'ดร.สามารถ'อธิบาย'มาตรา44ดีอย่างไรกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว'


เพิ่มเพื่อน    

20 เม.ย.62 - ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร หนึ่งในทีมบริหารกรุงเทพมหานครชุดเริ่มต้นของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน โพสต์ข้อความเรื่อง "ม.44 ดีอย่างไร? กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว" โดยมีเนื้อหาดังนี้

เมื่อเร็วๆ นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เร่งรัดการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้ประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อให้มีการเก็บค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรม ไม่เป็นภาระหนักแก่ผู้โดยสาร

รถไฟฟ้าสายสีเขียวประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่อยู่ในย่านธุรกิจซึ่งถือเป็น “ไข่แดง” ประกอบด้วยช่วงหมอชิต - อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน ซึ่งได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 โดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสได้รับสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ลงทุนเองทั้งหมดพร้อมทั้งให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถด้วย ดังนั้น รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนนี้จึงมักถูกเรียกขานว่ารถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานระหว่าง กทม.กับบีทีเอสจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2572 แต่ กทม.ได้ทำสัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้เป็นผู้เดินรถต่อจากปี พ.ศ.2572 จนถึงปี พ.ศ.2585

2. ส่วนที่ 2 เป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ประกอบด้วยช่วงสะพานตากสิน - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง เป็นการลงทุนทั้งหมดโดย กทม. และ กทม.ได้ว่าจ้างให้บีทีเอสเป็นผู้เดินรถจนถึงปี พ.ศ.2585 สำหรับช่วงสะพานตากสิน-บางหว้าได้เปิดให้บริการครบตลอดทั้งช่วงมาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2556 ส่วนช่วงอ่อนนุช-แบริ่งได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2554

3. ส่วนที่ 3 เป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ประกอบด้วยช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต สำหรับงานโยธาเป็นการลงทุนโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่วนงานระบบรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสารและตั๋วเป็นการลงทุนโดย กทม. ทั้งนี้ กทม.ได้ว่าจ้างให้บีทีเอสเป็นผู้เดินรถจนถึงปี พ.ศ.2585 โดยได้เปิดบริการเดินรถช่วงแบริ่ง - สำโรงเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 และช่วงสำโรง-สมุทรปราการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ส่วนช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปลายปี พ.ศ.2563

จะเห็นได้ว่าการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายใกล้แล้วเสร็จแม้ไม่มีการประกาศใช้ ม.44 ก็ตาม อีกทั้ง ผู้ประกอบการเดินรถก็เป็นผู้ประกอบการรายเดียวกันทั้ง 3 ส่วน ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว นั่นคือบีทีเอส ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าให้เสียเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ม.44 จะช่วยประหยัดเวลาในการเจรจาต่อรองกับบีทีเอสเพื่อทำให้ได้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรม ไม่เป็นภาระหนักต่อผู้โดยสาร เนื่องจากไม่ต้องทำตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องใช้เวลานาน

ผมขอเสนอแนะให้กรรมการผู้มีหน้าที่เจรจาต่อรองกับบีทีเอสพิจารณาดำเนินงานรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวมทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 และที่ 2 ใหม่ หรือรีเซ็ตการดำเนินงาน ด้วยการทำสัญญาสัมปทานใหม่กับบีทีเอส โดยให้บีทีเอสร่วมลงทุนและบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวมทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 และที่ 2 เป็นระยะทางรวมประมาณ 70 กิโลเมตร ทั้งนี้ จะต้องทำให้ค่าโดยสารถูกลง มีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ประหยัดเวลาการเดินทาง และลดอุบัติเหตุจราจร

ข้อเสนอของผมจะช่วยแก้ปัญหาการดำเนินงานรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย ด้วยอัตราค่าโดยสารที่ถูก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"