รถตู้พร้อมใจบุกคมนาคมร้องสางปัญหา ศักดิ์สยามนัดเคลียร์9 ส.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    

6ส.ค.62-นายบุญส่ง ศรีสกุล นายกสมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัด พร้อมสมาชิก 50 คน เข้ายื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เรื่องความเดือดร้อนเร่งด่วนของรถตู้โดยสารสาธารณะประจำทางทุกหมวด โดยมีนายวิรัช พิมพะนิตย์ ชุดคณะทำงานของ รมว.คมนาคม เป็นผู้รับมอบ

นายบุญส่ง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้จัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะตั้งแต่ปี 57 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องย้ายรถตู้โดยสารสาธารณะเข้าไปอยู่ยังพื้นที่ต่างๆ นั้น ผู้ประกอบการถตู้โดยสารธารณะทั้งหมด ไม่ได้ขัดต่อนโยบายพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล จากนโยบายดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะรถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 1 วิ่งให้บริการกรุงเทพฯ และปริมณฑล มี 3,233 คัน รถตู้หมวด 2 เส้นทางกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด ระยะทางไม่เกิน 300 กม. มี 4,593 คัน และ หมวด 3 วิ่งระหว่างจังหวัดมี 2,000-3,000 คัน รวม 10,000 กว่าคันได้รับผลกระทบจากรถตู้หมดอายุ 10 ปี ต้องเปลี่ยนเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก (ไมโครบัส) หากไม่เปลี่ยนต้องหยุดวิ่ง

นายบุญส่ง กล่าวต่อว่า จึงต้องการให้แก้ไข 3 เรื่อง คือ 1.ขอให้ขยายอายุการใช้งานรถตู้ทุกหมวด จากเดิมอายุไม่เกิน 10 ปีเป็น 15 ปีตามสภาพรถ ซึ่งในการขยายอายุการใข้งานนี้มีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) รองรับว่ามีความปลอดภัย รวมทั้งมีการตรวจสภาพรถทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้งตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้โดยสารได้มีทางเลือกในการใช้รถไฟฟ้าแทน เพราะรถไฟฟ้าหลากสีจะก่อสร้างเสร็จแลเปิดให้บริการอีก 3-5 ปีข้างหน้า 2.นโยบายการบังคับให้มีการเปลี่ยนรถตู้ทุกหมวดที่มีอายุ 10ปี เป็นไมโครบัสแบบภาคสมัครใจ เพราะถ้าเส้นทางไหนผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก รายได้ดี ผู้ประกอบการพร้อมเปลี่ยนเป็นไมโครบัส

นายบุญส่ง กล่าวอีกว่า แต่บางเส้นทางผู้โดยสารเดินทางน้อย รายได้น้อยตาม ทั้งนี้ต้นทุนรถไมโครบัส จำนวน 20 ที่นั่ง คันละ 2.5 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 45,000 บาท ขณะที่รถตู้ 13 ที่นั่ง คันละ 1.3 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 30,000 บาท หากผู้โดยสารไม่เต็มคันรายได้ไม่เพียงพอต่อการผ่อนไมโครบัส เพราะราคาสูง เกิดหนี้สินตามมา ทั้งนี้บางเส้นทางเหมาะใช้รถตู้มากกว่า โดยเฉพาะเส้นทางในกรุงเทพฯ เพราะรถตู้มีความคล่อง คันเล็กไม่สร้างปัญหารถติด ขณะที่รถไมโครบัสมีขนาดใหญ่ และอาจทำให้รถติดได้ นอกจากนี้ให้รัฐบาลกำหนดมาตรากรช่วยเหลือผู้แระกอบการที่มีความพร้อมและสมัครใจจะเปลี่ยนรถตู้เป็นไมโครบัส เช่น ลดภาษีนำเข้า ปล่อยเงินกู้สินเชื่อต่ำในไฟแนนซ์ของรัฐ และขยายจัดไฟแนนซ์เป็น 10 ปีดาวน์ 5% เพื่อให้ผ่อนส่งไม่สูงเกินจริง และมีกำลังผ่อนได้

นายบุญส่ง กล่าวอีกว่า และ 3.ขอให้ยังคงมีรถตู้หมวด 2 (ช.) ซึ่งเป็นรถจัดระเบียบยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีอายุใช้งานแค่ 7 ปี ถ้าครบแล้วไม่สามารถเปลี่ยนรถหรือต่อสัญญาได้ ดังนั้นขอให้วิ่งต่อมีอายุสัญญา 10 ปี เพื่อไม่ให้กระทบบริการประชาชน และเปิดช่องทางให้เกิดรถป้ายดำเกิดขึ้น

ด้านนายวิรัช กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับหนังสือมา แล้วจะขอนัดประชุมร่วมกับสมาคมฯ ในวันที่ 9 ส.ค. นี้ เวลา 13.00 น. โดยให้ตัวแทนแต่ละสมาคมฯ ประมาณ 5 คน เพื่อเข้าประชุมกับ รมว.คมนาคมเกี่ยวกับปัญหาและข้อเรียกร้องทั้งหมด โดยการดำเนินดังกล่าวต้องไม่กระทบการให้บริการประชาชนและคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย

