สืบสานเพลงพื้นบ้านสู่คนรุ่นลูกหลาน พันธกิจชีวิต “แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์”


เพิ่มเพื่อน    

(ขวัญจิต ศรีประจันต์)

 

      ถ้าเอ่ยชื่อจริงอย่าง “เกลียว เสร็จกิจ” หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดชื่อ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี 2539 (เพลงพื้นบ้าน-เพลงอีแซว) รับรองทุกคนเป็นต้องร้องอ๋อ ด้วยสำเนียงเน่อสุพรรณฯ ที่ฟังสบายและจิตใจเป็นกันเอง และยิ่งได้ฟังเพลงพื้นบ้านอย่างเพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงแหล่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากน้ำเสียงแหบเสน่ห์ของแม่ขวัญจิต ก็ยิ่งรู้สึกไพเราะเสนาะหู อีกทั้งการคิดกลอนสดที่ไพเราะ และร้องโต้ตอบออกไปกับชาวคณะ ก็สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างมาก

      นอกจากเป็นเจ้าของคณะเพลงพื้นบ้านซึ่งใช้ชื่อ “ขวัญจิต ศรีประจันต์” ที่โด่งดังในแถบภาคกลางแล้ว เจ้าตัวยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์เพลงพื้นบ้านไม่ให้สูญหาย โดยการเปิดสอนให้กับผู้ที่สนใจทั้งเยาวชนและโรงเรียน ตลอดองค์กรจากเหนือจรดใต้ที่สนใจ กระทั่งทำให้ปัจจุบันเพลงพื้นบ้านนั้นไม่เพียงไม่สูญหาย แต่ลูกเด็กเล็กแดงหลายคนก็ยังร้องรำได้อย่างไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ ไล่มาถึงการดูแลสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของแม่ขวัญจิตในวัย 72 ปี ที่น่าสนใจไม่แพ้การทำงานด้านการเป็นศิลปินพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมายาวนาน

      แม่ขวัญจิต บอกว่า การดูแลสุขภาพของตัวเองนั้น จะอยู่แบบบ้านๆ หรือแบบชาวบ้านทั่วไป เพราะเจ้าตัวคุ้นเคยกับอาหารการกินพื้นบ้าน แม้ปัจจุบันจะอาศัยอยู่ กทม.ก็ยังใช้ชีวิตเหมือนคนต่างจังหวัด ทั้งนี้ อาหารการกินของเจ้าตัวไม่ใช่ของดีอย่างหูฉลาม เนื่องจากรสชาติไม่คุ้นลิ้น แต่เจ้าตัวชอบกินน้ำพริก ผักต้ม และแกงส้มผักรวม ที่กินแกล้มกับปลาทอดตัวเล็กๆ หรือปลาทู ปลาช่อนที่หาได้ตามท้องทุ่ง ซึ่งหมดทั้งมวลล้วนเป็นกับข้าวของคนสมัยก่อน ที่เจ้าตัวยังรับประทานอยู่เป็นประจำ

      “สำหรับการออกกำลังกาย ทุกเช้าๆ เวลาที่ตื่นขึ้นมาก็จะยกแขนยกขา เพื่อเป็นการวอร์มอัพร่างกายหลังตื่นนอน จากนั้นก็จะออกไปเดินเล่นรอบๆ บ้าน แต่ 3 ปีที่ผ่านมานี้ก็จะเดินออกกำลังตอนเช้าน้อยลง เพราะเวลาที่เดินมากๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ จึงเหลือเพียงการขยับแขนขยับขา วอร์มอัพร่างกายเบาๆ เพื่อเรียกความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าให้ตัวเอง และแม้ปัจจุบันจะเดินไม่ค่อยตรง ตัวโยกไปมา แต่ก็สามารถเดินได้นานขึ้น เนื่องจากปัจจุบันยังมีงานแสดงเพลงพื้นบ้านอยู่บ้าง และมีงานประจำอย่างการสอนเพลงพื้นบ้านให้กับเด็กๆ หรือสถานศึกษาต่างๆ อีกทั้งยังไปธุระในสถานที่ต่างๆ อยู่เป็นประจำ”

