เซอร์คูลาร์อีโคโนมี ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ


เพิ่มเพื่อน    

        "การดูงานครั้งนี้ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในการกำกับดูแลโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของไทยที่ กนอ.มุ่งใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในการยกระดับนิคมฯ ทุกแห่งทั่วประเทศที่เปิดดำเนินการแล้วเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศภายในปี 2564 รวมถึงส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี รวมไปถึงสตาร์ทอัพของไทยให้สามารถใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตัวเองไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้เช่นกัน"

 

        เทรนด์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงหันไปมุ่งความสนใจที่ เซอร์คูลาร์อีโคโนมี (Circular Economy) หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด โดยลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุด และสามารถบริหารจัดขยะมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในรูปแบบของวัตถุดิบเชื้อเพลิงหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังมุ่งไปทางนี้ ขณะที่ไทยเองรัฐบาลก็ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ขณะเดียวกัน การลงทุนในไทยก็ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซีที่ได้รับการโปรโมตจากภาครัฐจึงเป็นแรงผลักดันที่ทุกฝ่ายต้องมุ่งตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ธุรกิจและระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

        ซึ่งระหว่างวันที่ 24-29 ก.ค.2562 ที่ผ่านมานั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำคณะสื่อมวลชน ศึกษาความก้าวหน้าเทคโนโลยีบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเทรนด์เซอร์คูลาร์อีโคโนมี (Circular Economy) หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะที่มีสารปรอท เพื่อดึงกลับมาใช้ใหม่ที่โรงงานอิโตมูกะของบริษัท โนมูระเกาะสัน จำกัด และโครงการทดสอบเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CSS ของบริษัท เจแปน ซีซีเอส เมืองฮอกไกโด  และนำมาเป็นต้นแบบมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศปี 2564 รับกระแสการลงทุนบูม โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

 

ต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

      นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ. เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ กนอ.ได้มาดูงานที่ญี่ปุ่น จะมีหลายอย่างที่จะนำมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. โดยเฉพาะเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือเซอร์คูลาร์อีโคโนมี เช่น การแยกสารปรอทออกจากขยะอันตราย เพื่อนำรูปแบบการจัดการไปใช้ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาในเรื่องของการลักลอบนำกากของเสียวัตถุอันตรายไปทิ้งอย่างไม่ถูกวิธี

        นอกจากนี้ ยังได้ไปดูการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) ทำให้ กนอ.สามารถนำแนวคิดและเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นใช้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกมาใช้ในประเทศๆ ไทย เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซี ซึ่งจะมีกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งเอสเคิร์ฟเดิมและใหม่ ซึ่งก็จะเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้

        นอกจากนี้ ยังได้ไปดูงานทางการจัดการด้านการเกษตร ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาดูแล ไม่ว่าจะไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล โดยเฉพาะที่ไร่เมลอน จะเห็นว่าเกษตรกรที่ญี่ปุ่นใช้เทคโนโลยีมาใช้ทั้งด้านการผลิตและจำหน่าย จะมีการออกแบบแพ็กเกจจิ้ง และการบริหารจัดการพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างมาก

        "การดูงานครั้งนี้ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในการกำกับดูแลโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของไทยที่ กนอ.มุ่งใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในการยกระดับนิคมฯ ทุกแห่งทั่วประเทศที่เปิดดำเนินการแล้วเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศภายในปี 2564 รวมถึงส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี รวมไปถึงสตาร์ทอัพของไทยให้สามารถใช้เทคโนโลโนยี เพื่อพัฒนาตัวเองไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้เช่นกัน" นางสาวสมจิณณ์กล่าว

 

ปี 2564 ตามเป้า 5 หมื่นไร่

        นางสมจิณณ์กล่าวว่า จากนโยบายอีอีซีของรัฐบาล ทำให้มีคนสนใจขอตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ถึง 18 แห่ง มีพื้นที่รวม 35,788 ไร่ โดยเป็นนิคมฯ ที่อยู่ใน จ.ฉะเชิงเทรา 8 โครงการ จ.ชลบุรี 6 โครงการ และ จ.ระยอง 4 โครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กอพ.) เพื่อยกระดับขึ้น เป็นเขตส่งเสริมเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาตั้งในพื้นที่เหล่านี้

