“ดูแลพ่อแม่วัยชรา” แบบไร้เงื่อนไข ต้องวางแผนใช้บำเหน็จบำนาญ


เพิ่มเพื่อน    

            นับเป็นอุทาหรณ์เกี่ยวกับเงินบำเหน็จบำนาญ หรือ การแบ่งมรดกให้ลูกหลานก็ดี เพราะอย่างที่รู้กันว่าเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร กรณีล่าสุดที่คนวัยเกษียณได้รับเงินบำนาญจำนวนหนึ่งสำหรับเลี้ยงชีพ และถูกเพื่อนบ้านขอยืมเงินไปและไม่คืน กระทั่งผู้สูงวัยคนดังกล่าวเครียดและป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กระทั่งผูกคอฆ่าตัวตาย

            กระแสข่าวเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ก็สามารถพบได้ค่อนข้างบ่อยในสังคมไทยที่ค่อนข้างอะลุ้มอล่วย กรณีนี้ พี่เจี๊ยบ-รัตน์ธนรส วงศ์อุดม พยาบาลวิชาชีพ ผู้ดูแลฝ่ายการพยาบาล จาก “ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย” มีคำแนะนำเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการใช้ชีวิตในวัยหลัก 6 อย่างมีความสุข ด้วยทรัพย์สินที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรง และเป็นแนวทางป้องกันปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดหรือพบได้น้อยลงในสังคมแห่งการช่วยเหลือ

            “สิ่งที่สำคัญมากที่สุด เราต้องทำความเข้าใจใหม่ค่ะ คือในอดีตพ่อแม่มักจะมอบมรดกให้ลูกหมดเลย ซึ่งนั่นเป็นประเด็นสังคมในอดีต แต่ในยุคปัจจุบัน ผู้สูงอายุต้องดูแลตัวเองเป็นหลัก ประการสำคัญลูกหลานยุคใหม่ต้องออกไปทำงานประกอบสัมมาชีพของตัวเอง แต่ตัวลูกหลานมักมีรายได้ที่ไม่ค่อยพอใช้เอง ดังนั้นหากพ่อแม่ยุคใหม่หวังพึ่งลูกหลาน บอกเลยว่าอาจจะค่อนข้างยาก" พี่เจี๊ยบกล่าว และว่า

            “เรื่องการปฏิเสธของผู้สูงอายุต่อการที่มีคนมาขอยืมเงินนั้น สิ่งสำคัญอยากให้หลายคนมองว่า เงินก้อนนี้พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายจะต้องเอาไว้ใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ว่าเราจะต้องให้ผู้สูงอายุปฏิเสธเพียงฝ่ายเดียว แต่คนที่เป็นลูกหลาน ก็ต้องเข้าใจคุณพ่อคุณแม่เราด้วย โดยเข้าใจผู้สูงอายุว่าท่านจะต้องใช้เงินนี้ต่อไปในอนาคต ดังนั้นเงินก้อนนี้ท่านทำมาตลอดชีวิต ท่านก็ต้องได้ใช้เงินส่วนนั้น

            ส่วนลูกหลานนั้นควรดูแลท่านมากกว่าไปเอาเงินจากท่าน เพราะการที่จะให้พ่อแม่ปฏิเสธลูกนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะอย่างไรเสียพ่อแม่ต้องเป็นฝ่ายให้ลูกหลาน เพราะท่านหวังว่าเมื่อให้เงินหรือทรัพย์สินต่างๆ แล้ว ลูกหลานจะต้องกลับมาตอบแทนบุญคุณ แต่จากประสบการณ์ที่เป็นพยาบาลและทำงานมา 26 ปี พบว่า ผู้สูงอายุที่มอบมรดกให้ลูกหลาน ร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ จะถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลที่ดี ส่วนใหญ่มักจะดูแลครอบครัวตัวเองมากกว่า ดังนั้นจึงไม่อยากบอกว่าผู้สูงอายุ หรือคนเป็นพ่อเป็นแม่ ต้องปฏิเสธการยืมเงินอย่างไร แต่อยากให้ลูกหลานยุคปัจจุบันตระหนักว่า ไม่ควรจะไปเบียดเบียน หรือหวังมรดกจากปู่ย่าตาตาย ควรจะเก็บไว้ให้ท่านสำหรับใช้ดูแลตัวเอง”

            พยาบาลรัตน์ธนรส บอกอีกว่า “ในส่วนของเพื่อนบ้านที่ขอยืมเงินผู้สูงอายุ ยิ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ยืม ถ้าจะป้องกันผู้สูงอายุให้ผู้อื่นยืนเงินจริงๆ คนที่เป็นลูกหลานนั้นต้องเข้ามาดูแล และอย่าปล่อยให้ท่านอยู่คนเดียว หรือเมื่อท่านมีเงินบำนาญ และเงินอยู่ในบัญชี ก็ต้องคอยดูว่าบัญชีนั้นอยู่ที่ใคร ต้องดูแลเรื่องแบบนี้ด้วยเช่นกัน เพราะการที่ผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพังอาจมีมิจฉาชีพ หรือเพื่อนบ้านที่ทำตัวดีแฝงเข้ามาเพื่อมาดูแลคุณยาย เนื่องจากลูกไม่มาเยี่ยม ไม่มาหา ตรงนี้จะทำให้ผู้สูงวัยแพ้ทาง เพราะคนวัยเก๋าต้องการคนดูแล เป็นจุดอ่อนของท่านที่จะถูกหลอกยืมเงินได้ง่าย ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือลูกหลานต้องหมั่นกลับมาดูแล มาเยี่ยม ที่สำคัญ สังคมของคนวัยทำงานยุคใหม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงวัยด้วยค่ะ อย่างล่าสุดที่ได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ก็พบว่าท่านได้ยกที่ดิน 2 ไร่ให้ลูกหลาน สุดท้ายลูกหลานให้อยู่ในที่พักเป็นกล่องเล็กๆ ก็อยากฝากเรื่องนี้ไว้ด้วยค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"