับออโตเมชั่นเข้ามาอยู่ในงานมีจำนวนมากขึ้น  โจทย์หลักๆ ของทีเส็บคือต้องการใช้ตัวงานแสดงสินค้านี้เป็นเวทีในการที่จะให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงนวัตกรรมต่างประเทศโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นจะพยายามให้การสนับสนุนที่ไม่ใช่ตัวเงินเพื่อที่จะปิดโอกาสให้ออแกไนเซอร์จัดงานเข้ามาอยู่ในเมืองไทยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

อุตฯ หุ่นยนต์โต 20%

        นายประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) กล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์ภาคอุตสาหกรรมในปี 2561 ที่ผ่านมาก็ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 20% มีจำนวนกว่า 3 พันตัว แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่โต 25% ส่วนในปี 2562 คาดจะโตได้มากกว่า 20% โดยส่วนใหญ่จะขยายตัวในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ส่วนอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีมีการใช้หุ่นยนต์ขยายตัวประมาณ 10%

        โดยที่ผ่านมารัฐบาลตั้งเป้าส่งเสริมการใช้หุ่นยนต์ 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ต้องใช้หุ่นยนต์เร่งด่วน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร และ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

        อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมของไทยที่ขยายตัวปีละ 20% หากรัฐบาลให้การส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้เอสเอ็มอีเข้ามาใช้หุ่นยนต์เพิ่มขึ้น รักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับ 4% ต่อปี ก็คาดว่าภายใน 5 ปี ความต้องการหุ่นยนต์ภายในประเทศจะมีเพียงพอในการตั้งโรงงานผลิต

        ก็ต้องติดตามกันว่าหลังจากนี้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์จะเดินไปในทิศทางไหน จะสามารถนำเอามาใช้แทนแรงงานคนได้มากน้อยเพียงใด และในอีอีซีจะมีความต้องการจริงหรือ ทั้งหมดนี้ต้องติดตามตอนต่อไป ว่าคนหรือหุ่นยนต์จะตอบสนองได้มากกว่ากัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"