สว.ถูกหลอกลวงและทำร้าย สิทธิขึ้นพื้นฐานที่ไม่ควรละเลย


เพิ่มเพื่อน    

(ผู้สูงอายุถูกทำร้ายจากคนใกล้ตัว ทั้งในครอบครัวและในชุมชน สิทธิพื้นฐานที่พึงตระหนัก เนื่องจากทำให้ผู้สูงวัยเจ็บป่วยทั้งกายและใจ และลูกหลานควรรับรู้รับทราบ โดยยึดหลัก “ก้ม” “กอด” และ “กราบ” เพื่อส่งเสริมการดูแลพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข)

 

      เรื่องการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ของผู้สูงอายุนั้น เป็นสิ่งที่ผู้สูงวัยและคนดูแลจำเป็นต้องทราบ เนื่องจากปัจจุบันเรื่องสิทธิต่างๆ ของคนวัยหลัก 6 ควรรู้ได้ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี พ.ศ.2546 มาตราที่ 11 ระบุไว้ 13 ข้อ อาทิ เรื่องการอำนวยความสะดวก, การขนส่งสาธารณะ, การคุ้มครองการเดือดร้อนเรื่องของคดีความ, การคุ้มครองเรื่องที่พักอาศัย, เรื่องการทำศพ และการได้รับบริการทางด้านการแพทย์ โดยสิทธิของผู้สูงอายุแต่ละเรื่องก็จะแบ่งไปตามกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องของขนส่งยานพาหนะ ทางกระทรวงคมนาคมก็มีส่วนช่วยดำเนินการรับผิดชอบในการลดหย่อนสิทธิค่าโดยสารสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนเรื่องการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเข้ามีส่วนร่วม เช่น บริการการให้คิวผู้สูงอายุก่อนขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ (พม.) ก็จะช่วยเหลือกรณีผู้สูงอายุเดือดร้อนจำเป็นตาม พ.ร.บ. และมีการช่วยเหลือค่าจัดการศพ รวมถึงเรื่องของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือเรื่องสิทธิตาม พ.ร.บ.ผู้สูงวัย กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ

(ผอ.อาภา รัตนพิทักษ์)

      ในงาน “ครบรอบ 66 ปี บ้านบางแค” ผอ.อาภา รัตนพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ได้สะท้อนแนวคิดเรื่องการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานให้ได้รับทราบ โดยเฉพาะภัยใกล้ตัวที่คนวัยเก๋าถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากคนในครอบครัว ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิทธิที่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลควรทราบ เพื่อส่งเสริมการดูแลคนวัยเก๋าให้มีคุณภาพอีกทั้งมีชีวิตยืนยาว

        ผอ.อาภา รัตนพิทักษ์ บอกว่า “บ้านบางแคมีส่วนคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการที่เรารับต่อมาจากส่วนกลาง เรามีการให้ความรู้ในการเฝ้าระวังภัยสังคม และให้ความรู้กับผู้สูงอายุเกี่ยวกับการตระหนักและทราบถึงสิทธิของตัวเอง เพื่อให้สามารถใช้สิทธิได้ถูกต้อง ทั้งผู้สูงอายุในศูนย์ของเรา และยังมีการออกไปให้ความรู้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนด้วย

      “สำหรับภัยทางสังคมที่ผู้สูงอายุได้รับและพบเจอมากที่สุด และถือเป็นสิทธิที่คนวัยนี้ควรรับรู้รับทราบคือ ปัจจุบันมีภัยเกิดขึ้นเยอะมาก เช่น การที่ผู้สูงอายุอยู่ในบ้านคนเดียว ซึ่งตรงนี้จะเป็น “ภัยเรื่องการถูกหลอกลวงทรัพย์สิน” จากการอยู่บ้านเพียงลำพัง และ “ภัยที่เกิดจากการทำร้ายร่างกาย” โดยคนในครอบครัวในชุมชน ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ ดังนั้นดำเนินงานของเราก็จะมีทั้งแบบของอาสาสมัคร และการที่เราเองลงไปให้ความรู้กับคนในชุมชน เช่น เรื่องการทำร้ายผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งคำว่าการทำร้ายในที่นี้ไม่ได้แค่การทุบตี แต่ยังรวมถึงการพูดกระทบกระแทกให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่ดีในจิตใจ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เรามีการอบรมและมีการรณรงค์โครงการของเราชื่อ “โครงการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ”

(หมั่นออกกำลังยามหนุ่มสาว ช่วยสุขภาพแข็งแรงเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ และช่วยให้ทำกิจกรรมที่ชอบได้โดยปราศจากโรคภัย)

