ไขปริศนา 'ประตูผี' วัดโอกาสนครพนม ตะลึง!ใช้โกศคนตายแทนกำแพงแก้ว


เพิ่มเพื่อน    

19 มิ.ย.62 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดโอกาส ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครพนม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม เดิมชื่อว่า วัดพระศรีบัวบานพระเจ้าติ้ว มีพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน 28 วา ในปี พ.ศ.2281 ราชบุตรพรหมา เจ้าผู้ครองนครบุรีศรีโคตรบูร (ต่อจากพระบรมราชากู่แก้วพระบิดา) ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพร้อมสร้างพระอุโบสถ และพระประธานในโบสถ์นามว่า “หลวงพ่อพระบรมราชาพรหมา” นอกจากนี้ราชบุตรพรหมายังได้อัญเชิญพระติ้ว-พระเทียม จากวัดธาตุบ้านสำราญ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม มาประดิษฐานไว้ที่วัด ก่อนจะเปลี่ยนชื่อจาก “วัดพระศรีบัวบานพระเจ้าติ้ว” มาเป็นวัดโอกาส และมีสร้อยตามหลังว่า “ศรีบัวบาน” เป็นวัดโอกาสศรีบัวบาน

วัดโอกาสจะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ริมแม่น้ำโขง โดยด้านหน้าจะมีประตูโขง เคียงข้างกัน 2 แห่ง ด้านแรกจะมีรูปปั้นท้าวมหาพรหมในท่านั่งสถิตอยู่ด้านบน ส่วนประตูโขงอีกด้านที่อยู่ใกล้กัน จะมีรูปปั้นท้าวมหาพรหมในท่ายืน ซึ่งชาวบ้านเรียกประตูโขงทั้งสองนี้ว่า “ประตูพรหม”  ส่วนทางด้านทิศตะวันตก มีประตูโขงที่มีรูปปั้นยักษ์ยืนกุมไม้กระบองหรือคฑาอยู่ 2 ตน เบื้องต้นชาวบ้านต่างเชื่อว่ารูปปั้นดังกล่าวคือท้าวเวสสุวรรณ อธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย ชาวบ้านจึงเรียกประตูแห่งนี้ว่า “ประตูผี”

ผู้สื่อข่าวได้กราบนมัสการถามพระครูศรีปริยัติการ เจ้าอาวาสวัดโอกาส เกี่ยวกับประตูผีที่ชาวบ้านมีคติความเชื่อว่า เป็นประตูสำหรับพวกภูตผีใช้เป็นทางสัญจรเข้าออก ซึ่งได้คำตอบว่ารูปปั้นดังกล่าวไม่ใช่ท้าวเวสสุวรรณ แต่เป็นรูปปั้นของท้าววิรูปักษ์นาคราช หรือวิรูปักโขนาคราช เจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง โดยมีตำนานเล่าขานกันว่าพญานาคนั้นมีอยู่ 4 ตระกูลด้วยกัน คือ ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นพญานาคสีทอง,กัณหาโคตมะ พญานาคสีดำ,ฉัพพยาปุตตะ พญานาคสีรุ้ง และ ตระกูลเอราปถ พญานาคสีเขียว

ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นตระกูลที่ใหญ่ที่สุด เป็นเทพนาคราชคู่พระทัยของท้าวสักกะเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และได้ทรงเป็นอริยบุคคลขั้นโสดาบัน เนื่องจากได้ฟังธรรมจากพระโคดมและทรงบำเพ็ญเพียร เมื่อท้าววิรูปักษ์องค์เดิมสิ้นอายุขัยแล้ว ท่านจึงได้รับโองการจากท้าวสักกะฯ  ให้มาเป็นเจ้าแห่งโลกบาลทั้ง 4 และถือเป็นเจ้าแห่งทรัพย์ในบาดาลพิภพ โดยท่านจะปกครองในทิศปัจจิม (ตะวันตก) ในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา

ท้าววิรูปักษ์นาคราชยังดำรงตำแหน่งอธิบดีปกครองหมู่นาคด้วย ซึ่งพญานาคนั้นมีฤทธิ์มาก จะแปลงกายเป็นเทวดา เป็นมนุษย์หรือสิ่งอื่นๆก็ได้ ลักษณะกายของวิรูปักโขนาคราชนั้น จะมีสีทองทั้งองค์ ดวงตามีสีขาวอมฟ้าคล้ายตาของมนุษย์ ที่มีฤทธิ์อานุภาพและความเมตตาอย่างมาก หากใครบูชาท่านด้วยใจบริสุทธิ์จะเกิดความเป็นสิริมงคลในชีวิตและประสบพบแต่โชคลาภ เงินทอง เพราะตามประวัติท่านเป็นพญานาคราชที่เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ในบาดาลพิภพนั่นเอง

นอกจากพระครูศรีปริยัติการ จะไขปริศนาเกี่ยวกับท้าววิรูปักษ์แล้ว วักโอกาสยังมีความแปลกพิสดารกว่าวัดอื่นๆ คือเป็นวัดที่ไม่มีกำแพงแก้ว ซึ่งลักษณะกำแพงแก้วเป็นกำแพงเตี้ยๆ ที่ทำไว้เพื่อล้อมโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ของพระอารามแต่ละแห่งให้ดูดียิ่งขึ้น ดังนั้นกำแพงแก้วจึงมีกันเกือบทุกวัด คล้ายกับเป็นส่วนหนึ่งของพุทธจักร

