ทส.ถอดบทเรียนสางปัญหาฝุ่นพิษ ระดมสมองปรับแผนเตรียมรับมือ


เพิ่มเพื่อน    

ปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งมีสาเหตุจากปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ได้กลายเป็นปัญหาระดับโลกที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ อย่างมากมายมหาศาล ซึ่งในส่วนของประเทศไทย แม้เวลานี้สถานการณ์จะคลี่คลายลง แต่ก็ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการดูแลและป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงซ้ำขึ้นมาอีกในปีต่อ ๆ ไปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากจะมีการจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก “Beat Air Pollution: หยุดหมอกควันและอากาศพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม” เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะในเรื่องดังกล่าวแล้ว ภายในงานยังมีการจัดเสวนา “การขับเคลื่อนให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการแก้ไขปัญหามลพิษคุณภาพอากาศ” เพื่อเป็นเวทีถอดบทเรียนการจัดการปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ไฟป่าจากการเผาในที่โล่ง 9 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ กรมอนามัย ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และชุมชน เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานในอนาคตให้มีประสิทธิภาพต่อไป

               

ด้าน นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าความเจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศมีสาเหตุจาก 2 ส่วน คือ 1.ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และ 2.การปนเปื้อนสถานะอื่น ๆ ในฝุ่นละออง อาจทำให้เกิดโรคที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง หรืออาจมีการพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด ขณะที่ในหญิงตั้งครรภ์ การได้รับอากาศที่มีคุณภาพต่ำจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก เช่น เกิดมามีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือเกิดความบกพร่องของร่างกาย หรือมีปัญหาในเรื่องพัฒนาการได้  การป้องกัน ก็ต้องการตรวจสอบสภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ หรือ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่มีปัญหาฝุ่นละออง หรือหากเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้หน้ากากกรองอากาศป้องกันตัวเอง

               

ด้าน นายกังวาน เหล่าวิโรจน์กุล เลขาธิการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวนั้น เทศบาลนครขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  (UNDP) ให้เป็น 1 ใน 7 พื้นที่นำร่องโครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นโครงการที่เชื่อมต่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาเมืองให้เป็น Smart City ภายใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะไม่พูดถึงบริบทของสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมุ่งการพัฒนาต่าง ๆ เช่น สมาร์ทบัสที่สามารถใช้แอปพลิเคชั่นตรวจสอบดูได้ว่าตอนนี้รถอยู่ไหน เพื่อจูงใจให้คนเปลี่ยนจากการใช้รถส่วนบุคคล มาเป็นรถสาธารณะได้ รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นสังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน

 

ในขณะที่นายมานิต อุ่นเครือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จ.ลำปาง ตัวแทนชุมชนที่ปราศจากการเผา100% ก็ตั้งข้อสังเกตว่า พื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการเผาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ “ป่าชุมชน” เพราะชาวบ้านที่เข้าไปทำประโยชน์ในป่าชุมชนจะคอยช่วยกันสอดส่องดูแล ขณะที่พื้นที่เกิดปัญหาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บนดอยสูงและพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชุมชน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"