รถไฟเชื่อมสามสนามบินไม่จบเร่งสรุปข้อกฎหมาย23 เม.ย.นี้


เพิ่มเพื่อน    

 

20 เมษายน 2562  นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท เปิดเผยที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯมีหารือในประเด็นต่างๆ ของข้อปลีกย่อยที่ทางฝ่ายกฏหมายตรวจพบหลังจากนี้จะให้ฝ่ายกฏหมายของฝ่ายคณะกรรมการนำไปหารือร่วมกับฝ่ายกฏหมายของกลุ่มซีพีในวันที่ 20 เมษายนนี้พร้อมกับดำเนินการให้สำเร็จในช่วงวันที่ 20-21 เมษายนนี้

ทั้งนี้จะนัดคณะกรรมการคัดเลือกฯมาหารือในวันที่ 23 เมษายนนี้พร้อมกับเชิญกลุ่มซีพีเข้ามาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย หากได้ข้อสรุปชัดเจนทั้งหมดก็จะเร่งนำรายงานเสนอสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.)ประมาณวันที่ 26 เมษายนนี้ เพื่อทบทวนร่างสัญญา

“เป้าหมายจะลงนามสัญญาให้ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยการนำเสนอให้อัยการสูงสุด.เพื่อตรวจร่างสัญญานั้นสามารถดำเนินการนำเสนอคณะกรรมการอีอีซีและครม.ควบคู่กันไปได้ โดยการหารือในประเด็นปลีกย่อย อาทิ ค่าปรับ เรื่องการส่งมอบพื้นที่ที่จะต้องระบุไว้สัญญา ส่วนประเด็นหลักๆนั้นสรุปจบไปทั้งหมดแล้ว เบื้องต้นนั้นหากมีข้อต่อรองฝ่ายกฎหมายก็พร้อมดำเนินการในทันที ดังนั้นวันที่ 23 เมษายนนี้ก็จะเห็นภาพชัดเจนแล้วว่ากลุ่มซีพีได้รับงานนี้แน่นอนหรือไม่โดยไม่ต้องเชิญกลุ่มบีเอสอาร์เข้ามาเจรจา ยืนยันว่าคณะกรรมการคัดเลือกจะเสนอผิดไปจากที่ร่างเอกสารประกวดราคาตามที่ RFP กำหนดไว้ไม่ได้ และไม่มีการกล่าวถึง 16 ข้อเสนอเพื่อนำกลับมาพิจารณารอบใหม่แต่อย่างใด”นายวรวุฒิ

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรม(Integrity Pact :IP) ในคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท กล่าวว่า การประชุมได้มีการเสนอให้นำข้อเสนอจำนวน 16 ข้อที่เคยรับไว้ 4 ข้อเพื่อพิจารณา และไม่ยอมรับอีก 12 ข้อนั้นขอกลับมาพิจารณารอบใหม่อีกครั้งซึ่งตนไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้ โดยจะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนแสดงความชัดเจนในเรื่องนี้

“4 ข้อเสนอรับไว้พิจารณา ส่วนอีก 12 ข้อเสนอไม่สามารถยอมรับได้ แต่หากกลุ่มซีพีจะขอไปนำเสนอคณะกรรมการอีอีซีและครม.เองนั้นคงเป็นอำนาจของครม.และคณะกรรมการอีอีซีจะพิจารณาซึ่งนอกเหนืออำนาจของคณะกรรมการคัดเลือก”แหล่งข่าวกล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"