“ผ้าเปลี่ยนโลก” สืบสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

 

   "ผ้าทอไทย" เป็นศิลปวิทยาการ ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษที่ถูกส่งต่อและตกทอดมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน ผ้าทอแต่ละผืนแฝงไว้ด้วยเรื่องราวความเป็นมา ความคิด ความเชื่อ และจินตนาการของผู้ทอเอาไว้ การสวมใส่ผ้าทอที่เป็นการทอมือจึงเป็นความน่าภาคภูมิใจ
    เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ 19 ธุรกิจเพื่อสังคมกลุ่มหัตถกรรมทอมือ จัดงาน SET Social Impact Fair 2019 ผ้าเปลี่ยนโลก @MBK Center ปี 2 ที่นำผ้าทอในประเทศไทย 19 ร้านที่มีเรื่องราว มีดีไซน์น่าสนใจ และโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น มาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เลือกซื้อ เพื่อเป็นการสนับสนุนช่องทางจำหน่าย ณ ลาน center hall ชั้น G โซน B ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

 

ชุดจากผ้าทอ เอกลักษณ์โดดเด่น สวมใส่สบาย

    นางสาวนพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กล่าวว่า งานนี้นับว่าจัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจในการนำเสนอสินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคก็จะได้มีโอกาสซื้อสินค้าที่มีคุณค่าในการได้เลือกสินค้าประเภทผ้า เพราะถือว่าเป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาชุมชน สามารถตอบโจทย์และยังเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมและชุมชนได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือสืบสานความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ตลอดจนสร้างทักษะอาชีพให้กับผู้ป่วยออทิสติก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ต้องขัง ซึ่งงานตรงนี้ก็คาดว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
    นอกจากนี้ยังมีการเดินแบบชุดผ้าทอที่จำหน่ายภายในงาน ซึ่งเป็นเสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้ทุกโอกาส หลากหลายสไตล์ มีการสาธิตการสาวไหม กิจกรรมเวิร์กช็อปต่างๆ วันแรกมีการสอนทำพวงมาลัยกรจากผ้าขาวม้า, ที่รองแก้วจากผ้าพิมพ์, ที่บีบมือบริหารกล้ามเนื้อ, ผ้าเขียนลาย ชุมชนบ้านปึก จ.ชลบุรี, กุญแจมือ, ที่รัดผมดอกทิวลิป และการแสดงดนตรีไทยสากลประยุกต์
    ร้านที่จำหน่ายผ้าทอมีทั้งหมด19 ร้าน อาทิ ร้าน Heartist (ฮาร์ททิส) แบรนด์กระเป๋าผ้าที่ได้จากการทอเพื่อบำบัดของเด็กพิเศษ วิศรุตา ไม้สังข์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์เล่าว่า กลุ่มทอผ้านี้เกิดจากการร่วมตัวกันของเด็กและแม่ของเด็กที่เป็นออทิสติก โดยร้านตั้งอยู่ที่โครงการอรุโณทัยเพื่อบุคคลพิเศษ และโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จ.อุบลราชธานี มีผู้เข้ารับการบำบัดทั้ง 2 แห่ง รวม 30 คน และการการบำบัด 1 ครั้งใช้เงินค่อนข้างเยอะ ดังนั้นจึงหาสิ่งที่ทำให้เข้ามีสมาธิ อยู่กับปัจจุบัน โฟกัสในสิ่งที่ทำ และเข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็คือการทอผ้า เพราะทุกขั้นตอนของการทอสามารถทำให้เขามีสมาธิ และการดูแลจากผู้สอนก็ช่วยให้เด็กเกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

 


    ปิลันธน์ ไทยสรวง เจ้าของร้านภูคราม เล่าว่า พื้นเพเป็นคนภูพาน จ.สกลนคร ทำงานด้านประวัติศาสตร์ในชุมชน รู้สึกว่าอยากกลับมาอยู่บ้าน และตั้งใจอยากทำให้หมู่บ้านภูพานพัฒนา ด้วยการใช้ผ้าเป็นเครื่องมือ เพราะคนอีสานส่วนใหญ่มีทักษะเรื่องการทำผ้า ปลูกฝ้าย ในสมัยก่อนบ้านทุกหลังต้องมีกี่ทอผ้าด้วยมือเพื่อใช้ในครัวเรือน แต่ก็มีช่วงที่ห่างหายไป ดังนั้นในการกลับมาฟื้นฟูและอนุรักษ์การทอผ้าก็เป็นเพราะศักยภาพและชุมชนด้วย สิ่งที่อยากบอกในงานผ้าของร้านภูครามคือ ธรรมชาติ ป่า วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่นำมาทอเป็นลายบนเสื้อผ้า
    อาภาณัฏฐ์ อภิชิต เจ้าของร้านลินิน เล่าว่า ผ้าลินินเกิดจากการย้อมสีธรรมชาติ ไม่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการย้อมจึงทำให้ผลิตได้จำนวนไม่มาก ส่วนเสื้อผ้าที่ทำจะออกแบบเองและมีช่างการตัดเย็บ ช่างหนึ่งคนอาจจะตัดเย็บผ้าได้ 1 ชุดต่อวัน ไม่ได้ผลิตจำนวนมาก เพื่อป้องกันการขายไม่หมดจนกลายเป็นขยะในท้องตลาด ซึ่งลูกค้ามีความสุขในการเลือกซื้อและเข้าใจจุดประสงค์ของทางร้าน

