อีอีซีบูมไทย-เทศแห่ลงทุน


เพิ่มเพื่อน    

        "สงครามการค้าที่เกิดขึ้น มองว่าน่าจะเป็นผลบวกกับการลงทุนไทย เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าไปยังประเทศต่างๆ หลีกเลี่ยงการตอบโตทางการค้า เพราะไทยไม่ได้เป็นศัตรูทางการค้ากับทุกฝ่าย ทำให้ที่ผ่านมานักลงทุนทั้งจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน ต่างการเข้ามาขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น"

 

        จากวิกฤติสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนนั้น ทำให้นักลงทุนทั่วโลกมีความกังวล และภายใต้ความกังวลนั้นก็ถือว่าเป็นอานิสงส์กับประเทศไทย เพราะมีนักลงทุนจากประเทศจีนจำนวนมากที่สนใจและหันมาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ใน 3 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

5 เดือนขอ BOI ในอีอีซีทะลัก

      นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า นายทองชัยเปิดเผยว่ายอดการขอตั้งโรงงานใหม่ และขยายโรงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ชลบุรี, ระยอง และฉะเชิงเทรา ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) พบมียอดขอประกอบและขยายกิจการโรงงานสูงถึง 209 โครงการ มีเงินลงทุน 63,651 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีเงินลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 320% และสูงกว่าในปี 2560 ที่มีเงินลงทุน 2.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง

        โดยโรงงานที่เข้าไปขอประกอบกิจการใหม่ และขยายกิจการในพื้นที่อีอีซีรอบ 5 เดือนแรก ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มี 39 โครงการ ยอดเงินลงทุน 16,133 ล้านบาท สูงกว่ายอดรวมทั้งปีในปี 2561 ที่มี 50 โครงการ ยอดเงินลงทุน 5,432 ล้านบาท และในปี 2560 ที่มี 51 โครงการ เงินลงทุน 12,497 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ขอประกอบกิจการใหม่และขยายกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 13,031 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 2,599 ล้านบาท อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และแขนกล 170 ล้านบาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ 170 ล้านบาท และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 162 ล้านบาท 

        นายทองชัย กล่าวว่า เมื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การลงทุนจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซีของปีนี้ น่าจะมียอดเงินลงทุนเกิดขึ้นได้ราว 1 แสนล้านบาท ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดเป้าหมายไว้ได้ เพราะประเมินได้จากยอดการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ  ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2562 จำนวน 1,126 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนราว 7.9 แสนล้านบาท จะทยอยมาขอรับประกอบกิจการและขยายกิจการโรงงาน

        “การลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีของรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาขอรับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นจำนวนมาก ว่าในช่วง 1-2 ปีแรกที่นักลงทุนใช้เวลาในการพิจารณารายละเอียดโครงการ จากนั้นก็ตัดสินใจลงทุน ทำให้เกิดการลงทุนจริงเป็นจำนวนมากในปี 2562 นี้ และคาดว่าปี 2563 การลงทุนประกอบกิจการใหม่และขยายกิจการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีนี้”

      นายทองชัยกล่าวว่า สำหรับยอดการขอประกอบกิจการและขยายกิจการโรงงานทั่วประเทศในรอบ 5 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) มียอดเงินลงทุนกว่า 1.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการตั้งกิจการใหม่ 9.7 หมื่นล้านบาท และขยายกิจการโรงงาน 7.3 หมื่นล้านบาท คาดว่ายอดรวมทั้งปี 2562 จะมีมูลค่าการลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท ส่วนสงครามการค้าที่เกิดขึ้น มองว่าน่าจะเป็นผลบวกกับการลงทุนไทย เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าไปยังประเทศต่างๆ หลีกเลี่ยงการตอบโต้ทางการค้า เพราะไทยไม่ได้เป็นศัตรูทางการค้ากับทุกฝ่าย ทำให้ที่ผ่านมานักลงทุนทั้งจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน ต่างเข้ามาขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น

        อย่างไรก็ตาม ในส่วนสงครามการค้าที่เกิดขึ้น มองว่าน่าจะเป็นผลบวกกับการลงทุนไทย เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าไปยังประเทศต่างๆ หลีกเลี่ยงการตอบโต้ทางการค้า เพราะไทยไม่ได้เป็นศัตรูทางการค้ากับทุกฝ่าย ทำให้ที่ผ่านมานักลงทุนทั้งจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน ต่างจากการเข้ามาขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น

      นายทองชัย กล่าวว่า แม้จะมีการลงทุนตั้งโรงงานในพื้นที่อีอีซีเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง จะดำเนินการผลิตแบบเซอร์คูลาร์อีโคโนมี หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนมากที่สุด ทำให้มีกากอุตสาหกรรมเหลือทิ้งน้อยมาก

