เกษตรกรทุกข์หนัก! บี้รัฐบาลพยุงราคา-ลดต้นทุนผลิต เลิกเอื้อกลุ่มทุน


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.ค. 62 - นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันปาล์มปัจจุบัน โรงงานรับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 2.20 บาท แต่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3.38 บาท เห็นได้ชัดว่าเกษตรกรอยู่ในภาวะขาดทุนในไทย เกษตรกรไม่สามารถตั้งราคาผลผลิตเองได้ แต่พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนด อยากให้กระทรวงพาณิชย์ สร้างความเป็นธรรมให้กับสินค้าราคาเกษตร ไม่ใช่เปลี่ยนกลไกตลาดเพื่อกลุ่มทุน

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต การหาเทคโนโลยี วิธีการต่างๆ มาช่วยเกษตรกร ตัวอย่างที่ผ่านมาความไม่แน่นอนจากนโยบายการใช้สารเคมีเกษตร เช่น พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส หากลดปริมาณนำเข้าโดยไม่มองความเป็นจริง ทำให้ราคาสารเคมี 3 ตัวแพงขึ้นทันที  

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ควรดูแลเกษตรกร ต้องมองเห็นความจำเป็นสำหรับเกษตรกรไม่เชื่อข้อมูลที่บิดเบือน ทั้งๆที่ไม่มีผลต่อสุขภาพในเกษตรกรกลุ่มปาล์ม เพราะใช้มานานกว่า 40 ปี ควรเน้นการให้ความรู้ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เพราะยังไม่มีสารทดแทน รวมทั้ง สารเคมี กลูโฟซิเนต ที่แนะนำให้ใช้แทนนั้น จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีผลกระทบในระยะยาว และราคาแพงกว่า 5 เท่า นับเป็นการทำร้ายเกษตรกรและผู้บริโภคยิ่งกว่าเดิม
 
ด้าน นายอนุวัฒน์ อิ่มสมบูรณ์ เลขานุการสหกรณ์การเกษตรจังหวัดจันทบุรี  และเป็นผู้ปลูกทุเรียนส่งออก กล่าวว่า นโยบายเกษตรของรัฐบาลชุดใหม่ อยากให้เน้นเรื่องมาตรการส่งออก ภาษี และแรงงาน เนื่องจากปัจจุบัน รัฐบาลสามารถดำเนินการเรื่องราคาสินค้าเกษตรในส่วนของผู้ผลิตทุเรียนได้ดีแล้ว แต่ความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายการใช้สารเคมีเกษตรกร กลับส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิต ที่ขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว เนื่องจากกระแสข่าวการใช้สารเคมีเกษตร ทำให้เกิดการกักตุนราคาสูงขึ้น

ขณะที่ นายทนงศักดิ์ ไทยจงรักษ์ กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาของกลุ่ม คือ การกีดกันทางภาษี และการค้าในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากปัญหาศัตรูพืชและภัยแล้งธรรมชาติ ดังนั้น การจัดการเรื่องมาตรการส่งออกสินค้าเกษตร ควบคู่ไปกับการวางแผนระบบชลประทานเพื่อภาคการเกษตร จะช่วยเกษตรกรได้มากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกในพื้นที่ระบบชลประทานเข้าถึงได้ เพราะที่ดินมีราคาสูง จึงต้องเพาะปลูกในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งศัตรูพืชที่มีอยู่ตลอดช่วงการเพาะปลูก ทำให้จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 

สำหรับ เกษตรกรข้าวโพดหวานส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตร GAP แล้ว ผลผลิตจึงอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่ต้องกังวล ดังนั้น นโยบายที่ออกมาจำกัดการใช้สารกำจัดวัชพืช จึงเป็นต้นเหตุและมีปัญหาต่อต้นทุนการผลิต เกษตรกรเห็นด้วยกับภาครัฐที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการใช้อย่างถูกต้อง แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร ต้องให้เวลาจัดการแบบค่อยค่อยไป ทำให้เกษตรกรยอมรับที่จะปรับตัว จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนที่สุด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"