นักวิทย์จุฬาฯแช่แข็งสเปิร์มปะการังโต๊ะแบบพุ่มสำเร็จครั้งแรกของโลก เก็บได้นาน 20 ปี ชี้โลกร้อนทำปะการังหยุดสืบพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    


   
24 เม.ย.62- คณะวิทยาศาสตร์และศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือกองเรือยุทธการจัดแถลงข่าวเรื่อง“ ครั้งแรกของโลก...นักวิทย์ไทยเพาะปะการังชนิดแบบโต๊ะด้วยสเปิร์มแช่เยือกแข็ง” ณอาคารเคมี2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ.ดร.วรณพวยิกาญจน์หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯกล่าวว่ากลุ่มการวิจัยชีววิทยาแนวปะการังได้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศหาแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังที่เสื่อมโทรมภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของโลก ในปีที่แล้วกลุ่มการวิจัยชีววิทยาแนวปะการังได้ประสบความสำเร็จในการนำสเปิร์มของปะการังโต๊ะแบบพุ่มAcropora humilisมาผ่านกรรมวิธีการแช่เยือกแข็งในไนโตรเจนเหลว  และนำกลับมาผสมใหม่กับไข่ปะการัง  ซึ่งเป็นการทำสำเร็จครั้งแรกของโลกของปะการังโต๊ะชนิดนี้  และได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยระดับนานาชาติแล้ว  ทั้งนี้เป็นการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวไต้หวันความสำเร็จของการนำสเปิร์มของปะการังมาผ่านกรรมวิธีการแช่เยือกแข็งทำให้สามารถเก็บรักษาสเปิร์มได้นานขึ้น  และสามารถนำมาผสมกับไข่ปะการังได้ใหม่ในช่วงเวลาและฤดูกาลที่ต้องการและเหมาะสมต่อไป 

 

รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลคณะวิทยาศาสตร์กล่าวว่าปะการังโดยทั่วไปมีการผสมพันธุ์แบบอาศัยเพศเพียงปีละครั้งส่วนใหญ่เป็นการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์(ไข่และสเปิร์ม) ออกมาผสมกันในมวลน้ำ  กลุ่มการวิจัยฯนำหลักการดังกล่าวมาใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศโดยเก็บเซลล์สืบพันธุ์ปะการังที่ถูกปล่อยออกมาตามธรรมชาติแล้วนำไปปฏิสนธิโดยการผสมเทียมเพื่อเพาะฟักในระบบเพาะฟักปะการัง 

สำหรับ  เทคนิคใหม่เก็บสเปิร์มโดยการแช่เยือกแข็งในถังไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิเย็นจัดติดลบ196 องศาเซลเซียสเพื่อเก็บรักษาสภาพของเซลล์ซึ่งเก็บได้นาน10- 20 ปีและเมื่อนำกลับมาผสมใหม่ก็ฟื้นคืนชีพ  ทำให้สามารถผสมพันธุ์ปะการังได้เพิ่มขึ้นปีละหลายครั้งรวมทั้งป้องกันการสูญพันธุ์ของปะการังปัจจุบันอุณหภูมิของโลกได้สูงขึ้น  ทำให้ปะการังหลายชนิดไม่สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์และผสมกันตามธรรมชาติได้ปีนี้พบปะการังชนิดหนึ่งไม่ยอมปล่อยไข่และสเปิร์มทั้งที่ถึงเวลาปล่อย  เหตุสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม   อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นซึ่งการผสมเทียมรวมทั้งการนำเทคนิคการเก็บสเปิร์มโดยการแช่เยือกแข็งมาใช้สามารถแก้ปัญหานี้ได้   ปกติอัตรารอดของปะการังที่มาจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศตามธรรมชาติมีค่าร้อยละ0.01 หรือต่ำกว่าแต่การเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศด้วยวิธีการผสมเทียมดังกล่าวมีอัตราการปฏิสนธิของปะการังสูงกว่าร้อยละ98 และมีอัตรารอดขณะทำการอนุบาลในระบบเลี้ยงจนมีอายุประมาณ2 ปีที่ร้อยละ40–50 
"กลุ่มวิจัยฯมีแผนจะนำกลับคืนถิ่นสู่ทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลเขาหมาจออ.สัตหีบจ.ชลบุรีอนาคตจะนำไข่ของปะการังโต๊ะแบบพุ่มมาแช่เยือกแข็งต่อไป“ รศ.ดร. สุชนากล่าวและว่าการขยายพันธุ์เพาะปะการังจากสเปิร์มแช่เยือกแข็งมีสหรัฐออสเตรเลียญี่ปุ่นและเยอรมันทำได้  แต่เป็นปะการังแบบกิ่ง ปะการังแบบก้อน รวมถึงกัลปังหา  ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ไทยเพาะปะการังโต๊ะแบบพุ่มด้วยสเปิร์มแช่แข็งสำเร็จเป็นประเทศแรก "รศ.ดร.สุชนากล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"