เพิ่มขีดความสามารถพันธมิตรสุขภาวะ พัฒนา "แหล่งเรียนรู้"


เพิ่มเพื่อน    

ไทยมีแหล่งเรียนรู้มากมายหลายแห่งที่สะท้อนถึงความพยายามในการสนับสนุนข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงก่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลและองค์ความรู้ของประชาชน อย่างไรก็ดีแนวทางการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้จำนวนมากยังขาดประสิทธิภาพและไม่ดึงดูดผู้คนเข้ามาเรียนรู้ เหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือเครือข่ายพันธมิตรจัดอบรม “พัฒนาศักยภาพสร้างเสริมสุขภาวะ” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจสู่แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่กว่า 174 แห่ง โดยมีแกนนำพันธมิตรสุขภาวะ จำนวน 339 คนจากทั่วทุกภูมิภาคเข้าร่วมการอบรมพัฒนาศักยภาพ

             

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า การจัดอบรม “พัฒนาศักยภาพสร้างเสริมสุขภาวะ” เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรทั่วทุกภูมิภาค โจทย์ คือ การขยายแหล่งเรียนรู้ของพันธมิตรออกไปให้เป็นวงกว้างมากขึ้น มีเป้าหมายให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน การเสริมศักยภาพในขีดความสามารถ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยขีดความสามารถไม่ได้หมายความว่าจะต้องมียาที่ดี แต่เป็นการรู้จักดูแลตนเอง เช่น มีพฤติกรรมและวิถีชีวิตอย่างไร ปัจจัยก่อให้เกิดโรค วิธีการหลีกเลี่ยงการเสียสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี การขยายผลให้เกิดแหล่งเรียนรู้สุขภาวะต้องการเจ้าภาพใหม่ นอกเหนือจากแพทย์ พยาบาล แต่จะเกิดจากแหล่งชุมชน สถานศึกษา สถานบริการด้านการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการร่วมมือให้เกิดการพัฒนา สร้างแหล่งเรียนรู้เดิมที่มีอยู่ให้เห็นข้อมูลเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทั้งจัดทำสื่อที่ถูกต้อง การเรียนรู้กับสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ตลอดจนวิธีป้องกันตนเองจากปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

             

“การจัดอบรมครั้งนี้ สสส.ตั้งใจให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้จากการทำกิจกรรมถอดบทเรียนในด้านต่างๆ เช่น พื้นที่ปลอดบุหรี่ การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรมการลดพุง ลดโรค เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่งให้เกิดกิจกรรมทางกายมากขึ้น ความรู้นี้จะทำให้เกิดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ มีการดูดซับข้อมูลเพื่อขยายผลให้ประชาชนได้เข้ามาศึกษาข้อมูล เกิดแหล่งเรียนรู้สุขภาวะที่มีคุณภาพ หมายถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเกิดสังคมสุขภาวะที่ขยายวงกว้างทั่วทุกพื้นที่” ดร.สุปรีดากล่าวทิ้งท้าย

             

ทางด้าน นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรในเรื่องสุขภาวะจะช่วยสร้างให้คนในประเทศไทยมีขีดความสามารถดูแลสุขภาพมากขึ้น เน้นการสร้างสรรค์ที่เอื้อต่อสุขภาวะ จนเกิดแหล่งเรียนรู้ให้เป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิต โดยมีเป้าหมายสร้างความตระหนักในการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะ เกิดทักษะการออกแบบสื่อสารสุขภาวะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงาน มีการต่อยอด ขยายผลของแนวคิด และเชื่อมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ทั้งนี้ในการทำงานของ สสส.จะประสานความร่วมมือ เชิญผู้แทนจากแหล่งเรียนรู้เข้าร่วมอบรม โดยให้ระบุหัวข้อที่สนใจ ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ เน้นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทยในอนาคต การเรียนรู้องค์ประกอบของสุขภาวะทั้ง 4 ประเด็น คือ ผู้สูงอายุ ลดพุง ลดโรค บุหรี่ สุขภาวะทางเพศ พร้อมให้ออกแบบจัดทำสื่อขนาดเล็กแสดงผลงานการสื่อสารด้านสุขภาวะ และเป็นผู้ร่วมจัดทำแผนการดำเนินงานชุดสื่อด้านการขยายผล

             

“นอกจากนี้ สสส.ยังได้ออกแบบกระบวนการอบรมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและภาคีเครือข่ายสุขภาพ อาทิ เครือข่ายคนไทยไร้พุง, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดกิจกรรม ‘สุขภาพดีสร้างได้ เริ่มที่ตัวเรา’ ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนนี้ สุดท้ายการดำเนินการอบรมจะถอดบทเรียน รวบรวม สรุปผลแบบสื่อสารสุขภาวะในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพของแต่ละพื้นที่อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด” นางเบญจมาภรณ์กล่าวทิ้งท้าย

             

นางสาวนูรีซัน บิลยีหลี นักวิชาการศึกษาเทศบาลเมืองบ้านพรุ บอกว่า ห้องสมุดมีชีวิตทำให้เกิดสังคมสุขภาวะมากขึ้น สำหรับการทำแหล่งเรียนรู้ที่อุทยานการเรียนรู้บ้านพรุใช้ชื่อว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” มีหน้าที่จัดหาข้อมูลสำคัญ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทักษะการดำรงชีวิต เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และที่ขาดไม่ได้คือ การดูแลสุขภาพ เน้นจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่ผ่านมาจัดโครงการสัญจรลงพื้นที่เพื่อเผยแพร่ความรู้ การเรียนรู้ ให้เข้าถึงกลุ่มคนที่ไม่สามารถเดินทางมาที่ศูนย์เรียนรู้ได้ เช่น กิจกรรม BBL (Brain-Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและการทำงานของสมองเหมาะกับทุกช่วงวัย ประชาชนเกิดการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพตนเอง ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้คนในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องและนำไปปฏิบัติได้จริง

             

“การเข้าร่วมโครงการ ‘พัฒนาศักยภาพสร้างเสริมสุขภาวะ’ ของ สสส. สะท้อนให้เห็นว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องได้รับข้อมูลข่าวสาร ทั้งเรื่องสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องครบถ้วนผ่านแหล่งเรียนรู้ในการนำเสนอและเชื่อมข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมไทยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ต้องเริ่มจากการดูแลตนเองและยอมรับว่ากิจกรรมดีๆ ต้องใช้เวลาในการตกผลึกของข้อมูล ทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น” นางสาวนูรีซันกล่าวทิ้งท้าย

             

การสร้างสังคมสุขภาวะต้องใช้ความร่วมมือจากคนทุกช่วงวัยเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ ทั้งเรื่องการเลือก รับ ปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่ของตนเอง ต้องอาศัยแกนนำที่ผ่านการอบรมเรียนรู้จากข้อมูลที่ถูกต้องเป็นหัวใจหลักเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เกิดสังคมสุขภาวะอย่างมั่นคงส่งต่อให้ลูกหลานอย่างสมบูรณ์.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"