ปักหมุดให้คนรุ่นใหม่เติบโตทางความคิด สสส.ผนึกพันธมิตรจัด CONNECT FEST


เพิ่มเพื่อน    

สสส.มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ร่วมกับมิวเซียมสยาม จัด CONNECT FEST จุดประกายพลังที่แตกต่างสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ปักหมุดให้คนรุ่นใหม่เติบโตทางความคิด กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา จ.ขอนแก่น คิดบอร์ดเกมจากปัญหาสร้างรถไฟคู่ขนานลอยฟ้าโคราช-ขอนแก่น ชุมชนริมทางรถไฟอยู่ 2 ชั่วรุ่นถูกไล่รื้อกลายเป็นคนไร้บ้าน อาสาสมัคร HOST กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้ลี้ภัยตะเข็บชายแดนไทย 9 จังหวัด 1 แสนคน ต่อยอดผลงาน CRAFT ชาวเขาเพิ่มมูลค่า

               

เทศกาลแห่งแรงบันดาลใจจากเครือข่ายคนรุ่นใหม่ จัดโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ร่วมกับมิวเซียมสยาม สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เชิญชวนคนรุ่นใหม่สนุกกับเวทีการแสดงกลางแจ้ง CONNECT FEST ที่พิพิธภัณฑ์สยามทดลองทำงานคราฟต์เก๋ๆ ด้วยตัวเอง ชิมของอร่อยจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เปิดพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนความแตกต่างหลากหลาย ร่วมคุยถึงโลกที่เราฝัน ปักหมุดถึงคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ 

               

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เกิดจากความไม่เข้าใจกันของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต การนับถือศาสนา วัฒนธรรมระดับชุมชนหรือภูมิภาค การทำมาหากิน ความคิด ความเชื่อทางการเมืองและการพัฒนา ส่วนใหญ่คนทั่วไปต้องการให้ทุกคนคิดเหมือนกัน แต่ความเป็นจริงแล้วสังคมแบ่งแยกคนเป็นฝักฝ่าย ส่งผลให้สังคมประชาธิปไตยของไทยไม่ได้เดินหน้าอย่างแท้จริง โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมรุ่นที่ 3

               

การขยายผลให้คนรุ่นใหม่นำศักยภาพของตนเองเปลี่ยนแปลงสังคมจากเล็กสู่ใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดของเมืองไทย ใช้แนวคิดสร้างพื้นที่สื่อสารสาธารณะเป็นรูปแบบงานเทศบาลที่สร้างสรรค์ ให้คนรุ่นใหม่และคนที่ทำงานด้านสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดและวิธีการทำงาน ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางความคิดและวัฒนธรรมความเป็นไทยในมิติต่างๆ ทั้งการศึกษา สิ่งแวดล้อม สื่อสร้างสรรค์สังคม คนจนเมือง ศาสนา ชาติพันธุ์ พื้นที่สร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรม คาดหวังว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลาย

               

บอร์ดเกม Play in Problem คล้ายกับเกมเศรษฐี โดยกลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา จ.ขอนแก่น เนื่องจาก จ.ขอนแก่นจะมีการสร้างรถไฟยกระดับและรถไฟความเร็วสูงจากโคราช-ขอนแก่น ซึ่งจะย่นเวลาเดินทางเหลือเพียงครึ่งชั่วโมง ใช้พื้นที่ฝั่งละ 20 เมตร เป็น 40 เมตร ชุมชนริมทางรถไฟต้องถูกเวนคืน จะต้องย้ายออกไปนอกตัวเมือง จากเดิมที่ทำงานอยู่ในเมืองได้รับผลกระทบ ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงจัดทีมสำรวจลงพื้นที่ด้วยการเข้าไปสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเป็นเวลา 1 ปี และนำเสนอปัญหาให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นบอร์ดเกม การที่คนถูกไล่รื้อออกจากพื้นที่เดิม ซึ่งเคยเช่าที่ดินจากการถไฟมาแล้ว 2 รุ่น 70 ปี ต้องหาที่อยู่ใหม่ กลายเป็นคนไร้บ้านหน้าใหม่ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคนจนเมืองมากขึ้น และยังต้องสูญเสียอาชีพ ขณะนี้ชาวบ้านมากกว่า 100 ครัวเรือนมีการเรียกร้องขอเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ 5 ไร่ ให้อยู่ในเมือง ใช้ชีวิตปกติ มีอาชีพเดิม ค้าขายในพื้นที่เขตรับจ้างทั่วไป

