ภารกิจนายกฯ (ประยุทธ์) หลังเลือกตั้ง งานประจำ-งานการเมือง–งานหิน


เพิ่มเพื่อน    

 

    ผลการเลือกตั้งภายใต้กติกา บัตรใบเดียว ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานบรรจงออกเพื่อตัดทอนกำลังพรรคเพื่อไทยไม่ให้กวาดที่นั่งเข้าไปเป็นเสียงข้างมาก แม้จะประสบผลอยู่บ้าง เพราะเมื่อพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เขตไปมากกว่า ส.ส.ที่จะพึงมี ทำให้แกนนำพรรคที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไม่ได้เป็น ส.ส.เลยแม้แต่คนเดียว

    แต่ใครจะไปรู้ว่า พรรคอนาคตใหม่ นำโดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่มีแนวทางการเมืองแบบเดียวกับพรรคเพื่อไทย จะกวาดเก้าอี้ ส.ส.เข้ามามากเกินความคาดหมาย กลายเป็นหอกแหลมคอยทิ่มแทงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดเวลา

    ยิ่งบีบคั้น กดดันเพื่อเอาโทษเอาทัณฑ์ด้วยวิธีการต่างๆ กระแสการต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มขึ้น การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ ของ พล.อ.ประยุทธ์อีกสมัยหลังการเลือกตั้ง อาจไม่ง่ายดังที่บรรดากุนซือดีดลูกคิดวางแผนเอาไว้

    ครั้นจะอาศัย กกต.ให้ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง เพื่อลดจำนวน ส.ส.ขั้วตรงข้าม ให้กลายเป็นพรรคที่มีเสียง ส.ส.น้อยกว่าขั้วพรรคพลังประชารัฐ แต่ กกต.ก็ยังแทบจะเอาตัวไม่รอด เพราะถูกหลายฝ่ายดาหน้าออกมากล่าวหาโจมตีและกดดันตลอดเวลา

    สมมติว่าบิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ จะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง    ตำแหน่งนายกฯ ถือเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และรัฐบาล    มีอำนาจหน้าที่มากมายหลายอย่าง เช่น บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง, แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ, สั่งการเรื่องนโยบาย, สั่งการเรื่องงบประมาณ, แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ฯลฯ

    ลองมาตรวจสอบกันดูว่า บิ๊กตู่จะต้องทำอะไรบ้าง ในภาวะที่ไม่มีดาบอาญาสิทธิ์อย่างมาตรา 44 มาใช้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

    งานบริหารราชการแผ่นดิน งานปกติ ได้แก่ การเซ็นแฟ้มงาน, การประชุม ครม. และคณะกรรมการต่างๆ, การ ต้อนรับบุคคลที่มาเข้าพบ, การจัดประชุม ครม.สัญจรในต่างจังหวัด, เดินทางลงพื้นที่ตามกิจกรรมต่างๆ, การเดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ, การทำหน้าที่เป็นประธานประชาคมอาเซียน, ไปเปิดงาน, บรรยาย ปาฐกถา ในโอกาสต่างๆ ฯลฯ   

    การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การต้องทำตามนโยบายของพรรคพลังประชารัฐและพรรคอื่นๆ ที่ร่วมรัฐบาล, การประท้วงของผู้เดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น พืชไร่ตกต่ำ ขายไม่ได้ราคา การถูกคดโกงหรือถูกประทุษร้าย การไม่ได้รับความเป็นธรรมต่างๆ ฯลฯ งานการเมือง การเป็นนายกฯ ซึ่งเป็นนักการเมือง มีหน้าที่ต้องเข้าประชุมสภาผู้แทนฯ เข้าประชุมวุฒิสภาและเข้าประชุมร่วมรัฐสภา ต้องยืนขึ้นอภิปราย ชี้แจงเพื่อนำเสนอเรื่องต่างๆ และตอบคำถาม ซึ่งเป็นไปตามสารบบของการปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารต้องถูกควบคุมและตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ, ให้สัมภาษณ์สื่อรายวัน, ประชุมพรรคพลังประชารัฐในฐานะที่เสนอชื่อให้เป็นนายกฯ, ประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้กระทั่งผู้นำฝ่ายค้านก็อาจจำเป็นต้องหารือเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือ

    การถูกตั้งกระทู้ถาม, ถูกเปิดอภิปรายทั่วไป, ถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ, ติดตามความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ, ความชัดเจนในวิธีการสร้างความปรองดอง ตามที่ได้พูดไว้ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ยิ่งความขัดแย้งระหว่างคนในชาติขยายตัวมีมากเท่าไร นายกฯ ยิ่งถูกเรียกร้องให้ต้องแก้ปัญหานี้มากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่ คสช.ได้กระทำไว้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะถูกตรวจสอบทวงถามเรื่องธรรมาภิบาล นิติธรรม นิติรัฐ

    การแสดงท่าทีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขยุทธศาสตร์ แก้ไขแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากในระหว่างรณรงค์หาเสียง หลายพรรคการเมืองได้นำเสนอนโยบายเรื่องนี้ไว้

    นายกฯ กับภารกิจที่รออยู่เบื้องหน้านั้น ถือเป็นงานหินที่ท้าทายต่อการนำพาประเทศให้เดินไปข้างหน้าสู่เป้าหมาย คือความสงบเรียบร้อย ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และการพัฒนาบ้านเมืองซึ่งไม่ใช่งานง่ายๆ

    วิเคราะห์ดี คนที่เคยขู่ พล.อ.ประยุทธ์เอาไว้ว่า “นรกมีจริง” ไม่ว่าจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง, นายอดิศร เพียงเกษ, นายวัฒนา เมืองสุข ไม่ได้เข้าสภาแม้แต่คนเดียว แต่ปฏิบัติการเพื่อโยกคลอนเสถียรภาพรัฐบาลก็สามารถกระทำได้แม้ไม่ได้เป็น ส.ส. 

    อีกทั้งกลเกมในสภาผู้แทนฯ ในยามที่วุฒิสภาช่วยไม่ได้ พล.อ.ประยุทธ์จะรับมือไหวไหม โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอปากนักการเมือง โดยไม่มีมาตรา 44?.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"