 

พวงมาลัยกรผ้าขาวม้า 

    และยังมีร้าน Folkcharm (โฟล์คชาร์ม) ผ้าฝ้ายและผ้าไหมธรรมชาติทอมือย้อมสีธรรมชาติที่มีความเรียบง่าย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า กระเป๋า และเครื่องประดับ ร้าน Yano (ยาโน) ผ้าทอมือโดยอาศัยหลักการ Eco Friendly Design รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานที่มีกลิ่นอายวัฒนธรรมผสมผสาน นำวัตถุดิบและความเป็นพื้นเมืองทางภาคเหนือมาประยุกต์เป็นรูปแบบร่วมสมัย เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้สวมใส่ได้หลายโอกาส ร้าน Larinn (ลริน) ผ้าทอลายไทยๆ ผสมผสานกับการออกแบบทันสมัย ตัดเย็บเป็นรองเท้า หรือผ้าทอร้าน Craft de Quarr (คราฟท์เดอคัวร์) ที่มุ่งแก้ไขปัญหางานหัตถศิลป์จากชนเผ่าต่างๆ ที่เริ่มหายไป โดยทำงานร่วมกันระหว่างดีไซเนอร์ท้องถิ่นกับผู้ผลิตในชุมชนในการรังสรรค์ผลงานที่มีรูปแบบทันสมัยขึ้น
    ร้าน Local Alike (โลเคิลอไลค์) ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงคุณค่าและประสบการณ์ชุมชนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ร้าน P’liv การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ Lifestyle product ทำให้ชาวบ้านมีความใส่ใจ เชื่อมั่น ภูมิใจในรากเหง้าของตัวเอง และมีรายได้มากขึ้น ร้าน Mann Craft (แมนคราฟท์) สืบสานและสร้างสรรค์การทอผ้าและการย้อมสีธรรมชาติ ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน จ.สกลนคร ร้าน Art Story by ออทิสติกไทย ธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่มผู้เปราะบางที่ร่วมกันรังสรรค์จากพรสวรรค์และจินตนาการ ผ่านภาพลายเส้นเป็นผลงานศิลปะสู่ผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ อาทิ หมวก เสื้อ กระเป๋า ผ้าพันคอ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิออทิสติกไทย
    ร้าน forOldy โครงการเพื่อผู้สูงอายุที่ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มจิตอาสากลุ่มเล็กๆ ร้านประชารัฐโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย การพัฒนาคุณภาพเพิ่มเทคนิคต่างๆ และแปรรูปผ้าขาวม้าทอมือให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ร้านรวยบุญเกิดขึ้นด้วยแรงบันดาลใจของพี่น้องและแม่ๆ ผู้สูงวัยในชุมชนของ จ.น่าน ร้าน Happy Farmer ผ้าฝ้ายทอมือสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องเขียน กระเป๋า สมุดใส่พาสปอร์ต กระเป๋าถือ จากกลุ่มสตรีเชียงใหม่ สู่ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มสตรีชาวปกาเกอะญอ ร่วมกับ Happy Farmers ช่วยสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชาวปกาเกอะญอแห่งบ้านทุ่งต้นงิ้ว อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ร้าน Indy Eko ที่ใช้สีย้อมจากธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้สัมผัสถึงความนุ่มสบายและปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าไทยสวมใส่เท่ห์ ทันสมัย


    ร้าน Fabric Art (แฟบริคอาร์ต) ศิลปะฝาผนังผ้าไทยประดิษฐ์ (โอชิเอะ) นำเศษผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายที่เหลือจากการเย็บผ้ามาตัดเป็นรูปทรงตามต้องการ แล้ววางลงบนฟองน้ำที่ตัดเป็นรูปเดียวกัน เกิดเป็นแมกเนตจากงานผ้าและฟองน้ำที่มีมิติ เพิ่มคุณค่างานหัตถกรรมท้องถิ่น ร้าน CooPure (คูเพียว) ผ้ามัดย้อมด้วยเทคนิคชิโบริ (Shibori) ป้องกันสีย้อมไม่ให้ซึมบนผืนผ้าด้วยการออกแบบและสร้างสรรค์อย่างเป็นขั้นตอน ร้านบาติกเดอนารา (Batik de Nara) ผ้าบาติกย้อมเทียนฝีมือชาวบ้านกลุ่มหนึ่งใน จ.นราธิวาส.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"