รัฐบาลลุงตู่สนิมเริ่มเกาะ เมินฝีมือกู้วิกฤติการเมือง


เพิ่มเพื่อน    

 ความปลอดภัยต้องมาก่อน โพลชี้หวั่นบึ้ม! เต็มเมืองมากกว่าปัญหารัฐธรรมนูญ ถอดใจรัฐนาวา "บิ๊กตู่" ไม่มั่นใจฝ่าวิกฤติการเมืองได้ หยุดทะเลาะ ถอยคนละก้าว ทางออกประเทศ ขณะที่เฟกนิวส์โลกออนไลน์ไม่สะเทือน ผลสำรวจสะท้อนประชาชนยังไม่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ยันเสพสื่อโดยใช้วิจารณญาณ พร้อมตัดปัญหาไม่แชร์ส่งต่อ

    เมื่อวันอาทิตย์ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ หลังจากที่รัฐบาลประยุทธ์ 2 เข้ามาบริหารประเทศได้ไม่นาน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์บ้านเมือง จำนวนทั้งสิ้น 1,182 คน ระหว่างวันที่ 14-17 สิงหาคม 2562 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. “5 อันดับ สถานการณ์การเมืองไทย” ณ วันนี้ ที่ประชาชนเป็นห่วงมากที่สุด อันดับ 1 ระเบิดใน กทม. 83.30% เพราะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ประชาชนรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวล อาจมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างสถานการณ์อีก ฯลฯ, อันดับ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 65.59% เพราะ    เป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้ง ยังมีช่องโหว่หลายจุด เกรงว่าจะยืดเยื้อ กฎหมายต้องเป็นกลาง มีความเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ
    อันดับ 3    วิวาทะระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน  64.94% เพราะมีแต่เรื่องทะเลาะเบาะแว้ง ความขัดแย้งฝังรากลึก เป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ มุมมองแนวคิด การทำงานที่แตกต่างกัน ฯลฯ, อันดับ 4 การถวายสัตย์ฯ ของนายกรัฐมนตรี 56.60% เพราะ เป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านนำมาโจมตี ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของนายกฯ โดยตรง ฯลฯ, อันดับ 5 การแยกตัวของพรรคเล็กบางพรรคจากรัฐบาล 55.62% เพราะส่งผลต่อเสถียรภาพและคะแนนเสียงของรัฐบาล รัฐบาลมีปัญหาเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการต่อรองตำแหน่งของพรรคเล็ก ฯลฯ
    ในการสำรวจข้อ 2 ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการฝ่าวิกฤติทางการเมืองของรัฐบาล ณ วันนี้ มากน้อยเพียงใด อันดับ 1 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 38.70% เพราะรัฐบาลโดนเพ่งเล็งหลายเรื่อง ถูกคัดค้านต่อต้าน ไม่เป็นที่ยอมรับ การเมืองมีแต่แก่งแย่ง ต่อรองตำแหน่งเพื่อผลประโยชน์ ฯลฯ, อันดับ 2 ไม่เชื่อมั่น 36.06% เพราะสถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน เป็นรัฐบาลปริ่มน้ำ ไม่มีเสถียรภาพ ก่อนที่จะเริ่มจัดตั้งรัฐบาลก็มีปัญหามาโดยตลอด ฯลฯ, อันดับ 3 ค่อนข้างเชื่อมั่น  19.27% เพราะเคยเป็นรัฐบาลมาก่อน มีประสบการณ์ทางการเมือง ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง น่าจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ฯลฯ
    ขณะที่ผลสำรวจในข้อ 3 ระบุว่า ใคร? ที่ประชาชนคิดว่าจะสามารถช่วยฝ่าวิกฤติทางการเมืองให้ผ่านไปได้ คือ อันดับ 1 ประชาชน 36.73% เพราะ ประชาชนมีสิทธิมีเสียงตามระบอบประชาธิปไตย ควรรับฟังเสียงของประชาชน ทุกคนอยากเห็นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้า ฯลฯ, อันดับ 2 ฝ่ายค้าน 27.46% เพราะมีหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล คอยคานอำนาจไม่ให้รัฐบาลมีอำนาจมากเกินไป มีนักการเมืองรุ่นใหม่ๆ หลายคน ฯลฯ, อันดับ 3 ฝ่ายรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้นำ 21.86% เพราะมั่นใจในตัวนายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นในศักยภาพ มีความเป็นผู้นำ เด็ดขาด รัฐบาลมีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองอย่างเต็มที่ ฯลฯ
