นักเขียนซีไรต์ตอกส.ส.ส้มหวานทำเหมือนจำอวดใช้เวทีสภาแค่สนุกท้าทายสังคม


เพิ่มเพื่อน    

 

12ก.ค.62- วิมล ไทรนิ่มนวล วิมล นักเขียนรางวัลซีไรต์  โพสต์ข้อความหัวข้อ “วิถีชีวิตกับการแสดง” มีเนื้อหาดังนี้

เมื่อคุณกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ อยากให้ใช้ภาษาถิ่นในการอภิปรายในสภา รวมทั้งคนอื่นๆในพรรคอนาคตใหม่อยากให้แต่งตัวตาม “วิจารณญาณ” ด้วยเหตุผลว่า เพื่อเชิดชูและอนุรักษ์อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ผมก็ขอทำความเข้าใจกับ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ไว้ตรงนี้นิดหนึ่ง
ผมอยู่ในสาย “นิเวศปรมัตถ์” นิยมชมชื่นความหลากหลายอย่างที่โลกธรรมชาติมีและเป็นอยู่ ไม่นิยมพืชเดี่ยวและการเลี้ยงสัตว์เดี่ยว ในสังคมมนุษย์ก็เช่นกัน ผมนิยมความคิด – ลัทธิ – อุดมการณ์ที่หลากหลาย เพื่อว่าผมจะได้เลือกสรร – ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ “นิเวศวิทยาการเมือง” ในสังคมไทย
(ไม่ใช่นำมาใช้ทั้งชุด เหมือนเอา “คอกแห่งความคิด – ลัทธิ - อุดมการณ์” นั้นขังตัวเอง และกดขี่ – ครอบงำคนอื่นๆให้เข้าอยู่ในคอกเดียวกับตน)
ในทางวัฒนธรรมอย่างการแต่งกาย ภาษา รวมถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี ผมก็นิยมจะให้มีอย่างหลากหลาย เพราะความหลากหลายคือชีวิตที่งอกงาม
แต่ในสถานที่หนึ่งๆ เราไม่อาจ “ยัดเยียด” เอาความหลากหลายเข้าไปไว้ได้ทั้งหมด อย่างเวทีดนตรีก็เหมาะสำหรับแสดงดนตรี โรงละครและโรงลิเกก็เช่นกัน ถ้าเราจะใช้เวทีเดียวกันก็ต้องจัดการองค์ประกอบของเวทีให้เหมาะแก่การแสดงประเภทนั้นๆ และต้องต่างเวลากัน
เราต้องจัดแสดงทีละประเภท ไม่ใช่แสดงพร้อมกัน
รัฐสภาก็เช่นกัน...ต้องดูว่าเรามีไว้ “แสดง” อะไร?
มีวัตถุประสงค์อะไร?
คำตอบก็คือมีไว้ “แสดงการอภิปราย” เรื่องกิจการงานของประเทศ ตั้งแต่การออกกฎหมายไปจนถึงการซักถามการทำงานของรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดก็คือ “การแสดงความคิดเห็น” (ที่แตกต่างหลากหลาย)
ดังนั้นการแสดงเรื่องการแต่งกาย – การแสดงเรื่องภาษาถิ่นจึงเป็นเรื่องรองๆ
แม้จะอ้างว่า เพื่อ “แสดงการอนุรักษ์และเชิดชูอัตลักษณ์ของท้องถิ่น” ที่หลากหลาย รวมทั้งแสดงความเป็นประชาธิปไตยนั้น ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ “เป็นจริง”
ไม่เป็นจริงเพราะมันเป็นแค่ “การแสดง”
มันเป็นแค่การแสดงอย่างเดียวกับ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ได้จัดแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณี และการเล่นต่างๆทุกจังหวัดอยู่ทุกปี
การแสดงย่อมไม่ใช่ “ของจริง” (เช่นเดียวกับการแสดงมหรสพต่างๆ กระทั่งละครทีวี ภาพยนตร์)
การแสดงไม่ใช่ “วิถีชีวิต”
ไม่ได้เป็นลมหายใจในชีวิตประจำวันของผู้คน
การดำเนินชีวิตตามปรกติของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชนกลุ่มใหญ่ แต่งกายแบบใด ใช้ภาษาไทยกลางหรือภาษาถิ่นของตน นั่นคือของจริง
ตราบใดที่พวกเขายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างนั้น ย่อมเป็นการอนุรักษ์และเชิดชูอัตลักษณ์ของตนอยู่เองแล้ว
ดังนั้น พวกคุณที่อยากแสดงเรื่องการแต่งกายและภาษา ก็ไม่ต้องไปแย่งงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเขาทำได้ดีกว่าพวกคุณและทำมานานแล้ว
พวกคุณทำนั้นเหมือนจำอวดมากกว่า มันแค่ความสนุกของพวกคุณที่ได้โชว์และท้าทายสังคม โดยมีแรงจูงใจเรื่องการเมืองอยู่ภายใน
ไม่มีใครตำหนิคุณได้ ถ้าพวกคุณจะแต่งตัวที่หลากหลาย และใช้ภาษาถิ่นในชีวิตจริง
ส่วนเวทีรัฐสภานั้นมีไว้สำหรับแสดงความคิดเห็น เพื่อแก้และป้องกันปัญหาของประเทศ ซึ่งมากเสียจนชาติหน้าก็ทำไม่เสร็จ จึงอย่าเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้มากนัก
ไม่เช่นนั้นมันจะเป็นแต่ประชาธิปไตยเฉพาะพวกคุณ ไม่ใช่ของคนทั้งประเทศ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"