        อย่างไรก็ตาม คาดภายในเดือน ส.ค.2562 นี้น่าจะมีความชัดเจนของการจัดผังเมืองอีอีซี ก็จะมีการลงนามจัดตั้งนิคมฯ ทั้งหมดได้ภายในปีนี้ และเมื่อรวมกับพื้นที่เดิมอีก 10,000 ไร่ จะทำให้ กนอ.มีที่ดินใหม่รองรับการลงทุนในอีอีซี ได้ประมาณ 4 หมื่นไร่ ขาดอีกเพียงเกือบ 1 หมื่นไร่ ก็จะครบ 5 หมื่นไร่ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายในปี 2564

        ส่วนความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างสัญญาในเรื่องผลประโยชน์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตหากมีสินค้ามาเข้าท่าเรือเพิ่มขึ้น รัฐจะได้รับผลประโยชน์อย่างไร โดยในวันที่ 11 ก.ค.นี้ จะประชุมร่างสัญญาพร้อมกันนี้ในช่วงปลายเดือน ก.ค.นี้ จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เป็นครั้งสุดท้ายหากมีข้อเสนอ จากประชาชนในพื้นที่เพิ่มก็จะนำมาปรับปรุงสัญญา เมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมดจะส่งไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา จากนั้นก็จะส่งให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติร่วมลงทุนต่อไป ส่วนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ได้จัดทำเสร็จแล้ว

        สำหรับการพิจารณาโครงการลงทุนของบริษัท เอ็กซอนโมบิล คอร์ปอเรชั่น ที่จะต้องถมทะเลประมาณ 1 พันไร่ในพื้นที่อีอีซี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดจ้างที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน และผลกระทบในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผลกระทบ ต่อประชาชนในพื้นที่ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจะได้ข้อสรุป

        "โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการหลักถ้าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาลงทุนและสร้างรายได้ให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น ดังนั้นอีอีซีจึงเป็นตำแหน่งที่ตั้งที่มีความพร้อมในของเรื่องโลจิสติกส์ การขนส่ง การกระจายสินค้าไปสู่ภูมิภาคทั่วโลก ตรงนี้เองทำให้เรามีข้อได้เปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นการขยายพื้นที่ในอีอีซีเน้นเป็นพื้นที่สำหรับตั้งโรงงานอุตสหากรรม จะช่วยนำรายได้เข้าประเทศ และประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น" นางสมจิณณ์กล่าวว่า

        ด้าน นายก้อง รุ่งสว่าง กรรมการ กนอ. กล่าวว่า การดูงานครั้งนี้จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการกำกับดูแลโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของไทย ที่ กนอ.มุ่งใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อยกระดับนิคมฯ ทุกแห่งทั่วประเทศที่เปิดดำเนินการแล้ว เข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศภายในปี 2564 ทั้งนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการกลั่นปรอทขั้นสูงที่โรงงานอิโตมูกะนั้น ที่บำบัดและเก็บรวบรวมของเสียจากปรอทอย่างมีระบบ จนสามารถนำปรอทกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีกครั้ง

        สำหรับประเทศไทยมีขยะที่มีสารปรอทเจือปน เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์และแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการปลดระวาง และปัจจุบันประเทศไทยส่งขยะเหล่านี้จำนวนหนึ่งมากำจัดที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นในอนาคตต้องติดตามความคืบหน้าของการบังคับใช้ปฏิญญา มินามะตะที่ห้ามขนย้ายขยะที่มีสารปรอทเจือปนออกจากประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านนี้เอาไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

        นายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการกลั่นปรอทขั้นสูงที่โรงงานอิโตมูกะ ของบริษัท โนมูระเกาะสัน จำกัด นั้นเป็นการดำเนินธุรกิจให้บริการรีไซเคิลขยะประเภทที่ประกอบด้วยสารปรอท และการจัดเก็บของเสียจากสารปรอทที่มีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการขยะเป็นไปตามการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ที่ทั่วโลกให้การยอมรับเทคโนโลยี และยกเป็นต้นแบบในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการบำบัดและเก็บรวบรวมของเสียจากปรอทอย่างมีระบบ จนสามารถนำปรอทกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีกครั้ง อีกทั้งทั่วโลกยังมองว่าเป็นทางออกที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