    และข้อสุดท้ายในผลสำรวจคือ ข้อ 4 ทำอย่างไร การเมืองไทย ณ วันนี้ จึงจะผ่านพ้นวิกฤติ
อันดับ 1    หยุดการทะเลาะเบาะแว้ง ถอยคนละก้าว รับฟังความเห็นต่างให้มากขึ้น    56.88%, อันดับ 2    ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต้องเห็นแก่ส่วนรวม ร่วมมือกันทำงานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง    49.32%, อันดับ 3 ช่วยกันปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 21.94%
    วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ (Website, E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น) เรื่อง “ข่าวปลอม (เฟกนิวส์)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,522 หน่วยตัวอย่าง ระบุว่า จากการสำรวจเมื่อถามถึงการใช้สื่อออนไลน์ (Website, E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.86 ระบุว่าใช้สื่อออนไลน์ และร้อยละ 27.14 ระบุว่าไม่ใช้สื่อออนไลน์ 
    เมื่อถามผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ว่าหลงเชื่อข่าวปลอม (เฟกนิวส์) ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.23 ระบุว่าไม่เคยหลงเชื่อในข่าวปลอม รองลงมา ร้อยละ 27.59 ระบุว่าเคยหลงเชื่อในข่าวปลอม และร้อยละ 11.18 ระบุว่าไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่
    และเมื่อถามผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม (เฟกนิวส์) จากสื่อออนไลน์ว่ากระทำอย่างไรกับข่าวปลอม (เฟกนิวส์) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.09 ระบุว่าไม่เคยแชร์ข่าวใดๆ รองลงมา ร้อยละ 24.42 ระบุว่ารู้ว่าเป็นข่าวปลอม และไม่แชร์, ร้อยละ 19.07 ระบุว่าไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ จึงไม่แชร์, ร้อยละ 9.77 ระบุว่าเฉยๆ เมื่อรู้ว่าข่าวที่แชร์ไปเป็นข่าวปลอม, ร้อยละ 6.28 ระบุว่าไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ แต่แชร์, ร้อยละ 4.88 ระบุว่าไม่รู้ว่าเป็นข่าวปลอม และแชร์, ร้อยละ 3.49 ระบุว่า รู้ว่าเป็นข่าวปลอม แต่แชร์, ร้อยละ 0.70 ระบุว่าเคยทำข่าวปลอม และแชร์, ร้อยละ 0.47 ระบุว่าพยายามแก้ปัญหาเมื่อรู้ว่าข่าวที่แชร์ไปเป็นข่าวปลอม และร้อยละ 0.23 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ อ่านโดยใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ว่าเป็นข่าวปลอมข่าวจริง
     สำหรับความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม (เฟกนิวส์) จากสื่อออนไลน์ ต่อการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.98 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะจะได้มีการกลั่นกรองข่าวก่อนที่จะแพร่หลายไปวงกว้าง เพราะสมัยนี้มี E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น เกือบทุกคน จะได้มีการเกรงกลัวและไม่แชร์ข่าวปลอม และส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.84 ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับศูนย์ต้านข่าวปลอม ที่อาจจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง 
     ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.80 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ,  ตัวอย่างร้อยละ 48.55 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.45 เป็นเพศหญิง, ตัวอย่างร้อยละ 29.04 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, ร้อยละ 31.60 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"