"สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง" ข้อคิดจาก อ.สง่า ดามาพงษ์


เพิ่มเพื่อน    

 

 

      หน้าเด็กกว่าวัยจนหนุ่มๆ หลายคนอดไม่ได้ที่จะอยากรู้เคล็ดลับการดูแลสุขภาพของ อ.สง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการวัยเก๋า ที่ให้ทายอายุเท่าไหร่ก็ทายไม่ถูก แต่งานนี้เจ้าตัวแง้มว่าใกล้เลข 7 เข้าไปทุกขณะจิต แต่ลุคส์ที่ดูอ่อนกว่าวัยของที่ปรึกษากรมอนามัยไม่ได้มาเนรมิตมาในพริบตา แต่ทว่าเจ้าตัวเริ่มดูแลสุขภาพตั้งวัยเลข 3 เพราะอยากเห็นตัวเองในอายุ 60 ปี เป็นคนวัยเก๋าที่มีสุขภาพดีปราศจากโรคภัย และปัจจุบันแม้อายุใกล้หลัก 7 อ.สง่าบอกให้ฟังว่า ไม่มีโรคประจำตัวแต่อย่างใด โดยเฉพาะกลุ่มของ “โรค NCDs” (โรคเอ็นซีดี) อย่าง โรคเบาหวาน, ความดันโลหิต, โรคอ้วนลุงพุง ฯลฯ ส่วนหนึ่งเพราะการตื่นตัวในการดูสุขภาพตั้งแต่วัยเยาว์ ตลอดจนความรู้ด้านจากการทำงานโภชนาการที่เป็นเคล็ดลับสุขภาพดี ซึ่ง อ.สง่า ให้คำจำกัดความว่า “ดอกเบี้ยชีวิต”

(อ.สง่า ดามาพงษ์)

      อ.สง่า บอกผ่านเสียงตามสายว่า อันที่จริงแล้วเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพของตัวเองนั้น เริ่มตั้งแต่ตอนอายุ 30 ปี เพราะถ้าหากเราเริ่มหันมาดูแลสุขภาพ เมื่อตอนอายุ 60 ปีนั้น อาจจะไม่ทันการณ์แล้ว สำหรับผมบอกกับตัวเองตั้งแต่ตอนอายุเข้าเลข 3 ว่า ถ้านาย “สง่า ดามาพงษ์” อายุ 60 เขาจะต้องไม่แก่มาก และต้องไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ เพราะเขาไม่อยากเป็นภาระให้ลูกหลาน ซึ่งผมมีลูก 1 คน กระทั่งตอนนี้อายุใกล้ 70 ปีแล้ว และผมยังตั้งเป้าหมายไว้ว่า ถ้าตัวเองอายุ 60 ปีเมื่อไหร่ ก็จะเอาเงินบำนาญไปเที่ยว และเมื่อเราบอกคนอื่นได้ เราก็ต้องทำให้ได้เช่นกัน 

      “ผมไม่มีโรคประจำตัวอะไรเลยครับ ไม่ว่าจะเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง เพราะผมเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่อายุ 30 ปีครับ ส่วนหนึ่งไม่อยากเป็นภาระลูกหลาน เนื่องจากมีลูกคนเดียว และโชคดีว่าผมเป็นคนสุขภาพดี ส่วนหนึ่งเพราะเป็นนักโภชนาการ เราจึงมีความรู้ในการดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องของการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม ตลอดจนการสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง เพื่อให้เราหันกลับดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและไม่เจ็บป่วย ผมเชื่อว่าคนทุกคนนั้นมีแผนที่ 2 ในชีวิตเสมอ เพียงแต่ว่ายังไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ หรือบางคนก็ยังไม่เคยวาดภาพตัวเอง เมื่อตอนที่เรามีอายุมากขึ้น ถ้าเราอยากให้ตัวเองเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงควรเริ่มวางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ อย่ารอให้ตัวเองอายุเยอะแล้วค่อยดูแล

