กทม.จับมือบัตรทองเขต13 ตั้งคลินิกตรวจสุขภาพฟรี 11รายการให้ผู้สูงอายุ 


เพิ่มเพื่อน    


23มิ.ย.62-นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม.ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 จัดทำโครงการคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อขยายการคัดกรอง และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ กทม.ให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงขอเชิญชวนผู้สูงอายุและญาติที่มีผู้สูงอายุในครอบครัว ไปรับบริการในหน่วยบริการที่มีการจัดตั้งคลินิกดังกล่าวได้ฟรีทุกสิทธิ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

นพ.สุขสันต์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ ซึ่งเปิดดำเนินการอยู่ใน 9 โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กทม. อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ กทม.มีประชากรหนาแน่น คาดว่ามีทั้งประชากรตามทะเบียนราษฏรและประชากรแฝงในพื้นที่กว่า 10-12 ล้านคน และจากการสำรวจสำมะโนประชากรผู้สูงอายุพบว่ามีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีประมาณ 17% หรือ 1 ล้านคน ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุครอบคลุมมากขึ้น ทาง กทม.จึงได้หารือกับ สปสช.เขต 13 เพื่อขยายการดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุและงบประมาณในการดำเนินการ ภายใต้ชื่อโครงการคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร

ทั้งนี้ เดิมที สปสช.เขต 13 กทม.มีงบประมาณส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับตรวจคัดกรองผู้สูงอายุอยู่แล้ว 8 รายการ คือ 1.การตรวจสุขภาพ 2.เจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดระดับเม็ดเลือด ระดับไขมัน 3.วัดภาวะความซึมเศร้า 4.วัดภาวะสมองเสื่อม 5.ดูเรื่องโภชนาการ 6.ประเมินการใช้ชีวิตประจำวันหรือ ADL 7.ประเมินเรื่องการใช้ยา และ 8.ประเมินภาวะกระดูกพรุน

ขณะที่ กทม.เห็นว่ายังมีรายการตรวจคัดกรองที่สำคัญอีก 2-3 รายการ ดังนั้นคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรจะมีรายการตรวจเพิ่มขึ้นมาอีก 3 รายการ คือ 1.การคัดกรองภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 2.การวัดภาวะพลัดตกหกล้ม และ 3.ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพไม่น้อยกว่า 3 สาขา เช่น เป็นโรคควรทำอย่างไร ไม่เป็นโรคควรทำอย่างไร โดยคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรนี้จะให้บริการตรวจคัดกรองทั้ง 11 รายการแบบ One Stop Service จุดเดียวเบ็ดเสร็จ และ 3 รายการที่เพิ่มขึ้นมานี้ทางหน่วยบริการสามารถเบิกงบ On top จาก 8 รายการเดิมได้ ซึ่งเชื่อว่าการมีงบประมาณสนับสนุนจาก สปสช. จะเป็นแรงขับดันอย่างหนึ่งที่ทำให้หน่วยบริการสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น

นพ.สุขสันต์ กล่าวว่า ในปีนี้มีหน่วยบริการเข้าร่วมโครงการแล้วประกอบด้วยโรงพยาบาล 24 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุขของสำนักอนามัย กทม.อีก 30 แห่ง ตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะสามารถตรวจคัดกรองผู้สูงอายุได้ 10,000 ราย โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ของ สปสช. เขต 13 และจะนำรายชื่อขึ้นอัพเดทในเว็บไซต์ของสำนักการแพทย์ต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้ารับบริการสามารถความจำนงค์ได้ที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุข ทางหน่วยบริการจะทำบัตรและให้เข้ารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุครบวงจรโดยคัดกรองตามรายการทั้ง 11 รายการ หากต้องมีการรักษาพยาบาลเกิดขึ้นก็จะเข้าสู่กระบวนการเบิกจ่ายตามสิทธิ หรือกรณีที่ต้องส่งต่อและโรงพยาบาลตามสิทธิไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล ก็สามารถส่งต่อไปอีกเครือข่ายหนึ่งของกทม. ที่มีชื่อว่าโครงการกทม.ใส่ใจผู้สูงวัยหัวใจแกร่ง ซึ่งมี 14 โรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ ทำให้ง่ายต่อการส่งต่อ แทนที่จะส่งต่อในระบบของ สปสช.เท่านั้น ก็สามารถส่งในโซนนิ่งทั้ง 14 โรงพยาบาลนี้ได้ด้วย

นพ.สุขสันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินงานในปีต่อไป จะขยายใน 2 ประเด็น คือ 1.ขยายฐานการคัดกรองผู้สูงอายุโดยจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรให้มากขึ้น ปัจจุบันในพื้นที่ กทม.มีโรงพยาบาล 156 แห่งและศูนย์บริการสาธารณสุขอีก 68 แห่ง ปีต่อไปตั้งเป้าเพิ่มโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเป็น 40 แห่งและจัดตั้งให้ครบทั้ง 68 ศูนย์บริการสาธารณสุข ตลอดจนขยายไปในคลินิกชุมชนอบอุ่นของ สปสช. เขต 13 ซึ่งปัจจุบันมี 200 กว่าคลินิก

2.การขยายในเรื่องการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ตั้งแต่ อสส. พยาบาล Care Giver รวมทั้งแพทย์และพยาบาลใน 5 เรื่องหลักๆ คือการป้องกันภาวะสมองเสื่อม เรื่องการใช้ยา ภาวะทุพโภชนาการ การพลัดตกหกล้ม และข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ขณะที่สำนักการแพทย์เองก็จะจัดตั้ง Excellence Center ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อให้ความรู้และรับส่งต่อกรณีเคสยากๆ ต่อไป

"ขอเชิญพี่น้องผู้สูงอายุในพื้นที่ กทม.มารับบริการตรวจคัดกรองในคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร เพราะถ้าเราทราบตั้งแต่ต้นก็จะทำให้สามารถป้องกันโรคที่จะเกิดในอนาคต หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงแล้ว หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีโรค รวมทั้งที่พบบ่อยคือภาวะสมองเสื่อมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ โรค การมารับบริการตรวจคัดกรองสุขภาพจะทำให้ทราบว่าตัวเองมีคุณภาพชีวิตอย่างไร มีความเสี่ยงอย่างไร ทางแพทย์และพยาบาลก็จะให้คำแนะนำในการป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงลุกลาม และถ้าพบโรคก็จะส่งไปรักษาตั้นแต่ต้นไม่ให้โรคลุกลามขึ้น" นพ.สุขสันต์ กล่าว

นพ.สุขสันต์ ย้ำว่า ถ้าร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยลดภาระต่างๆ ได้มาก แต่ถ้ารอเป็นโรค ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายและที่สำคัญคือต้องหาคนมาดูแล ถ้าไม่มีคนก็ต้องจ้างซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก หรือต้องไปนอนโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายเยอะแยะเช่นกัน ความเครียดก็ตามมาเต็มไปหมด ดังนั้นมาคัดกรองและป้องกันไว้ตั้งแต่ต้นดีกว่า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"