      ส่วนการทำงานในปัจจุบัน แม้ว่าอายุจะเข้าสู่หลัก 7 แล้ว เจ้าตัวยังรับงานแสดงเพลงพื้นบ้าน ตลอดจนโชว์ร้องเพลง และยังเป็นครูสอนศิลปะการร้องเพลงพื้นบ้านให้กับวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ตลอดจนผู้ใหญ่ในชุมชนจากภาคต่างๆ ที่สนใจเพลงพื้นบ้าน เจ้าตัวก็ไปอบรมให้ความรู้ แม้จะยังรับงานแสดงอยู่ แต่ปัจจุบันอาจจะไม่ได้ทำงาน ตรากตรำเหมือนเช่นเคย เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไป จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้การรับงานไม่ได้หนักเหมือนเมื่อก่อน

      “ทุกวันนี้ก็ยังทำงานเหมือนเดิมค่ะ แต่ว่าอาจจะไม่ได้ตรากตรำเหมือนก่อน เพราะสมัยก่อนเวลาที่ไปแสดงจะใช้รถที่ไม่มีแอร์ แม้จะมีฝุ่นละอองแต่ก็ไม่เป็นไร แต่ทุกวันนี้อากาศร้อนขึ้นก็ทำให้กระทบต่อสุขภาพบ้าง ประกอบงานจ้างโชว์ร้องเพลงพื้นบ้าน ก็จะมีระยะเวลาที่ไม่นานมาก พูดง่ายๆ ว่าไม่เกิน 3 ชั่วโมง แต่ก็ยังมีงานอยู่เรื่อยๆ ค่ะ และตอนนี้แม่ขวัญจิตก็มีงานประจำอย่างการเป็นครูสอนร้องเพลงพื้นบ้านให้กับนักเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรีทุกวันพฤหัสบดี และก็ไปสอนรองเพลงพื้นบ้านให้กับผู้ใหญ่ตามจังหวัดต่างที่สนใจ ล่าสุดก็มี จ.นครสวรรค์ และไปสอนเด็กระดับประถมศึกษาที่ จ.ระยอง ซึ่งแต่ละจังหวัดที่ไปก็ไปหลายวันค่ะ

      ที่สำคัญเวลาที่รับงานต่างๆ แม่ขวัญจิตก็จะบริหารเวลาให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะต้องไปรับงานโชว์ ก็จะปรับเวลาสอนพิเศษ โดยขยับเวลาเข้ามาให้เร็วขึ้น แต่สอนชั่วโมงเท่าเดิม เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเรียนของเด็กๆ ค่ะ นอกจากนี้ในช่วงปิดเทอมใหญ่ อย่างเดือนตุลาคม ก็เปิดสอนให้ความรู้เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านกับเด็กๆ ที่สนใจค่ะ โดยใช้พื้นที่บ้านของตัวเองเป็นที่สอน ที่สำคัญมองว่าเรื่องการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านโดยถ่ายทอดให้เด็กยุคใหม่นั้น สามารถจะคงอยู่ต่อไปอย่างแน่นอนค่ะ”

      การใช้ชีวิตและการทำงานถือว่าลงตัว โดยเฉพาะเรื่องของการสืบสานเพลงพื้นบ้าน ที่เจ้าตัวบอกว่าอย่างน้อยๆ เด็กเยาวชนรุ่นใหม่ก็ยังคงสืบสานศิลปะแขนงดังกล่าว เพื่อส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างแน่นอน ส่วนเรื่องชีวิตครอบครัวนั้น แม่ขวัญจิตบอกว่าเจ้าตัว มีลูก 3 คน ลูกคนโตเปิดบริษัททำธุรกิจส่วนตัว ส่วนคนเล็กก็เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการติดต่อประสานงานในการรับงาน ผ่านทางโซเชียล และส่งบทร้องเนื้อเพลงและทำนองในการรับงานแสดงพื้นบ้านให้เจ้าตัวได้อ่าน ก่อนออกงาน

      “สิ่งที่เป็นห่วงเรื่องลูกหลานก็มีเป็นธรรมดาค่ะ โดยเฉพาะการที่เราอยากให้ลูกๆ นั้นประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้อย่างเป็นปึกแผ่น เพราะทุกวันการแข่งขันในทุกอาชีพมีค่อนข้างเยอะ แต่ทุกวันนี้ลูกๆ ก็ทำงานของตัวเองได้เป็นอย่างดี ก็หายห่วงในระดับหนึ่ง ส่วนเรื่องหลานนั้น เนื่องจากมีหลาน 2 คน ที่กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยนอกระบบ ก็อยากให้หลานตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ซึ่งทุกคนก็ช่วยสนับสนุนเขาทั้งเรื่องกำลังทรัพย์และการให้กำลังใจเรื่องการเรียนค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"