เสนอวาระ"สังคมอายุยืน" พลิกวิกฤติให้ไทยแข่งขันได้


เพิ่มเพื่อน    

    สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดสัมมนาสาธารณะ ประจำปี 2562 เรื่อง “สังคมอายุยืน: แข่งขันได้ และอยู่ดี มีสุข ได้อย่างไร?” ณ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันก่อน เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแก่ภาครัฐ ธุรกิจและประชาชน ให้สามารถเตรียมพร้อมกับการที่ไทยเป็น “สังคมอายุยืน” พร้อมกับการเป็น “สังคมสูงวัย” เพื่อให้คนไทยมีชีวิตยืนยาวที่อยู่ดีและมีสุข สามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนเมืองให้ช่วยสร้างพลังแก่คนทุกวัย มีหลักประกันสุขภาพและการเงินมั่นคงรับชีวิตยืนยาว มีทักษะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับคนทุกวัย  
    ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ เปิดประเด็นว่า ตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยมีอายุขัยคาดการณ์ตามช่วงเวลาเพิ่มขึ้น 4.4 เดือนต่อปี ทำให้คนไทยมีอายุคาดการณ์เมื่อเกิดถึง 75.3 ปี ในปี 2559 และเมื่อประมาณการอายุคนไทยตามรุ่นอายุ ซึ่งคิดผลของพัฒนาการทางเทคโนโลยีเข้ามาด้วย พบว่ามีความเป็นไปได้ที่คนไทยที่เกิดในปี 2559 จะมีอายุยืนเฉลี่ยถึง 80-98 ปี หรือเกือบ 100 ปี ซึ่งหมายความว่า ต่อไปการมีคนไทยอายุเกิน 100 ปี จะเป็นเรื่องปกติ จากล่าสุดในปี 2560 มีคนไทยที่อายุยืนกว่า 100 ปีแล้วถึง 9,041 คน 
    การเป็นสังคมอายุยืนนำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ มากมาย ภาครัฐ ธุรกิจและประชาชนจึงควรวางแผนและเตรียมการที่ดี เพราะแม้คนไทยจะอายุยืนขึ้น แต่การที่ไทยเป็นสังคมสูงวัยด้วย ทำให้วัยแรงงานมีจำนวนลดลง มีผลิตภาพแรงงานต่ำลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และออกจากตลาดแรงงานเร็วเกินไป ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมกับสังคมอายุยืน ไทยควรปรับนิยามผู้สูงอายุตามประเทศพัฒนาแล้วคืออายุ 65 ปี และยืดรับบำนาญ เพื่อยืดอายุการทำงาน ยืดเวลาการออม และฝึกทักษะสำหรับโลกอนาคตมากขึ้น  


    ทั้งนี้ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ ได้คาดการณ์ว่า หากไม่เร่งแก้ไขปัญหา การเป็นสังคมสูงอายุจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลดลงจากแนวโน้มเดิม 0.8% ต่อปี เพื่อรักษาการเติบโตให้ต่อเนื่อง รัฐควรมีมาตรการลดการออกจากงานของคนอายุ 50-59 ปี และขยายอายุบำนาญ พร้อมกับดึงคนทำงานอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้ามาทำงาน ซึ่งจะแก้ปัญหาการเติบโตที่ลดลงได้ประมาณ 11% นอกจากนี้ หากนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเพิ่มเติมจากปรกติอีก 1 แสนคนต่อปี จะช่วยแก้ปัญหาได้อีก 3.1% แต่ทางเลือกนี้จะสร้างปัญหาอื่นตามมาในระยะยาว มาตรการที่เหมาะสมกว่าที่ควรพิจารณาคือการลดการเกณฑ์ทหารลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะแก้ไขปัญหาได้ 6% แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนใช้เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติมากขึ้น และเพิ่มอัตราการเติบโตผลิตภาพรวม โดยสร้างนวัตกรรมต่างๆ และสร้างธุรกิจใหม่ที่เหมาะกับสังคมอายุยืน  
    ด้าน ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการอาวุโส ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไม่จำเป็นต้องลดลงแม้จำนวนแรงงานลดลง หากไทยเร่งนำเอาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ ประกอบกับสร้างธุรกิจดาวรุ่งใหม่ๆ ที่มีอย่างน้อย 20 ธุรกิจ เช่น การดูแลผู้สูงอายุ เวชศาสตร์และผลิตภัณฑ์ชะลอวัย การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของผู้สูงอายุ และคนในช่วงวัยต่างๆ ในสังคมอายุยืนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวจีนและคนในประเทศเพื่อนบ้านที่จะกลายเป็นคนสูงวัยตามมา โดยหากมุ่งเป้าทำธุรกิจแค่กับคนไทย ตลาดจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ   
    ประเด็นการเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับการมีอายุยืนยาว รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ปรึกษานโยบายด้านหลักประกันทางสังคม ทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์ว่า คนไทยจะมีเงินบำนาญและเบี้ยยังชีพ ไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในอนาคต เพราะผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลที่ต้องการใช้จ่ายประมาณเดือนละ 7 พันบาทต่อเดือน จะต้องมีเงินออมไว้ใช้ 2.85 ล้านบาทเมื่อมีอายุ 60 ปี และหากต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็ต้องเพิ่มการออมให้มากขึ้นอีก ดังนั้นควรส่งเสริมให้มีการออมทั้งภาคบังคับและสมัครใจ โดยเฉพาะสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้เช่นเดียวกัน และขยายอายุเกษียณเพื่อเพิ่มระยะเวลาการออม. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"