เปิดคำสั่งศาลรธน. ไม่รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดินฯ ขอวินิจฉัยตั้งกรรมการสรรหาส.ว.ไม่ชอบ


เพิ่มเพื่อน    

11 มิ.ย.62- เว็บไซด์ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่รายละเอียดคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 231(1)ว่า คำสั่งคสช.ที่ 1/2562  เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ลงวันที่ 8 ก.พ. 62 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 81 วรรคสอง และมาตรา 269(1)(ข)และ(ค) หรือไม่ จำนวน 4 หน้า  

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจคือในส่วนที่อ้างถึงเหตุผลของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน ( ผู้ร้อง) ได้แสวงหาข้อเท็จจริงและตรวจสอบตามหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ในพ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 พร้อมให้คสช.ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า คำสั่งคสช.ดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 269(1) มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 

1.เมื่อคำสั่งคสช.ดังกล่าวมีฐานเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 81 วรรคสองได้กำหนดไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าคำสั่งคสช.ฉบับนี้มิได้มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา กรณีจึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 81

2.กรรมการสรรหาส.ว.ตามคำสั่งดังกล่าวรายหนึ่ง ปรากฏเป็นข่าวทั่วไป และเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วว่า มีส่วนเป็นผู้ร่วมสนับสนุนในการจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ซึ่งได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. และเสนอชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี  กรรมการรายดังกล่าวจึงมีปัญหาความเป็นกลางทางการเมือง  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ กรณีจึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 269(1) 

3. กรรมการสรรหาส.ว. ตามคำสั่งดังกล่าวจำนวน 6 คน ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกคสช.ด้วย เมื่อกรรมการสรรหาส.ว.รายดังกล่าวทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีความสามารถที่เหมาะสมในอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา และการปฎิรูปประเทศไม่เกิน 400 คนแล้ว ต้องนำรายชื่อเสนอต่อคสช.ที่ตนเองเป็นกรรมการอยู่ด้วย เพื่อคัดเลือกให้ได้จำนวน 194 คน และรายชื่อสำรองอีก 50 คน การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการสรรหาส.ว. ดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่มีความขัดกันแห่งผลประโยชน์  กรณีจึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 296(1)  จึงทำให้ต้องเสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

แต่อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำสั่งคสช.ที่ 1/2562  เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ลงวันที่ 8 ก.พ. 62 ปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 81 วรรคสอง และมาตรา 269(1)(ข)และ(ค) หรือไม่ ซึ่งคำสั่งคสช.ดังกล่าว มีเนื้อหาสาระสำคัญเป็นเพียงการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่กลั่นกรองเสนอรายชื่อส.ว.เท่านั้น ไม่ใช่การออกกฎเกณฑ์ที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป คำสั่งคสช.ดังกล่าวจึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญมาตรา 231(1) ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"