      ซึ่งเรามีกิจกรรมที่ใช้เป็นธีมในการดำเนินการ เช่น  “ก้ม” “กอด” “กราบ” เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมและชุมชน รู้สึกรักและเคารพผู้สูงอายุ หมายความว่าทำทุกอย่างให้เป็นกิจวัตรประจำวัน เพียงแค่ “การก้ม” ก็ถือเป็นการแสดงความเคารพ ส่วน “การกอด” ก็ถือเป็นการแสดงความรักกันในครอบครอบครัว ส่วน “การกราบ” นั้นก็ถือเป็นการแสดงความกตัญญูที่ผู้สูงอายุดูแลเรามา ที่สำคัญการทำร้ายจิตใจผู้สูงอายุจากคนในครอบครัวหรือชุมชน บางครั้งตัวผู้กระทำก็อาจจะไม่รู้ เช่น การจับผู้สูงอายุแรงๆ บางครั้งเป็นการกระทำที่ไม่ตั้งใจ แต่ว่ามันจะกระทบทั้งร่างกายและจิตใจของท่าน เรื่องนี้ทั้งคนดูแลและผู้สูงอายุต้องรับรู้รับทราบ”

      ผอ.อาภา บอกอีกว่า บ้านบางแคได้เน้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับรู้สิทธิของตัวเอง ซึ่งทางบ้านบางแคทำร่วมกับพื้นที่ต้นแบบ 3 พื้นที่ คือ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3 แห่ง และ จ.ราชบุรี รวมถึงพื้นที่คลองบางปากกด จ.สมุทรปราการ และกิจกรรมส่งเสริมสิทธิ์ผ่านการเล่นเกมและทำกิจกรรม ที่จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 66 ปีนี้ ที่สำคัญยังมีสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุตาม พ.ร.บ. ทั้ง 13 ข้อ ในส่วนนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องต่างๆ ก็จะลงพื้นที่ไปจัดตามสถานที่ต่างๆ ให้ผู้สูงอายุให้รับทราบโดยทั่วกัน และนอกจากสิทธิของผู้สูงวัยข้างต้นแล้ว “การเตรียมตัว” เพื่อเข้าสู่วัยเกษียณและสังคมผู้สูงอายุอันใกล้นี้ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เพื่อเป็นวัยเก๋าที่มีพลังและมีสุขภาพที่ดี

      “เนื่องจากปัญหาเรื่องผู้สูงอายุไม่ได้เกิดจากตัวผู้สูงอายุอย่างเดียว แต่มันเกิดจากสภาพสังคมทั้งหมด อยากให้ทุกคนและทุกช่วงวัยมีการเตรียมพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ ถ้าเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เมื่อเราเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ปัญหาต่างๆ มันก็จะน้อยลง เรื่องการเตรียมตัว 1."ด้านสุขภาพ” ถ้าดูแลสุขภาพมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ความเสื่อมมันก็จะน้อยลง ปัญหาด้านสุขภาพก็จะน้อยลง ปัจจุบันเป็นโรคทางพฤติกรรมค่อนข้างมาก และเกี่ยวข้องกับการกิน อยู่ นอนหลับ ซึ่งทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

      2."การเตรียมเงินออม” เช่น ผู้สูงอายุ 1 คน จากผลวิจัยระบุว่า ผู้สูงวัยที่ไม่ได้ป่วยมากจำเป็นต้องมีเงินออมประมาณ 4 ล้านบาท ส่วนผู้สูงอายุที่มีภาวะป่วยโดยไม่หลักประกันรองรับ ไม่ได้เป็นข้าราชการ และไม่มีระบบประกันสุขภาพ จะต้องมีเงินออมประมาณ 8-10 ล้านขึ้นไป เพราะใน 1 โรคที่ต้องรักษาเป็นโรคเรื้อรัง และร่างกายต้องจะเสื่อมลงไปตามวัย 3."เตรียมบ้านและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย” เช่น สมัยที่เรายังเป็นหนุ่มเป็นสาว บ้านที่เราออกแบบจะมีการเล่นระดับค่อนข้างเยอะ ดังนั้นจะทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตเวลาที่เราอายุมากๆ  เพราะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากความสวยงามที่เราเห็นมาตลอดชีวิต พอเราสูงอายุต้องปรับปรุงบ้าน เช่น ติดราวจับ ทำทางลาดเพิ่มในบ้าน เปลี่ยนประตูเดิมจากลูกบิดให้เป็นมือจับแบบยกขึ้น-ลง เนื่องจากความสามารถในการบิดลูกบิดของผู้สูงวัยก็จะน้อยลง แต่มือจับบานประตูแบบยกจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีแรงกด แม้ว่าไม่มีแรงดันในการบิดลูกประตู หรือก๊อกน้ำก็ต้องเปลี่ยนเป็นแบบยกขึ้น-ลงเพื่อเปิด-ปิดน้ำเช่นกัน”

      การตระหนักรู้ถึงสิทธิ์และสิทธิขั้นฐานของผู้สูงอายุ ที่คนวัยหลัก 6 และลูกหลานควรรู้ว่าสำคัญแล้ว แต่ทว่าการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ก็จะช่วยส่งเสริมเรื่องของสุขภาพที่แข็งแรงทางกายและจิตใจที่สำคัญไม่แพ้กัน...ว่าไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"