เครือข่ายประชาชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ชี้ปมอุ้มขังเอ็นจีโอใต้ เหตุ'คนร.'เปิดอ้าซ่าแหล่งหินอุตสาหกรรมประเคนทุนเหมือง จี้ยกเลิกขอประทานบัตรบริษัทลงดาบหนักขึ้นบัญชีดำ


เพิ่มเพื่อน    

14 ส.ค.62 - จากกรณีเกิดเหตุความรุนแรงต่อนายเอกชัย อิสระทะ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคใต้  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุงเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอประทานบัตรที่ 1/2562 โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง) ของบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด ที่จัดขึ้น ณ มัสยิดอัสซอลีฮีน ม.4 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง  

โดยในทันทีที่นายเอกชัยไปถึงสถานที่จัดเวทีฯก็ได้ถูกชายฉกรรจ์มากกว่าสิบคนขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมเวทีและยึดโทรศัพท์มือถือ รถยนต์ บัตรประจำตัวประชาชน และบังคับควบคุมตัวออกจากสถานที่จัดงานนำไปกักขังไว้ในสถานที่แห่งหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงจนกระทั่งการจัดเวทีฯเสร็จสิ้นจึงถูกปล่อยตัวออกมา  โดยทำการลบข้อมูลทุกอย่างออกจากโทรศัพท์มือถือและกล้องหน้ารถและข่มขู่ไม่ให้แจ้งความดำเนินคดีและห้ามยุ่งเกี่ยวกับการขอประทานบัตรทำเหมืองหินที่นี่อีก  หากไม่ปฏิบัติตามจะไม่รับรองความปลอดภัยของนายเอกชัยและครอบครัว

ล่าสุดเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ออกแถลงการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากนโยบายที่ผิดพลาดในยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ตามกฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยระบุว่า ต้นเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อนายเอกชัยมีองค์ประกอบของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในกิจการเหมืองแร่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  กล่าวคือ  พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 หรือกฎหมายแร่ฉบับใหม่บัญญัติให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนแม่บทในการบริหารจัดการแร่ขึ้นมาโดยพื้นที่ที่จะกําหนดให้เป็น เขตแหล่งแร่เพื่อการทําเหมือง

 ต้องไม่ใช่พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  เขตโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  เขตพื้นที่ที่มีกฎหมายห้ามการเข้าใช้ประโยชน์โดยเด็ดขาด  พื้นที่เขตปลอดภัยและความมั่นคงแห่งชาติ  หรือพื้นที่ แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม  แต่ในความเป็นจริงคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่งได้จัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 – 2564 ขึ้นมาโดยละเว้นให้พื้นที่แหล่งหินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมและประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ประกาศก่อนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ 

และที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง) ของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว แต่ไม่สามารถประกาศได้ทันก่อนวันที่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ให้เป็น เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองทั้งหมด  ทั้ง ๆ ที่พื้นที่แหล่งหินฯตามมติ ครม. และประกาศฯดังกล่าวจำนวนมากล้วนเป็น แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึมซึ่งควรถูกรื้อหรือปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อยกเว้นหรือกันพื้นที่แหล่งหินฯที่เป็นแหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึมออกไปจากการเป็นพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างตามมติ ครม. และประกาศฯดังกล่าวเสียก่อน

ด้วยเหตุนี้  การจัดทำเอกสารทางยุทธศาสตร์และแผนแม่บทฯที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ของ คนร. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ด้วยจึงถือว่าเป็นต้นเหตุของความรุนแรงต่อนายเอกชัย  เพราะคาดว่าเขาน้อยที่เป็นแหล่งหินตามคำขอประทานบัตรของบริษัทดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายเป็น แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม ที่ต้องถูกกันออกจากการเป็น เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองที่ไม่สามารถนำไปขอประทานบัตรได้ด้วย  

ซึ่งถ้าหากการจัดทำเอกสารทางยุทธศาสตร์และแผนแม่บทฯไม่ถูกบิดเบือนแต่สอดคล้องต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ก็จะทำให้เขาน้อยที่น่าจะเข้าข่ายเป็นแหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึมถูกกันออกจากการเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามมาตรา 17 วรรคสี่อย่างแน่นอน  และบริษัทดังกล่าวก็จะไม่สามารถนำเขาน้อยมาดำเนินการขอประทานบัตรได้  และเมื่อไม่สามารถนำเขาน้อยมาดำเนินการขอประทานบัตรได้ก็จะไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นกับเอกชัยอย่างแน่นอนตามไปด้วย     

ด้วยสาเหตุที่กล่าวมา  นอกจากรัฐจะต้องเร่งรัดจับกุมผู้กระทำผิดที่ก่อเหตุความรุนแรงด้วยการอุ้มขังนายเอกชัยมาลงโทษให้ได้โดยเร็ว  เพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจสุ่มเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตนายเอกชัย อิสระทะแล้ว  เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ขอเรียกร้องให้รัฐดำเนินการเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหารอบด้าน  ดังนี้ 1. ให้ยกเลิกยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 – 2564 ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 และให้จัดทำขึ้นใหม่โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึงและรอบด้าน  

โดยต้องยกเว้นหรือกันพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมและประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ประกาศก่อนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้ และที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง) ของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว แต่ไม่สามารถประกาศได้ทันก่อนวันที่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ที่เข้าข่ายเป็นแหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม ที่ไม่สามารถนำไปขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองได้ออกจากเขตแหล่งเพื่อการทำเหมือง ให้ชัดเจน

2. ขอให้ยกเลิกเพิกถอนคำขอประทานบัตรที่ 1/2562 เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง) ของบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด  เนื้อที่ 67 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง  โทษฐานที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฝ่าฝืนกฎหมายแร่ฉบับใหม่และกฎหมายอื่น ๆ ที่ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็ทางอ้อมกับการจ้างวานกลุ่มบุคคลให้ก่อเหตุความรุนแรงต่อนายเอกชัย อิสระทะ 3. ให้ยกเลิกเพิกถอนเขาน้อยในเขตท้องที่ ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ที่เป็นแหล่งหินตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2562 ของบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด ออกจากการเป็นพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีและประกาศฯดังกล่าว  เพราะเข้าข่ายเป็น แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม’ที่ไม่สามารถนำไปขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองได้

4. ให้การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุงเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอประทานบัตรที่ 1/2560 โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง) ของบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด ที่จัดขึ้น ณ มัสยิดอัสซอลีฮีน ม.4 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เป็นโมฆะ  เนื่องจากไม่เป็นไปตามแนวทางการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายแร่และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  เพราะมีการขัดขวางไม่ให้คนเห็นต่างเข้าร่วมเวที  และเห็นได้ชัดว่าการจัดเวทีไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ  ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียไม่มีโอกาสได้ร่วมเวที  ไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น

5. ให้ทำการลงโทษและเพิกถอนบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด ออกจากการเป็นบริษัท  หรือห้ามไม่ให้บริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด (หรือบริษัทแปลงโฉมมาในชื่ออื่นแต่เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการจากบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด) ดำเนินกิจการการขออาชญาบัตรเพื่อขอสำรวจแร่และขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ใด ๆ อีกในอาณาเขตประเทศไทย  ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็ทางอ้อมกับการจ้างวานกลุ่มบุคคลให้ก่อเหตุความรุนแรงต่อนายเอกชัย อิสระทะ  .
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"