        ทั้งนี้ ข้อมูลของกระบวนการทำงานของบริษัท โนมูระเกาะสัน จำกัด ได้มีการรวบรวมของเสียที่มีปรอทปนเปื้อน จาก 47 จังหวัดของญี่ปุ่น ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมแบตเตอรี่แห้งได้มากถึง 13,000 ตันต่อปี หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้แล้ว 8,000 ตันต่อปี และของเสียที่มีปรอทอื่นๆ 6,000 ตันต่อปี ซึ่งของเสียต่างๆ เหล่านี้จะถูกนำไปบำบัดและจัดเก็บตามกระบวนการทำงานของเทคโนโลยีการกลั่นปรอทขั้นสูงของบริษัท และสามารถนำปรอทไปแปรสภาพกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแนวทางดังกล่าวถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนญี่ปุ่น จากเดิมที่เคยประสบปัญหาด้านสุขภาพที่ได้รับผลข้างเคียงมาจากสารปรอทนั้น ในปัจจุบันได้ลดน้อยลงไปมาก ดังนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวจึงนับเป็นต้นแบบที่ กนอ.จะนำมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการของเสียประเภทดังกล่าวที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมให้มีการจัดการอย่างถูกวิธีและมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบต่อไปในอนาคต             

        สำหรับประเทศไทยนั้นปัจจุบันไทยเองมีการส่งขยะที่มีองค์ประกอบของสารปรอทมารีไซเคิลที่บริษัทโนมูระฯ ราว 100 ตันต่อปี และปริมาณส่วนใหญ่ถูกส่งมาจากบริษัท เวสท์ แมนเนจเมนท์สยาม (Waste Management Siam) หรือ WMS บริษัทรับรีไซเคิลสารปรอทซึ่งเป็น 1 ใน 2 รายในไทยที่รับกำจัดขยะประเภทนี้อยู่ โดยลูกค้าหลักๆ ของ WMS คือผู้ประกอบการแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะจะมีโคลนปนเปื้อนปรอทอยู่พอสมควร โดยบริษัทดำเนินการอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง) จ.สงขลา

        ส่วนโครงการทดสอบเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ของบริษัท เจแปน ซีซีเอส ที่ตั้งอยู่บนเกาะฮอกไกโด เป็นโครงการสาธิตที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น (METI) ที่ได้ดำเนินการทดสอบที่ “โรงกลั่นน้ำมัน” ของบริษัท อิเดะมิสึ โคซัง ในเดือน เม.ย.2559 ถือเป็นครั้งแรกที่ได้ดำเนินการทดสอบแบบครบทั้ง 3 ขั้นตอน คือ การดักจับ การขนส่ง และการฉีดอัดคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเก็บไว้ชั้นใต้ดิน ซึ่งเป็นชั้นหินที่กักเก็บน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่หมดศักยภาพไปแล้ว ซึ่งจากการทดสอบสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โรงแยกก๊าซ โรงกลั่นน้ำมัน และโรงไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

        “เทคโนโลยี CCS ถูกเลือกใช้บนเกาะฮอกไกโด เพราะมีความเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุดในการทดลองใช้จากระบบปิด และมีการติดตามอย่างอัตโนมัติเมื่อเกิดภัยพิบัติจะมีสัญญาณเตือนภัย ซึ่งจุดเด่นของ CCS นอกจากจะอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังใช้เวลาดักจับไม่นาน ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ส่วนไทยมีการศึกษาเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่เช่นกัน แต่การจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ยังต้องอาศัยความพร้อมในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การประเมินเทคโนโลยีการดักจับ การขนส่ง ขนาดและลักษณะโครงสร้างใต้ดิน โดยเฉพาะแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่จะนำมาใช้ในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงต้นทุน ค่าใช้จ่าย” นายจักรรัฐกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"