        รวมทั้งในปัจจุบันก็เกิดธุรกิจกำจัดกากอุตสาหกรรมเพิ่มมากกว่าในอดีต จนมีจำนวนเพียงพอที่จะรองรับกากอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันกรมโรงงานอุตสาหกรรมก็เพิ่มความเข้มงวดในการกำจัดกากอุตสาหกรรม  โดยล่าสุดได้ติดระบบจีพีเอส กับรถขนส่งกากอุตสาหกรรมไปแล้วกว่า 900 คัน และจะทยอยติดตั้งให้ครบทั้ง 4 พันคันในเร็วๆ นี้ ทำให้กรมสามารถเข้มงวดการขนส่งกากอุตสาหกรรม ตั้งแต่โรงงานกำเนินกาก ไปจนถึงโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม ไม่สามารถจะออกนอกเส้นทางไปลักลอบทิ้งในที่สาธารณะได้ และยังทำให้รู้ถึงปริมาณกากอุตสาหกรรมที่อยู่ในโรงงานแต่ละแห่งแบบเรียลไทม์

 

ตั้งศูนย์เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม

        นอกจากนี้ กรมโรงงานมีแผนที่จะยกระดับศูนย์ตรวจวัดคุณภาพน้ำและอากาศที่ จ.ชลบุรี ให้ เป็นศูนย์เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  หรือศูนย์อีอีซีไออี โดยในระยะที่ 1 (ปี 2562-2563) จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นถึงความเหมาะสมโครงการจัดตั้งศูนย์อีอีซีไออี ระยะที่ 2 (ปี 2563-2564) การก่อสร้างอาคารส่วนที่ 1 การกับกับดูแลสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และวัตถุอันตรายในภาคอุตสาหกรรม

        ร่วมถึงตั้งศูนย์ข้อมูลและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูลด้านความปลอดภัย และศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งส่วนสนับสนุนการจัดการของเสียอันตราย ส่วนติดตามการขนส่งของเสีย และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในการลักลอบทิ้ง และหน่วยปฏิบัติการพิเศษด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วซึ่งมีสถานีตรวจวัดมลพิษเคลื่อนที่ รถฉุกเฉิน พร้อมเครื่องมือวัดเก็บตัวอย่างที่ทันสมัย และระยะที่ 3 (ปี 2564-2565) การก่อสร้างอาคารศูนย์ประชุม ฝึกอบรม แสดงนิทรรศการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี

      นายทองชัย กล่าวว่า อีอีซีคือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์พัฒนาประเทศ 20 ปี ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐต้องการผลักดันมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยตามแนวทางประเทศไทย 4.0 (ไทยแลนด์ 4.0) และพัฒนาไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม จนหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง, กับดักความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนากรมโรงงานอุตสาหกรรม ถึงมีแนวทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย 4.0 นั้นจะมี 3 แนวทางใหญ่ ประกอบด้วย

        แนวทางแรก จะพัฒนากลไกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการยกระดับผลิตภาพ โดยมีเป้าหมายปรับเปลี่ยนประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง เช่น การผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันในการยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย พร้อมทั้งเพิ่มความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกันตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 และเตรียมการวางแผนความร่วมมือด้านการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจพื้นฐาน และร่วมเป็นสื่อกลางในการให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมได้

        ส่วนแนวทางที่ 2 จะเป็นกลไกขับเคลื่อนให้คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ การสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียม เช่น การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ การส่งเสริมและสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และการสร้างแรงงานที่มีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง      ในอนาคต

        ขณะที่ แนวทางที่ 3 ได้เร่งให้มีการส่งเสริมกลไกขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ พร้อมทั้งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม หรือซีเอสอาร์ การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการลดของเสีย และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

        อย่างไรก็ตาม กรอ.จะส่งเสริมให้โรงงานมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยุคดิจิตอล และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบกิจการโรงงานในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มผลผลิตโดยให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดของเสียและมลพิษต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่เกิดขึ้น และเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้โรงงานเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) พร้อมยกระดับเอสเอ็มอีผ่านกลไกศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

        นายทองชัย กล่าวว่า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการพัฒนาจัดทำระบบออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ไลเซนส์) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ซึ่งเป็นระบบการออกใบอนุญาตแบบออนไลน์ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ และสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน คาดว่าระบบอี-ไลเซนส์จะสามารถนำมาใช้เป็นรูปธรรมได้ภายในปี 63 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"