               

Photo Exhibition 5 ปี เมื่อคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศสร้างงานและมองเห็นปัญหา ต้องการสื่อสารผ่านภาพถ่ายจากสายตาตนเอง ร้อยเส้นหลากสีคนรุ่นใหม่ เพื่อการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกต่อคนไร้บ้าน (Photo Homeless ในช่วง 5 ปีที่นักศึกษาเปลี่ยนสถานะเป็นคนทำงานในพื้นที่ทั่วประเทศไทยในบรรยากาศความสุข ความกดดัน เศร้าหมอง สิ้นหวัง เป็นการเปิดโลกเรียนรู้กับอาชีพที่สร้างรายได้ในอนาคต เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน

               

Amnesty International ช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน “มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นใคร อาศัยอยู่ที่ใด ทุกคนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกัน” บ้านกาญจนนา ก้าวที่พลาด คุณเคยผิดพลาดมั้ย คุณอยากได้โอกาสแค่ไหน? โอกาสสำคัญกับคุณอย่างไร? ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก  โครงการพลเมืองอาสา เย็นย่ำธารา: ณ มิวเซียมสยาม เทศกาลแห่งแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่จากทั่วประเทศนำผลงานความคิดความฝันจากแรงบันดาลใจมาเจอกัน ผลงานศิลปะที่ผ่านการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเรื้อรัง ติดเตียง ด้อยโอกาสที่มีค่าใช้จ่ายรายวัน รายเดือน ซื้อของสิ้นเปลือง แผ่นผ้ารองซับ กางเกงผ้าอ้อม กระดาษชำระ สำลี อาหารเหลว สายดูดเสลด

               

อาสาปรับภูมิทัศน์ บ้านเด็กอ่อน จ.นนทบุรี อาสาฟื้นฟูชุมชนคลองขนมจีน อ.เสนา จ.อยุธยา ลงลายกระเป๋าสร้างห้องสมุดบ้านดนตรี อ.อัมพวา สมุทรสงคราม อาสารักษ์ป่าชุมชน บ้านป่าคู้ จ.กาญจนบุรี อาสาสืบสานภูมิปัญญา บ้านถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

               

ชุมชนที่จัดบู้สหน้าพิพิธภัณฑ์สยาม กลุ่มคนรักบ้านเกิด 6 หมู่บ้าน จ.เลย บ้านห้วยผุกหมู่ 1 บ้านกกสะทอน หมู่ 2 บ้านนาหนองบง หมู่ 3 บ้านแก่งหิน หมู่ 4 บ้านโนนผาพุงพัฒนา หมู่ 12 บ้านภูทับฟ้าพัฒนา หมู่ 13 ประสบปัญหาเหมืองทองคำซึ่งดำเนินงานโดย บ.ทุ่งคำ จำกัด (มีบริษัทแม่ผลิตดีบุกอยู่ที่ทุ่งคาฮาร์เบอร์ภูเก็ต) ตั้งรอบหมู่บ้านบนภูเขา ทำให้มีไซยาไนด์ปนเปื้อนซึมเข้าแหล่งน้ำ ชาวบ้านรวมกันต่อสู้เป็นเวลา 10 ปีเพื่อปิดเหมืองทองคำ ขณะนี้โรงงานปิดทิ้งร้าง และคณะ กก.พิทักษ์ทรัพย์เข้าไปดูแลทรัพย์สิน

