"บิ๊กตู่" โมฆะหรือไม่?


เพิ่มเพื่อน    

              ความสมบูรณ์ของการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงไหน?

                ประเด็นนี้น่าสนใจ

                เพราะพรรคฝ่ายค้านพยายามบอกว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบ เป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญ

                ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงต้องสิ้นสุดลง

                เป็นโมฆะ!

                รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๑ บัญญัติว่า

                "....ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้

                "ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ...."

                หมายความว่าความเป็นนายกรัฐมนตรีสมบูรณ์เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

                แต่ "ก่อนรับหน้าที่" ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อน

                หมายความว่า หากการถวายสัตย์ไม่ครบ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามที่พรรคฝ่ายค้านกล่าวหา ก็มิได้กระทบต่อความเป็นนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด

                อาจจะมีปัญหาตรงที่ "การทำหน้าที่"

                "ชาติชาย ณ เชียงใหม่" อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยืนยันว่าการถวายสัตย์ที่ผ่านมาก็ถือว่าครบถ้วนแล้ว ไม่เป็นปัญหาในการบริหารบ้านเมือง แต่อาจจะไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ คืออ่านไม่ครบ ซึ่งก็ไม่ได้มีความผิด

                เพราะในรัฐธรรมนูญไม่ได้มีบทลงโทษไว้!

                หากพิจารณาตามนี้ จะมีปัญหาประเด็นเดียวคือ อาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะถวายสัตย์ไม่ครบ

                แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร

                ถวายสัตย์ปฏิญาณตนซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่?

                ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่เคยมีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อพระมหากษัตริย์ซ้ำ เนื่องจากการถวายสัตย์ปฏิญาณตนครั้งแรกผิดพลาดมาก่อน

                ฉะนั้นทางออกอาจต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย ว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และนายกรัฐมนตรีต้องพ้นสภาพไปหรือไม่

                แต่...ไม่ใคร่จะมีใครพูดถึง วรรค ๒ ของมาตรา ๑๖๑ ที่บัญญัติว่า

                "ในกรณีที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนที่จะถวายสัตย์ปฏิญาณ ให้คณะรัฐมนตรีนั้นดำเนินการตามมาตรา ๑๖๒ วรรคสองได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้คณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๖๘ (๑) พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมดังกล่าว"

                แม้ไม่สามารถนำมาอธิบายประเด็นการถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบได้ชัดเจนนัก แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า....            

                การถวายสัตย์ปฏิญาณตนนั้นรอได้

                แต่การทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีสำคัญกว่า ไม่อาจรอได้.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"