"มก."ประกาศปรับตัว จะเป็นมหา'ลัย รวมศาสตร์ทุกอย่างของประเทศ เติมเต็มช่องว่างแรงงานกว่า 40 ล้านที่ยังไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี


เพิ่มเพื่อน    

26มิ.ย.62- ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน - มก.ได้จัดการประชุมสัมมนาอาจารย์ มก. ประจำปี 2562 ภายใต้หัวข้อ Digital Education and Learning for the Future โดยนายจงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มก. กล่าวเปิดการประชุม พร้อมทั้งมอบนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยตอนหนึ่งว่า ดิจิทัลถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งเกิดจากดิจิทัลเป็นสาเหตุหลัก อย่างเช่น ประเทศจีนที่ระบบออนไลน์มีความแข็งแรงมาก ขณะนี้คนไม่เดินถนนแล้ว อยู่บ้านสั่งของผ่านระบบออนไลน์ ดังนั้น  โลกดิจิทัลจะเข้ามาอย่างแน่นอน การเรียนผ่านระบบดิจิทัล การใช้ดิจิทัลเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเข้ามาในอีกไม่นาน และผู้เรียนจะไม่เข้ามาที่มหาวิทยาลัย ดังนั้นมหาวิทยาลัยไทยจะแข่งขันอย่างไรคงต้องมาช่วยกันคิด ว่า มีองค์ความรู้ใดขอประเทศที่ไม่สามารถค้นหาได้จากระบบออนไลน์ ต้องดึงมาใช้และสามารถพัฒนาหลักสูตรแบบใหม่ๆ ได้อย่างไร สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน 
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มก.สามารถดำเนินงานได้ดีในทุกภารกิจ แต่เราจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในทุกภารกิจ แม้จะไม่ใช่มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในใจคน อีกทั้งปีนี้มีเด็กเลือกเข้าศึกษาต่อ มก. 17,000 คน ถือว่าเยอะมาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่ผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ปีการศึกษา 2562 อีกทั้งในส่วนของโครงการเรียนล่วงหน้าของ มก. ก็พบว่ามีผู้ลงทะเบียนจำนวนกว่า 700 คน มากขึ้นจากเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากสามารถผ่านระบบออนไลน์ได้

นายจงรัก กล่าวต่อว่า มก. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 12 ปี ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ร่วมศาสตร์ของแผ่นดิน    โดยการสร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดินให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล การพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทำน้อยให้ได้มากควรทำอย่างไร และรักษาหลักธรรมาภิบาล ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 
นอกจากนี้ มก. ยังมุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์และนักวิจัย ได้เพิ่มพูน ทักษะ ความรู้ ความสามารถและศักยภาพให้เท่าทันต่อความเป็นไปของโลก อีกทั้งยังต้องปรับการเรียนในรูปแบบภาคบังคับ เป็นการเรียนที่เกิดจากการอยากรู้ อยากเป็น อยากทำ เพราะไม่มีอะไรสำเร็จรูป ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าเราสามารถสอนให้นิสิตสามารถคิดได้ตลอดเวลา ก็จะทำให้เขาสามารถที่จะทันโลกอยู่ตลอดเวลาได้ เปลี่ยนจากการเรียนเพื่อรู้ เป็นเรียนเพื่อการใช้ประโยชน์ ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันคิดในเรื่องนี้ อีกทั้งในปัจจุบันจำนวนประชากรในวัยเรียนลดลง มีเด็กเข้าระบบ TCAS เพียง 2 แสนคน ที่นั่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่างจำนวนมาก แต่ตนคิดว่า สิ่งที่สำคัญในตอนนี้ คือ คนในวัยทำงาน ที่มีประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งไม่ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ได้รับการพัฒนาจึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาทักษะ ยกระดับคุณภาพคนกลุ่มนี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องหาแนวทางกระตุ้นให้คนกลุ่มนี้ตื่นตัว และอยากจะเข้ามาสู่ระบบมหาวิทยาลัย และระบบออนไลน์จะสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้

“นอกจากนี้ผมยังคิดหากเราต้องการที่จะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก เรื่องที่สำคัญ คือ เราจะต้องสร้างเครือข่ายกับประเทศต่างๆ ให้มากขึ้น รวมถึงต้องทำหลักสูตรให้มีความเป็นสากล ทำหลักสูตรนานาชาติ เพื่อรองรับนิสิตต่างชาติ ผมอยากให้ มก.เป็นตัวอย่าง นิสิตทุกคนสามารถใช้ทักษะด้านดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยก็จะต้องเป็นดิจิทัล”รักษาการอธิการ มก.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"