เหมาเข่งให้BTS ควักพันล้านต่อปี ค่าโดยสาร65บาท


เพิ่มเพื่อน    

 กทม.ยอมรับ จ่อเหมาเข่งยกสัมปทานรถไฟฟ้าให้ BTS 40 ปี พร้อมควักปีละ 1,000 ล้านบาท  ช่วยรับภาระเอกชนกดราคาค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท ด้าน รฟม.ทดสอบเดินรถถึงสถานีห้าแยกลาดพร้าวฉลุย

    เมื่อวันจันทร์ นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และอดีตรองปลัด กทม. ในฐานะผู้ว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) เดินรถสายสีเขียว เปิดเผยถึงความคืบหน้าการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจากับบีทีเอสตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่ายนโยบายให้กรอบเจรจาภายใน 90 วัน หลังจากที่ได้ประชุมร่วมกับเอกชนมา 2 ครั้งแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้เดินรถรายเดิมคือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้า BTS ถึงแนวทางความเป็นไปได้ในการต่อขยายสัมปทานเดินรถทั้ง 2 สัญญาออกไปอีก 30 ปี 
    ทั้งนี้ ได้แก่สัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ขณะที่อีกสัญญาคือสัมปทานเดินรถส่วนต่อขยาย ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า โดยจะเริ่มนับสัญญาสัมปทานในปีแรกคือปี 2573 และหมดสัญญาในปี 2603 รวมระยะเวลาจากปัจจุบัน 2562 ทั้งสิ้น 40 ปี โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการแลกเปลี่ยน 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ค่าโดยสารตลอดสายต้องไม่เกิน 65 บาท เช่น คูคต-สมุทรปราการ
    นายมานิตกล่าวต่อว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นที่เอกชนยังไม่ยอมรับ พร้อมให้ กทม.ช่วยรับภาระค่าโดยสารที่เกินกว่าต้นทุน (Subsidy) 2.BTS ต้องรับภาระทรัพย์สิน หนี้สิน และดอกเบี้ยของโครงการช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมวงเงินทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นหนี้สาธารณะของประเทศไปแล้ว เอกชนจึงจำเป็นต้องไปจ่ายคืนให้กระทรวงการคลัง 3.ลงทุนค่าติดตั้งอาณัติสัญญาณในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
    "เงื่อนไขสำคัญของการเจรจาคือค่าโดยสารต้องไม่เกิน 65 บาท ตามนโยบายท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้แก่พี่น้องประชาชน" นายมานิตกล่าว
    เขากล่าวอีกว่า สำหรับเงื่อนไขการ Subsidy ค่าโดยสารนั้น กทม.จะยื่นข้อเสนอในรูปแบบการให้ค่าอุดหนุนรายปี เพื่อชดเชยกับรายได้ที่ต่ำกว่าต้นทุนของการเดินรถ คาดว่าจะยื่นข้อเสนอค่าชดเชยที่ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณของ กทม. มิใช่งบประมาณของชาติที่มาจากภาษีประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม เรื่องความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพบริการรถไฟฟ้าที่แชร์กันในโลกออนไลน์ เช่น ขบวนรถขัดข้องและรถเสียบ่อยตอนฝนตก เป็นต้น กทม.ได้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวและมีการพูดคุยในเวทีประชุมเจรจา 
    "ดังนั้นในการร่างสัญญาสัมปทานใหม่นี้จะมีเกณฑ์กำหนดค่าประเมิน KPI ในงานบริการรถไฟฟ้า  เช่นแต้มคุณภาพบริการและแต้มความพึงพอใจ เป็นต้น หากคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน หรือเกิดข้อผิดพลาดถ้าเกินค่ามาตรฐานก็จะมีโทษปรับที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิมแน่นอน โดยจะมีการเก็บข้อมูลคุณภาพของผู้ให้บริการเดินรถแบบเรียลไทม์โดยเซ็นเซอร์จากจุดต่างๆ" 
    ส่วนเรื่องกระแสที่สังคมต่อว่าเรื่องค่ารถไฟฟ้าแพงเกินไป ประกอบกับการยืนยันผลศึกษา TDRI ที่พบว่าค่าโดยสารแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายมานิตกล่าวว่าได้พูดเรื่องนี้ในวงเจรจาสัมปทานกับผู้เดินรถรายเดิมเช่นกัน แต่ทั้งนี้ กทม.ขอยืนยันว่าราคา 65 บาทเป็นต้นทุนที่คิดคำนวณมาเหมาะสมกับประชาชนทุกคนในเมืองหลวงแล้ว อาจมีความเห็นเรื่องราคาต่างกันได้บ้าง แต่ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนฐานะและต้นทุนทางสังคมมีอยู่หลายระดับ
    นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเปิดทดลองเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ช่วง 1 สถานี จากหมอชิตไปถึงสถานีห้าแยกลาดพร้าวว่า ในวันที่ 11 ส.ค.นี้จะเตรียมเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสีเขียวอีก 1 สถานี หรือจากสถานีหมอชิตไปยังสถานีห้าแยกลาดพร้าว ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของสถานีหมอชิตได้ ขณะที่ความคืบหน้าในส่วนของงานโยธาโครงการที่ รฟม.รับผิดชอบนั้น เสร็จสมบูรณ์ 100% แล้ว และอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบต่อไป
    นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) เปิดเผยว่า การเปิดเดินรถถึงสถานีห้าแยกลาดพร้าว เชื่อว่าจะทำให้ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ปัจจุบันนี้มีอยู่เฉลี่ยเกือบ 8 แสนคนต่อวันเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5% ส่วนการเดินรถให้บริการฟรีถึงห้าแยกลาดพร้าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมนี้ และเรื่องระยะเวลาจะนานเพียงใด กทม.เป็นผู้กำหนด.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"