แต่ที่วัดโอกาสศรีบัวบานแห่งนี้ ดูเหมือนจะเป็นวัดแห่งเดียวที่ฉีกตำราการสร้าง ที่ไม่มีกำแพงแก้ว แต่กลับใช้โกศบรรจุอัฐิผู้ล่วงลับไปแล้วล้อมรอบแทน นับว่าเป็นเรื่องน่าแปลกและชวนสนใจไม่น้อย

“เรื่องกำแพงแก้วล้อมรอบโบสถ์นั้น เท่าที่ทราบจากปากต่อปากว่า เดิมทีทางวัดจะสร้างกำแพงแก้วล้อมโบสถ์ให้เหมือนกับวัดทั่วๆไป แต่วัดมีเนื้อที่น้อยและจำกัด ประกอบกับต้องบริจาคพื้นที่ส่วนหนึ่งไปสร้างศาลเจ้าหมื่น (เจ้าพ่อหลักเมือง) เวลามีญาติโยมมาขอสร้างโกศบรรจุอัฐบรรพบุรุษ ทางวัดไม่สามารถจัดหาพื้นที่อันเหมาะสม จึงตัดสินใจให้ไปสร้างโกศล้อมรอบพระอุโบสถ ดังที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน” พระครูศรีปริยัติการ กล่าว

วัดโอกาส(ศรีบัวบาน) ยังมีสิ่งดีๆที่เป็นมงคลอีกมากมาย เช่นพระติ้ว พระเทียม ที่มีประวัติการสร้างยาวนานกว่า 1,300 ปี (สมัยพระบรมราชากู่แก้วเป็นเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร) และถึงแม้จะมีเนื้อที่เพียง 3 ไร่เศษ แต่ก็มีการสร้างประตูโขงมากถึง 11แห่ง โดยแต่แห่งผู้สร้างมักจะเป็นคหบดีใหญ่ของจังหวัด

และนอกจากวัดโอกาสจะมีงานบุญสรงน้ำพระติ้ว พระเทียม ในทุกปีของเทศกาลวันวิสาขบูชาแล้ว ยังมีบุญเดือน 7 หรือ บุญซำฺฮะ(ชำระ) ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นอีสาน ฮีต 12 ครอง(คอง) 14 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน เทศบาลเมืองนครพนมโดยนายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรี ได้จัดงานบุญซำฮะเมือง

ส่วนคำว่า“ซำฮะ” หมายถึง การชำระนั่นเอง มีความหมายว่า ต้องการให้ชำระล้างสิ่งสกปรกรุงรังให้สะอาดปราศจากมลทิน แต่การซำฮะในที่นี้มีอยู่ 2 อย่างคือ 1.การชำระความสกปรกภายนอก ได้แก่ร่างกายเสื้อผ้า อาหารการกิน ตลอดจนที่อยู่อาศัย และ 2.การชำระความสกปรกภายใน ได้แก่จิตใจเกิดความโลภ โกรธ หลง

พิธีนี้ชาวบ้านจะปลูกปะรำพิธีขึ้นกลางหมู่บ้านหรือจะเอาศาลากลางบ้านก็ได้ แต่ทุกเรือนจะต้องเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน ขันน้ำ ไหมหลอด ฝ้ายผูกแขน หินแฮ่(กรวด)ทรายมารวมกัน ณ ปะรำพิธี พอเวลากลางคืนนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาต หลังจากที่พระสงฆ์ฉันแล้ว จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้แก่ผู้ที่มาในงาน ซึ่งทุกคนจะเอาขันน้ำมนต์ ฝ้ายผูกแขน หินแฮ่(กรวด) ทรายของตนกลับคืนไป เพื่อนำน้ำมนต์ไปรดให้ลูกหลานบ้านเรือนวัวควาย ฝ้ายเอาไปผูกแขนลูกหลาน หินแฮ่ (กรวด) ทรายเอาไปหว่านรอบบ้านเรือน เพื่อให้เกิดความสวัสดิมงคลตลอดปี

สำหรับคำว่า “ประตูโขง” หรือซุ้มประตูโขง เป็นภาษาอีสาน มีลักษณะเป็นซุ้มยอมดอกบัวตูม สันนิษฐานว่า “โขง” หมายถึง “โค้ง” ซึ่งจะเห็นได้จากวงประตูรูปโค้งครึ่งวงกลมเชื่อว่าประตูโขงคงพัฒนามาจากทวารโตรณะ(Drava Torana) ของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกทางเข้าพุทธสถาน ประตูโขงมีลักษณะคล้ายปราสาทย่อส่วนซ้อนชั้น ส่วนหลายสุดเป็นยอดแหลม ซึ่งตามความหมายของคำว่า“ปราสาท” จะเห็นได้จากเหนือชั้นหลังคาเอนลาดจะสร้างปราสาทย่อส่วนซ้อนขึ้นไป ที่องค์ปราสาทจะมีซุ้มโค้งประดับ ในศิลปะอินเดียเรียกซุ้มโค้งนี้ว่า “กุฑุ(Kudu)” อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสวรรค์ชั้นฟ้า คือเขาไกรลาส ที่ประทับแห่งพระศิวะ หรือเขาพระสุเมรุศูนย์กลางแห่งจักรวาล


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"