(อรชร โวทวี)
ผู้สูงอายุติดโซเชียลมักพบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเพียงลำพัง หรือตามสถานที่นั่งพักผ่อนต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า หรือบริเวณจัดงานออกบูธจัดแสดงสินค้าขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบันเห็นคนวัยเก๋านั่งจิ้มโทรศัพท์มือถือกันอย่างเพลิดเพลิน จริงอยู่ที่โซเชียลเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเหงา ความซึมเศร้าในคนสูงวัยยามที่ลูกหลานออกไปทำงานนอกบ้าน แต่การใช้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยเซฟสุขภาพสายตา และการปฏิสัมพันธ์กับลูกหลานให้คงอยู่ พยาบาลวิชาชีพด้านสุขภาพจิต อรชร โวทวี จาก รพ.บางแพ จ.ราชบุรี มาให้คำแนะนำไว้น่าสนใจ
(“ปลูกต้นไม้” กิจกรรมเบรกสายตาหลังจากวัยเก๋าเล่นโซเชียล)
พยาบาลอรชร ให้คำแนะนำว่า “การใช้โซเชียลสำหรับผู้สูงอายุนั้นควรแบ่งใช้เป็นช่วงๆ ไม่ควรเล่นต่อเนื่องทั้งวัน เพราะอาจทำให้สุขภาพตาเสียได้ค่ะ โดยสรุปแล้วผู้สูงอายุไม่ควรเล่นไลน์หรือเฟซบุ๊กเกินครั้งละ 30-1 ชั่วโมง และใน 1 วันไม่ควรใช้โซเชียลเกิน 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ แนะนำว่าระหว่างที่พักจากการเล่นไลน์นั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมอื่นๆทำ เช่น “การปลูกต้นไม้” เพราะจะทำให้ท่านได้พักเบรกสายตาด้วยการมองสีเขียวจากต้นไม้ เพราะในระหว่างที่เล่นมือถือนั้น สายตาของท่านจะได้รับแสงสีฟ้า หรือรังสีจากสมาร์ทโฟน กระทั่งทำให้รู้สึกเมื่อยตานั่นเอง หรือแม้แต่การที่เดินออกจากบ้าน และมองไปยังต้นไม้ในสวนหน้าบ้านไกลๆ ก็สามารถช่วยให้สายตาผ่อนคลายได้เช่นกัน เพราะถ้าหากผู้สูงอายุเลิกเล่นมือถือ แต่ยังนั่งอยู่ในบ้านสายตาก็ยังไม่ได้รับการพักผ่อนอยู่ดี
(จับกลุ่มพูดคุยวิเคราะห์ละครทีวี หรือเรื่องที่สนใจร่วมกัน ไอเดียป้องกันวัยเก๋าเล่นไลน์มากเกินไป)
นอกจากนี้ “การเดินไปคุยกับเพื่อนบ้าน” หลังวางจากสมาร์ทโฟนก็ช่วยได้ทางหนึ่ง และนั่นทำให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังด้วยการเดิน หรือถ้าเป็นไปได้การนัดเพื่อนมาเจอกันที่บ้านในช่วงสายๆ หรือบ่ายๆ ของวันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น “การพูดคุยวิเคราะห์ละครทีวี” เหตุผลที่ว่าทำไมต้องเป็นละครนั้น เพราะถ้าเป็นข่าว ท่านอาจจะมีข้อมูลน้อยในการพูดคุย อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ แต่ถ้าเป็นละครไม่จำเป็นต้องดูเนื้อหาเยอะ แต่ด้วยประสบการณ์ของท่านก็สามารถแสดงความคิดเห็น และนำใช้สอนลูกหลานได้ ซึ่งถ้ามีกิจกรรมชวนพูดคุยตรงนี้เข้ามา ก็จะดีกว่าที่ลูกหลานปล่อยให้ท่านนั่งดูทีวีเพียงลำพัง ซึ่งนั่นถือเป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว
(สอนลูกหลานทำขนมในโรงเรียนใกล้บ้าน กิจกรรมคลายเครียดและสร้างความภูมิใจให้คนวัยเก๋า)
ในส่วนของกิจกรรมเข้าครัวอย่างทำขนมไทยนั้น ถ้าเป็นไปได้ การที่คุณครูที่อยู่ในโรงเรียนละแวกใกล้บ้านเชิญผู้สูงอายุไป “สอนเด็กทำขนมไทยในโรงเรียน” ก็จะดีกว่าการชวนเพื่อนทำขนมกินกันที่บ้าน เพราะว่ากิจกรรมนี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกภูมิใจ ที่ท่านได้ถ่ายทอดเทคนิคด้านการทำขนมที่ไม่เหมือนในตำราหนังสือ เช่น การทำจีบขนมที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ เป็นต้น ที่สำคัญยังเป็นกิจกรรมที่เบรกพักการเล่นโซเชียลของผู้สูงวัยไม่ให้มากจนเกินไป และยังได้พูดคุยกับเด็กๆอย่างสนุกสนาน
หรือแม้แต่การสอดแทรกกิจกรรมหลังเล่นไลน์ อย่างการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่าง “การพับเหรียญโปรยทาน” จากที่ผู้สูงอายุบางคนมีประสบการณ์ ในการพับหรือสานปลาตะเพียนให้ลูกหลานเล่น หรือ “พับดอกกุหลาบ” เพราะงานนี้ถ้าผู้สูงอายุยังสามารถทำได้ นั่นแปลว่าสมองของท่านยังทำงานได้ปกติ และไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะการที่มือสามารถทำงาน ประสานกับสายตา กระทั่งพับเป็นดอกกุหลาบ หรือเหรียญโปรยทานได้สำเร็จค่ะ”
ข้อดีของการเล่นโซเชียลก็มี แต่ข้อเสียก็มีมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเล่นอย่างพอดี และหากิจกรรมยามว่างทำ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุใช้โซเชียล ได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม...เห็นด้วยไหมค่ะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |