จิตอาสาเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงวัย พัฒนาคุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วมของสังคม


เพิ่มเพื่อน    

  “การเยี่ยมบ้านผู้สูงวัยป่วยติดเตียง” ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมผู้สูงวัยได้เช่นกัน เพราะบางครั้งลูกหลานที่คอยดูแลคนสูงวัยกลุ่มนี้จำเป็นต้องออกไปประกอบอาชีพ จึงทำให้คนชราต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง ที่สำคัญจิตอาสาเยี่ยมบ้าน นอกจากจะลงไปช่วยให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ยังช่วยคัดกรองโรค เช่น ภาวะแผลกดทับ หรือกรณีที่มีโรคแทรกซ้อนอื่น เช่น มีแผลติดเชื้อที่ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน การเยี่ยมบ้านจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในพื้นที่หรือชุมชนใดที่มีการเปิดรับอาสาสมัครเยี่ยมบ้าน ก็จะทำให้สังคมและชุมชนน่าอยู่ เพราะนั่นสะท้อนให้เห็นว่า สังคมคือส่วนสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่มีภาวะป่วยติดเตียงติดบ้าน ในภาวะอันใกล้ที่บ้านเรากำลังติดจรวดสู่การมีคนสูงอายุมากกว่าวัยแรงงานหนุ่มสาว

                พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร จิตแพทย์ผู้สูงอายุ ที่ปรึกษาและแพทย์ผู้สูงอายุ คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ บอกว่า “การเยี่ยมบ้านมีประโยชน์มาก เพราะทุกวันนี้เรามีคนแก่เยอะขึ้น แต่เราไม่ได้เตรียมตัวเลย อีกทั้งไม่ได้เตรียมสังคม เพราะอันที่จริงแล้วบ้านเรามีคนแก่มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งคนแก่เหล่านี้ไม่ได้เตรียมตัว ทำให้เกิดเป็นปัญหาสุขภาพ คนกลุ่มนี้เมื่ออายุกว่า 50 ปีขึ้นไป ก็ป่วยเรื้อรังอยู่บ้าน ติดบ้านติดเตียง อีกทั้งไม่ได้เตรียมเรื่องเงินทองไว้ก็ยิ่งลำบาก เพราะลูกหลานไปทำงาน และบางคนที่ทำงานไกลบ้าน นั่นจึงผลให้ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยที่ติดเตียงอยู่กับบ้านลำพังจำนวนเพิ่มมากขึ้น

                และก็มักจะใช้ชีวิตด้วยความลำบาก เช่น การเคลื่อนไหวไม่ได้ และอยู่บ้านเพียงลำพัง หรือแม้แต่คนที่เคยเดินได้ แต่ถ้าต้องป่วยติดเตียงและไม่ได้เดิน ก็จะเกิดอาการแขน-ขาลีบ ตรงนี้จะทำให้จากติดบ้านก็กลายเป็นติดเตียง ผู้สูงอายุกลุ่มนี้จึงต้องการการดูแลแบบ 100% แต่เมื่อลูกหลานไปทำงานก็ไม่มีคนดูแล ทำให้อยู่บ้านด้วยความยากลำบาก ซึ่งตอนนี้มีเยอะมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะไม่ดี ดังนั้นกลุ่มนี้ถ้าพูดถึงในแง่พัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ การเยี่ยมบ้านจึงเป็นช่องทางที่ดีมากในการลงไปช่วยพวกเขา

                “การเยี่ยมบ้านของจิตอาสาจะช่วยดูแลสุขภาพเบื้องต้น อย่างการเฝ้าระวังและให้ความรู้เรื่องแผลกดทับกรณีผู้สูงวัยป่วยติดเตียง หรือความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง การดูแลเรื่องความสะอาด คอยอาบน้ำ เช็ดตัว และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยอย่างถูกวิธี สำหรับผู้ที่คอยดูแล หรือแม้แต่การเยี่ยมบ้านของจิตอาสา ยังเป็นการพูดให้กำลังใจผู้ป่วย ทำให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพจิตที่ดี โดยที่ไม่คิดว่าตัวเองเป็นภาระของลูกหลานที่ดูแล เพราะผู้สูงอายุหรือคุณพ่อคุณแม่ที่แม้จะเจ็บป่วย แต่ท่านก็เป็นกำลังใจและร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูกหลาน”

                แม้หลายพื้นที่ หลายชุมชน จะมีจิตอาสาเยี่ยมบ้าน แต่ก็มักจะตามมาด้วยการแฝงตัวเข้าไปของจิตอาสาเพื่อหลอกลวงเงินทองของผู้ป่วยที่อาจพบได้อยู่บ่อยๆ ตรงนี้เราจำเป็นต้องมีระบบคัดกรองจิตอาสา และควบคุมขณะลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยระดับหนึ่ง เช่น 1.จิตอาสาที่โรงพยาบาลเป็นผู้คัดเลือก ในการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เช่น ทีมเยี่ยมบ้านจาก รพ.ราชวิถี ที่ทำมานาน ซึ่งเป็นกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการคัดกรองจากโรงพยาบาล โดยจิตอาสาเหล่านี้เคยเป็นคนไข้ที่ป่วย แต่รักษาหายแล้ว และยังติดต่ออยู่กับทาง รพ. ทั้งนี้ เวลาลงไปก็มีทั้งหมอและพยาบาลควบคุมจิตอาสาอีกทีหนึ่ง ดังนั้นถ้ามีการหลอกลวง หรือโกงเงินผู้สูงวัยที่ป่วยติดเตียง จะมีหน่วยงานคอยตรวจสอบ และช่วยเซฟความปลอดภัยให้กับผู้สูงวัยที่ป่วยเรื้อรังได้ทางหนึ่ง 2.มูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ ที่เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ว่าจำเป็นต้องมีผู้คอยดูแลร่วมกับลูกหลาน ทั้งนี้ การที่จะทำให้มีจิตอาสาเข้ามาสมัครนั้น ทางหน่วยงานจะต้องสร้างความตระหนักในเชิงบวก ก็จะทำให้มีผู้ที่สนใจเข้ามาช่วยงาน เช่น การเป็นจิตอาสาดูแลผู้ป่วยนั้นแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ หรือทำแล้วได้บุญกุศลจากการได้ช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นต้น

                การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย นอกจากเป็นการให้กำลังใจแล้ว แต่ทว่ายังช่วยคัดกรองโรคต่างๆ ให้ผู้สูงวัยที่ติดเตียง ซึ่งจะช่วยยืดอายุของผู้ป่วยได้ และลดภาระการดูแลจากลูกหลานที่ต้องออกไปทำงานไกลบ้าน ซึ่งบางรายต้องทิ้งผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง...งานนี้ต้องขอบคุณจิตอาสาเยี่ยมบ้านทุกคน ทุกพื้นที่...เห็นด้วยไหมค่ะ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"