รายงานข่าวจากสมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัดแจ้งว่า รถตู้หมวด 1 ในปี 62 หมดอายุ 809 คัน ปี 63 จำนวน 1,185 คัน ปี 64 จำนวน 364 คัน และ ปี 65-68 จำนวน 235 คัน ขณะที่รถตู้หมวด 2 ปี 62 หมดอายุ 635 คัน และ ปี 63-63 จำนวน 2,532 คัน

ด้านนายชนกันต์ พร้อมมูล นายกสมาคมรถตู้วีไอพีประเทศไทย พร้อมสมาชิกกว่า 30 คน ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เรื่องขอความเป็นธรรมและแก้ไขยกเลิกข้อกำหนดและกฎระเบียบ เนื่องจากสมาชิกรถตู้รับจ้างไม่ประจำทางได้รับความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายของกรมการขนส่งทางบกและได้นำเรื่องความเดือดร้อนข้อบังคับที่ไม่ธรรม ต่อการประกอบอาชีพและความเดือดร้อนของประชาชนผู้เช่าเหมารถตู้รับจ้างไม่ประจำทาง

นายชนกันต์ เปิดเผยว่า ปัญหาหลักที่เรียกร้อง คือเรื่องใบสั่งและการเปรียบเทียบปรับในข้อหาเกิดจากความเร็วที่จัดโดยความเร็วของจีพีเอส ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการในกรณีที่ได้รับใบสั่งจากจีพีเอสผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าปรับโดยทันทีที่ 1,000 บาท ต่อความผิดหนึ่งครั้งโดยขนส่งแต่ละพื้นที่ไม่รับฟังเหตุผลจากผู้ประกอบการ บางกรณีวิ่งแซงโดยใช้ความเร็วเกิน 90 กม.ต่อชม. เกิน 2 นาที หรือบางครั้งวิ่งแค่ 91 กม.ต่อชม. ก็โดนใบสั่ง นอกจากนี้มีปัญหาจีพีเอสในระบบไม่เสถียรการเพิ่มความเร็วหรือลดลงของความเร็วของรถไม่ตรงกับความเป็นจริง นอกจากนี้เมื่อมีความเร็วที่เกินกำหนด 90 กม.ต่อชม. ในเวลาเกินกว่า 2 นาที ผู้ให้บริการติดความเร็ว (Vander) ส่งรายงานไปยังศูนย์จีพีเอส ของแต่ละพื้นที่ขนส่งจังหวัดนั้นนั้นเพื่อออกใบสั่งให้ไปชี้แจงตามพื้นที่ออกใบสั่ง เมื่อมีใบสั่ง ออกมาถึงผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าปรับทันที 1,000 บาท

นายชนกันต์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลสถิติโดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดที่มาจากการติดตั้งจีพีเอสควบคุมความเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า รถตู้วีไอพีที่เป็นสมาชิกในสมาคม ประมาณ 57,000 คันทั่วประเทศ ต้องจ่ายค่าปรับประมาณ 300,000 ใบ รวมเป็นเงิน 300 กว่าล้านบาท หรือเฉลี่ย 1 คัน เจอค่าปรับสูงถึง 45 ใบต่อปี หรือ 45,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ที่ไม่ไปจ่ายค่าปรับตรงโดนอายัดทะเบียนไม่สามารถนำรถไปตรวจสภาพกลางปีให้ผ่านได้และปลายปีไม่สามารถต่อภาษีประจำปีได้จนกว่าจะจ่ายค่าปรับให้เสร็จสิ้นก่อน

นายชนกันต์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จีพีเอสไม่ตรงสนองความต้องการของผู้เช่าเหมาและนักท่องเที่ยวได้เนื่องจากความเร็วที่โดนกำหนด 90 กม. ต่อชม. นักท่องเที่ยวไม่สามารถอยู่ได้ครบตามกำหนดโปรแกรมทัวร์ทำให้นักท่องเที่ยวและผู้เช่าเหมาหันไปใช้รถที่อยู่นอกระบบขาดความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพ ดังนั้นขอขยายเพิ่มความเร็วจาก 90 กม.ต่อชม. เป็น 110 กม.ต่อชม.เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ใช้บริการ ซึ่งการเพิ่มความเร็วรถนี้ไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะถ้าสภาพรถดี พนักงานขับรถมีความพร้อม พักผ่อนเพียงพอ ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร และกายภาพถนนมีประสิทธิภาพทำให้มีความปลอดภัยแน่นอน

นายชนกันต์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้อีกข้อหาไม่ขับรถชิบขอบทางด้านซ้าย ปัจจุบันบางช่วงเวลารถที่ขับชิดซ้ายจะเป็นรถบรรทุกวิ่งส่วนใหญ่ หากวิ่งด้วยกันจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหต เพราะรถบรรทุกและรถตู้อออกตัวไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องการเสนอให้วิ่งช่องทางที่ไม่ใช่ชิดซ้ายสุด อย่างไรก็ตามสมาคมฯ จะให้ รมว.คมนาคมพิจารณาแก้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิน 3 เดือน หากยังเพิกเฉยจะมาทวงถามความคืบหน้า รมว.คมนาคมอีกครั้ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"