               

กลุ่มรักษ์บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง นำโดยแม่บัวเขียว นำกระเทียมอินทรีย์พื้นเมืองพันธุ์ 100 ปี ใช้ปุ๋ยธรรมชาติจากมูลค้างคาว มูลหมู มูลไก่ มูลควาย หมักรวมกัน ใส่ฮอร์โมนไข่ไก่ลงในต้นกระเทียม ใช้น้ำจากลำห้วยรด ไม่ชอบน้ำมากจะเป็นเพลี้ย ชอบอากาศหนาวและน้ำค้าง ไม่ใช้สารเคมีรวมกลุ่มกันปลูกกระเทียมแปลงทดลอง กลุ่มกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มดอกไม้ยิ้มจากยะลา ทำขนมพื้นบ้าน เรื่องเล่าและวิถีชีวิตมาดูฆาตง เป็นขนมพื้นบ้าน  อาสาสมัครนักสิทธิ เป็นอาสาสมัครเพื่อสังคมจากทั่วประเทศ ทำงานในองค์กรเรียนรู้ 1 ปี มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ยะลา ฯลฯ

               

Host International refugeesนำโดยMatilda Herben ณัฐรดา ยนยุบล ตัวแทนจาก Community Outreach Officer Asylum access Thailand ทำงานเป็นอาสาสมัครดูแลผู้ลี้ภัยตามแคมป์ชายแดนไทย 9 แห่ง แม่สอด กาญจนบุรี ราชบุรี แม่ฮ่องสอน ฯลฯ ให้ทำงานฝีมือสีสันชนเผ่าเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าด้วยการชี้ช่องทางการตลาด ผู้ลี้ภัยในเมืองไทย คือบุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตัวเอง เนื่องจากความหวาดกลัวจากการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต บางคนเลือกใช้เส้นทางเดินเท้าเพื่อข้ามแดนไปยังประเทศอื่นด้วยรถยนต์ เครื่องบิน และเรือ ในเมืองไทยผู้ลี้ภัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่มาจากชนกลุ่มน้อยของประเทศเมียนมา ที่อาศัยอยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราวบริเวณเขตชายแดนไทย-เมียนมา และกลุ่มผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

               

เนื่องจากเมืองไทยไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494 และพิธีสารปี 2510 ทั้งยังไม่มี กม.ภายในประเทศที่ให้การคุ้มครองแก่กลุ่มคนดังกล่าว ผู้ลี้ภัยที่ไม่มีเอกสารถูกต้องตาม กม.หรืออาศัยอยู่ในประเทศไทยจนเกินอายุวีซ่า ไม่ว่าจะได้รับการยอมรับสถานะจาก UNSCR หรือไม่ ต่างก็ถือว่าเป็นคนเข้าเมืองอย่างผิด กม. ภายใต้ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวต่อการโดนจับกุม กักกัน หรือผลักดันกลับไปสู่ประเทศของตน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ

               

เรามีผู้ลี้ภัยทั่วโลก 25.4 ล้านคน 53% ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกมาจาก 3 ประเทศ เซาท์ซูดาน อัฟกานิสถาน ซีเรีย จำนวนผู้ลี้ภัยในประเทศไทยจำนวน 1 แสนคน จำนวนผู้ลี้ภัยในเมือง 5,000 คน แต่ละวันผู้ลี้ภัย 44,000 คน จำเป็นต้องจากบ้านเกิดเพื่อหนีการสังหารและการสู้รบ ประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยมากที่สุด 5 ประเทศ คือ อิหร่าน เลบานอน ปากีสถาน ยูกันดา ตุรกี จำนวนผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามแนวชายแดนเมืองไทยจำนวน 95,644 คน พวกเขามาจาก 40 ประเทศ ปากีสถาน เวียดนาม กัมพูชา ปาเลสไตน์ อิรัก ซีเรีย ฯลฯ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"