      สำหรับผมได้คิดไว้แล้วว่า ตอนอายุ 60 ปี สุขภาพของผมจะเป็นอย่างไร และจะใช้ชีวิตแบบไหน เมื่อมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และดูแลสุขภาพแล้ว ผมก็ทำตามที่ได้ปักหมุดเอาไว้ ที่สำคัญก็จะสลัดความเครียดทิ้งไป นอนหลับพักผ่อนวันละ 7 ชั่วโมง หาเวลาว่างอยู่กับเพื่อนๆ บ้าง ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่  และก็ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 วัน ด้วยการเดินเร็วสลับกับจ๊อกกิ้งหน้าบ้าน ไปจนถึงสุดซอย 5 รอบ ก็คิดเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ส่วนอาหารที่ผมรับประทานเป็นประจำ คือ “อาหารไทย” ครับ เน้นเป็นเมนู แกง, ย่าง, อบ, นึ่ง อาหารที่ทอดจะกินน้อย ที่สำคัญจะกินผักให้มาก ถ้าจะให้ระบุเป็นเมนูคือ แกงเลียง, แกงส้ม, น้ำพริก เพราะถ้าเรากินน้ำพริกก็จะได้รับประทานผัก นอกจากนี้ผมก็จะรับประทานส้มตำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง และถ้ามีโอกาสไปเที่ยวทางภาคใต้ ก็จะไม่พลาดกินข้าวยำปักษ์ใต้ เพราะว่าผักจะค่อนข้างเยอะ ซึ่งเคล็ดลับการดูแลสุขภาพของผมที่กล่าวมานั้น ผมเรียกมันว่า “ดอกเบี้ยชีวิต” เราต้องสะสมตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งผมเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี แล้วไล่มาเรื่อยๆ มันก็เหมือนกับการเอาเงินไปฝากธนาคาร พอตอนนี้ผมอายุใกล้ 70 แล้ว ผมก็ดึงดอกเบี้ยชีวิตของผมออกมาใช้ ทำให้ผมไม่เจ็บป่วย เพราะไม่มีโรคประจำตัว และไม่ต้องกินยา ที่สำคัญทุกวันนี้ที่บ้านผมไม่มีตู้ยาครับ”

      การดูแลสุขภาพของ อ.สง่า ว่าน่าสนใจและควรเอาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ที่ไม่ชอบกินผัก ซึ่งต้องทำให้เป็นวินัย ควบคู่กับการเอกเซอร์ไซส์แล้ว การทำงานหลังวัย 60 ปีที่เจ้าตัวให้สโลแกนว่า “การทำงานคือชีวิต และทำให้เรามีความสุข โดยเฉพาะการที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น” ก็เป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และทำประโยชน์เพื่อสังคมในสาขาวิชาและความรู้ที่มี

      “ที่ผ่านมาผมทำงานเป็นข้าราชการ ซึ่งก่อนเกษียณได้ทำงานด้านอาหารและโภชนาการของกรมอนามัยมามากว่า 37 ปี รวมถึงยังทำงานเป็นวิทยากรด้านการดูแสสุขภาพ เป็นคอลัมนิสต์ เป็นเจดี กระทั่งตำแหน่งล่าสุดหลังเกษียณ ซึ่งทำอยู่ทุกวันนี้คือ เป็นที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส. ซึ่งปัจจุบันแม้ผมเกษียณแล้วก็ยังทำงานอยู่ทุกวัน และมากขึ้นกว่าเดิม เพราะว่างานที่ทำตอนนี้ค่อนข้างสนุกและเป็นอิสระ ซึ่งก่อนหน้านี้เราทำงานราชการ ส่วนหนึ่งก็ทำเพื่อเจ้านาย เพื่อผู้อื่น ที่สำคัญก็มักจะเกิดความกดดันขณะที่ทำงาน แต่ตอนนี้เราทำงานโดยไม่จำเป็นกังวลเรื่องรายได้ และความกดดันต่างๆ และไม่ต้องเอาตำแหน่ง ซึ่งตอนนี้เราทำงานในลักษณะของการแบ่งปันข้อมูล ในด้านของโภชนาการ และการมีสุขภาพดีไปสู่ผู้อื่น”

      เกริ่นไปตอนต้นว่า อ.สง่า มีลูกคนเดียว สำหรับสิ่งที่อยากบอกลูกคงไม่มี เพราะทุกวันนี้สอนลูกโดยการทำเป็นตัวอย่างให้เขาดู เพื่อให้ลูกทำตาม พูดง่ายๆ ว่าเป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้ลูกเห็น เพื่อให้เขาทำตาม

        “ดอกเบี้ยชีวิต” ยิ่งทำยิ่งมีต้นทุนชีวิตสำรองไว้ใช้ในยามอายุมาก โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่ถามหาคนใส่ใจการดูแลสุขภาพ...เห็นด้วยไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"