ชนชราเสี่ยงจมน้ำไม่น้อยกว่าเด็ก แนะจัดที่อยู่อาศัยพร้อมคนดูแล


เพิ่มเพื่อน    

 

 

      นอกจากเด็กแล้ว ปัญหาผู้สูงอายุจมน้ำก็พบได้ค่อนข้างบ่อยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคุณตาคุณยายมีปัญหาสุขภาพอย่างโรคอัลไซเมอร์ที่เสี่ยงต่อการพลัดตกน้ำ หรือการเป็นลม และเดินเซตกลงไปในแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนที่ใกล้กับลำคลอง หนอง บึง หรือมีแม่น้ำล้อมรอบที่อยู่อาศัย ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่จากบุตรหลานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มาให้ข้อมูลการป้องกันผู้สูงอายุจมน้ำเสียชีวิตไว้น่าสนใจ

(นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์)

      นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ให้คำแนะนำว่า ผู้สูงอายุโดยทั่วไปมีความเสี่ยงในการจมน้ำเช่นเดียวกันกับเด็ก เช่น การลื่น อีกทั้งเรื่องของการทรงตัวที่ไม่ดี เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย รวมถึงการเป็นลม และการตัดสินใจบางอย่าง เนื่องจากภาวะสติปัญญาต่ำจากโรคประจำตัวอย่างอัลไซเมอร์ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงของผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่เหมือนกับเด็ก เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เนื่องปัจจุบันประเด็นของการดูแลผู้สูงอายุเป็นที่ให้ความสนใจ และเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

      ทั้งนี้ หากผู้สูงวัยอาศัยอยู่บ้านใกล้แหล่งน้ำ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย โดยจัดเตรียมให้มีอุปกรณ์ช่วยบางตัว เช่น ราวเกาะ และรั้วกั้น ที่สำคัญลูกหลานต้องคอยดูแลผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องความทรงจำเสียหาย ซึ่งต้องการดูแลเพิ่มมากขึ้น หรือไม่ให้ท่านออกจากบ้านโดยลำพัง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องหาทางแก้ไข หรือแม้แต่ผู้ดูแลคนสูงอายุที่เป็นวัยกลางคน ซึ่งบางครั้งต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จึงมีเวลาดูแลคนแก่น้อยลง หรือถูกบริษัทและองค์กรที่ทำงานกดดัน ซึ่งอาจทำให้ดูแลคุณพ่อคุณแม่ได้ลดน้อยลง ก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขควบคู่กันไปด้วย

      หรือแม้แต่แนวคิดที่ว่า ในคอนโดมิเนียม 1 แห่ง ที่มีประมาณ 1,200 ยูนิต จำเป็นต้องบังคับว่าควรมียูนิตสำหรับผู้สูงอายุอยู่ชั้นล่าง 1 ยูนิต ที่ถูกจัดให้เป็นห้องเอนเตอร์เทนเมนต์ และมีคนดูแลวัยเก๋าให้ ซึ่งค่าใช้จ่ายอยู่ในค่าสาธารณูปโภค หรือเป็นค่าใช้จ่ายรวมกันของทุกคนที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมแห่งนี้ เช่น ถ้าหากว่าคุณมาอยู่คอนโดมิเนียมนี้ต้องดูแลผู้สูงอายุร่วมกัน (คล้ายกับการเปิดศูนย์ดูแลเด็กเล็กขององค์กรที่ดูแลบุตรหลานของพนักงาน หรือจะรวมศูนย์ดูแลเด็กและผู้สูงวัยเข้าไว้ด้วยกัน เพราะถ้าหากจัดให้เป็นลักษณะของบ้านพักสำหรับดูแลผู้สูงวัยโดยเฉพาะ อาจทำให้ผู้สูงวัยบางคนรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง หากเป็นคนในสังคมตะวันออก) ตอนเช้าก่อนไปทำงานให้ลูกหลานพาท่านลงมาอยู่ชั้นล่าง มีคนดูแลให้ หรือจะมีศูนย์เด็กเล็กรวมอยู่ด้วยก็ได้

      ส่วนตอนเย็นก็มารับกลับขึ้นไป ถ้ามีผู้สูงอายุยังสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ก็สามารถเดินขึ้น-ลงคอนโดมิเนียมได้ ทั้งนี้ ไอเดียการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสามารถป้องกันคนจมน้ำได้ เพราะมีคนดูแล อีกทั้งคนวัยเก๋ามีพื้นที่ขยับตัว ป้องกันการหกล้ม กระตุ้นพัฒนาการของผู้สูงอายุ และภายในคอนโดฯ ก็มีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับสถานพยาบาลข้างเคียง หรือถ้าเป็นในชุมชนชนบทก็สามารถใช้โรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อร่วมกันดูแลคนวัยเก๋าให้ปราศจากปัญหาการจมน้ำ หรือได้รับภัยต่างๆ ตลอดจนให้ผู้สูงอายุได้ความผ่อนคลายจากกิจกรรมที่ทางโรงเรียนผู้สูงอายุ แม้ว่าจะจัด 3 วันต่ออาทิตย์ ก็เป็นไอเดียที่ดีและน่าสนใจครับ

(ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ลูกหลานจำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อป้องกันเดินพลัดหลงและจมน้ำในที่สุด หรือให้ท่านทำกิจกรรมที่อยู่ในสายตาของบุตรหลาน)

        นพ.อดิศักดิ์ ทิ้งท้ายสรุปว่า ไอเดียในการดูแลผู้สูงวัยดังกล่าวคล้ายกับการเปิดศูนย์ดูแลเด็กเล็กขององค์กรเอกชน ที่ดูแลบุตรหลานของพนักงานหลังเลือกเรียน หรืออีกไอเดียหนึ่งคือ การรวมศูนย์ดูแลเด็กและผู้สูงวัยเข้าไว้ด้วยกัน เพราะถ้าหากจัดให้เป็นลักษณะของบ้านพักสำหรับดูแลผู้สูงวัยโดยเฉพาะ อาจทำให้ผู้สูงวัยบางคนรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะคนในสังคมโลกตะวันออกอย่างบ้านเรา

        นอกจากการดูแลด้านร่างกายเพื่อไม่ให้ผู้สูงวัยจมน้ำแล้ว แต่มิติด้านจิตใจอย่างการส่งเสริมให้คนวัยเก๋ามีคนดูแล ทั้งนี้ เพื่อให้มีกิจกรรมที่สนุกสนานทำร่วมกัน เพื่อกระตุ้นพัฒนาการต่างๆ ที่สำคัญยังช่วยคลายเหงา เมื่อลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ย่อมถือเป็นการดูแลสุขภาพที่ครบทุกมิติ...เห็นด้วยไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"