“ธ.ก.ส.” เตรียมอัดฉีดสินเชื่ออุ้มเกษตรกรสู้ปัญหาภัยแล้ง


เพิ่มเพื่อน    

 

13 พ.ค. 2562 นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง สำหรับเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายในการเพาะปลูกจากภัยแล้งทั่วประเทศ ซึ่งการช่วยเหลือจะมีหลายรูปแบบทั้งการสนับสนุนสินเชื่อและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตสู่พืชที่ใช้น้ำน้อย

นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. และโฆษก ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่ผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงในรอบหลายปี โดยเริ่มกินเวลาตั้งแต่เดือน ก.พ.-พ.ค. 2562 ดังนั้นระหว่างนี้ขอให้เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ในพื้นที่ทั้งอำเภอ หรือสาขาของ ธ.ก.ส. เพื่อขอรับมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งประเมินว่าจะมีพืชหลายชนิดที่ได้รับความเสียหาย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
รายงานข่าวแจ้งว่า ธ.ก.ส. ระบุว่า มีการประเมินว่าเกษตรกรลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะกระทบต่อพืชเกษตรสําคัญที่กําลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะ ข้าวนาปรัง ซึ่งมีผลผลิตอยู่ในภาคกลาง โดยปัจจุบัน ธ.ก.ส. มีลูกค้าที่เป็นเกษตรกรทั่วประเทศ 5.8 ล้านราย ในจํานวนนี้ อยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลาง 2.7 แสนราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.78 ล้านราย

สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ธนาคารเตรียมไว้ ได้แก่ โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสําหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติ หรือภัยพิบัติ เพื่อเป็นค่าลงทุนฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหาย วงเงินกู้รายละไม่เกิน 500,000 บาท คิด ดอกเบี้ยเงินกู้เพียง 5% ต่อปี ชําระคืนเป็นรายเดือน รายไตรมาส ราย 6 เดือน หรือรายปี ตามที่มาแห่งรายได้ และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้าผู้ขอกู้ โดยให้ชําระหนี้คืนเสร็จไม่เกิน 15 ปี

นอกจากนี้ยังมีกองทุนบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ ที่จะคอยช่วยเหลือให้ ความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ตลอดจนฟื้นฟู ซ่อมแซมทรัพย์สิน อุปกรณ์การเกษตร สมทบเงินสร้างบ้าน ในส่วนของภัยแล้งนั้น จะมีการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อป้องกันการเกิดภัยดังกล่าว ที่ผ่านมาธนาคารได้ เข้าไปสร้างฝายชะลอน้ำในเขตพื้นที่ในทุกฝ่ายกิจการสาขา รวมฝายขนาดใหญ่ กว่า 7 แห่ง ขนาดกลาง 715 แห่ง และฝ่ายขนาดเล็กที่กระจายอยู่ตามพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งอีก 3,243 แห่ง

“ธนาคารมีฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบท (ฝพช.) ทํางานร่วมกันกับกองทุนบรรเทาความเดือดร้อน ผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ โดยมีหน้าที่ในการดูแลรวมถึงการป้องกันการเกิดภัย ตลอดจนการให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน มากไปกว่านั้นแล้ว ธ.ก.ส. ยังเข้าไปช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกค้าในหลากหลายด้านอีกด้วย อาทิ การส่งเสริมให้ลูกค้าทําประกันภัยพืชผล เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อไว้ได้รับการชดเชยตามวงเงินที่ได้ทําประกันภัยไว้” รายงานข่าว ระบุ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"