“สุวิทย์” ยก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบทางความคิดนำพาประเทศไปข้างหน้า มอบ สกสว. ถอดรหัสไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์


เพิ่มเพื่อน    


14ส.ค.62-ที่โรงแรมสุโกศล พญาไท  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) จัดงานเวทีสาธารณะ “Wisdom Movement : ขับเคลื่อนอนาคตชุมชนไทยด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” โดยมีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวเปิดงานและนำเสนอนโยบาย “การวางรากฐานประเทศไทยสู่อนาคตด้วยงานวิจัย” ตอนหนึ่งว่า ขณะนี้ประเทศไทยจะต้องกล้าคิดและก้าวต่อไป โดยการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยภูมิปัญญาของฐานราก คือ ในทศวรรษที่ 3 ของการวิจัยท้องถิ่นมาถึงจุดที่จะต้องคิดถึงการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ซึ่งในอนาคตที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักมากมายทั้งเรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำ รายได้ปานกลาง ทั้งนี้  ตนคิดว่าหัวใจสำคัญของปัญหาอยู่ที่ความไม่สมดุล ระหว่าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีกินดีทางสังคม สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย และการปิดกั้นภูมิปัญญามนุษย์ เพราะฉะนั้น ที่ผ่านมาประเทศไทยจึงอยู่ในยุคที่พยายามทำให้ประเทศทันสมัย ซึ่งจากนี้ ตนคิดว่าเรากำลังจะเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่เน้นความทันสมัย เป็นประเทศที่เน้นความยั่งยืนเป็นสำคัญ สร้างความสมดุลในทุกภาคส่วนทั้งระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับเทคโนโลยี โดยเราจะต้องมีกรอบทางความคิดที่จะทำให้นำพาประเทศและโลกไปข้างหน้าได้ ซึ่งประเทศเรามีอยู่แล้ว คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะเชื่อมโยงกับการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ของสหประชาชาติได้อย่างลงตัวและพอดี ดังนั้นหน้าที่สำคัญของ สกสว. คือ การถอดรหัสเรื่องนี้ออกมาให้ได้ เพื่อนำไปสู่เรื่องการบริหารจัดการ และการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์

นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า สำหรับเงื่อนไขจำเป็นที่จะทำให้เราไปสู่โลกที่ต้องการ คือ การเปลี่ยนแนวคิดของสังคมไทยจาก ME Society ให้เป็น WE Society แทนที่จะมองแต่เรื่องของตัวเอง แต่จะต้องมองสังคมในองค์รวม สร้างบรรยากาศของการเติบโตเพื่อให้ปัญญาของมนุษย์เกิดขึ้นมา ระบบงานวิจัยก็ต้องเปลี่ยนจากการให้สิ่งจูงใจ เป็นการให้แรงบันดาลใจให้คนคิดที่จะทำสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเองให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้เป็นภูมิปัญญามหาชน เป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ สร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งหากเปลี่ยนได้ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่เกิดโครงสร้างสังคมทางปัญญาอย่างแท้จริง เพราะการที่ท้องถิ่นจะเติบโตได้ หรือประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยพลังจากคน แม้แต่มหาวิทยาลัยก็จะต้องลงไปทำงานที่ตอบโจทย์สังคม ประเทศ ไม่ใช่ตอบโจทย์ตัวเอง ดังนั้นตนคิดว่าเรื่องเหล่านี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

“ผมคิดว่าโจทย์การวิจัยของทศวรรษจากนี้ไป คือ การเปลี่ยนให้เป็นสังคมของเราให้ได้ ถ้าหากเราไม่สามารถเอาชนะเงื่อนไขนี้ได้ โอกาสที่เราจะทำงานวิจัยในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นกลุ่มๆ แบบเดิมก็มีพลัง แต่ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้ ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำต่างๆ ก็ยังคงอยู่ ดังนั้นเราทุกคนต้องช่วยกันตอบโจทย์นี้ อย่างไรก็ตาม ผมมีความเชื่อในการองค์รวม พลังของการถักทอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ แม้ต้องใช้เวลาอยู่บ้าง แต่เราภาพที่อยู่ตรงกลางที่ชัดเจนอยู่แล้ว ใน 4 รูปแบบ ที่สอดคล้องกันในการตอบโจทย์ประเทศและโลก ได้แก่ การวิจัยเพื่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน การวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่และเศรษฐกิจฐานราก การวิจัยเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์และสถาบันองค์ความรู้ และการวิจัยตอบโจทย์ประเด็นท้าทาย”รมว.อว.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"