คืน"นกกระเรียนพันธุ์ไทย "กลับสู่ธรรมชาติ         


เพิ่มเพื่อน    

       ตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่ในประเทศไทย  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์น้อยใหญ่มากมาย รวมทั้ง นกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่ในอดีตพบเจอได้ง่าย แต่ ปัจจุบันนกกระเรียนไทย กลายเป็นสัตว์หายาก สาเหตุเนื่องจากการพัฒนาและการขยายตัวของเมืองทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งเสื่อมโทรม มีการทำเกษตรที่ใช้สารเคมี  หรือการล่า ที่ยังคงมีการลักลอบทำกันอยู่ทั้งเพื่อนำไปเป็นสัตว์ในครอบครองและเพื่อบริโภค ทำให้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นกกระเรียนพันธุ์ได้ถูกระบุเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในธรรมชาติ  


       ความสุ่มเสี่ยงสูญพันธุ์ของนักกระเรียนพันธุ์ไทย ทำให้ต่อมา ได้มีการจัดให้นกกระเรียนพันธุ์ไทยเป็น 1 ในสัตว์ป่าสงวนตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเป็นสัตว์ในบัญชี 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 


    อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก ต. บ้านบัว จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำ   ก็เคยเป็นแหล่งอยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจำนวนมากมาก่อน จากหลักฐานภาพถ่ายของครอบครัว ครูคุ้ม เอี่ยมศิริ ชาวบ้านอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก ต. ประโคนชัย อ.ประโคนชัย  บ้านบัว จ.บุรีรัมย์ หรือในบันทึกลานกระเรียน ในรัชกาลที่ 5 เป็นหลักฐานว่าเคยมีนกระเรียนอยู่มากมายในจ.บุรีรัมย์  แต่ก็ประสบปัญหาเหมือนพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ คือ นกกระเรียนค่อยๆลดจำนวนลงและเสี่ยงต่อการสูญหาย   และเมื่อมีกฎหมายคุ้มครองนักกระเรียนไทยให้เป็นสัตว์สงวน มีความพยายามอนุรักษ์    ต่อมาชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนบุรีรัมย์กับกัมพูชา ได้นำนกกระเรียนไทยมาบริจาค นอกจากนี้ ยังมีคนที่ครอบครองนกกระเรียนดังกล่าว ได้นำมาส่งคืนอีก ประมาณ 20 ตัว รวมกับที่มีอยู่ในสวนสัตว์นครราชสีมา ซึ่งเป็นสถานที่เพาะขยายพันธุ์นกกระเรียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ไข่นกกระเรียน

 

ลูกนกกระเรียนที่เสัียชีวิตแล้วถูกดองไว้ในขวดเพื่อจัดแสดงในนิทรรศการเกี่ยวกับนกกระเรียนพันธุ์ไทย
                จนในปี 2552 มีลูกนกกระเรียนที่เกิดใหม่รวม 100 ตัว องค์การสวนสัตว์(อสส.) จึงได้มีโครงการปล่อยนกกระเรียนกลับคืนสู่ธรรมชาติใน 6 แหล่งทั้งที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบงคาย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาดและห้วยจระเข้มาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และทุ่งกะมัง  แต่ก็พบว่าไม่ประสบผลสำเร็จ

ปล่อยนกระเรียน10ตัว คืนสู่ธรรมชาติ

                และในปี  2554 ได้มีการทดลองปล่อยนกกระเรียนไทย จำนวน 10 ตัว อีกครั้งที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ จากการติดตามพบว่านกกระเรียนดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติได้ตามปกติ เป็นสัญญาณบ่งชี้ได้ดีว่า พื้นที่ชุ่มน้ำเนื้อที่เกือบ 4 พันไร่แห่งนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารที่เพียงพอ อีกทั้งชาวบ้านยังทำการเกษตรแบบอินทรีย์  และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์นกกระเรียน เป็นเหตุผลให้เกิดการจัดตั้ง ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยองค์การสวนสัตว์(อสส.) ร่วมกับ บริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด(มหาชน) บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น และหน่วยงานพันธมิตร ที่ได้มีการปล่อยนกกระเรียนเพิ่มอีก 10 ตัว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของจังหวัด และดูแลอนุรักษ์เหล่านกกระเรียนพันธุ์ไทยเพื่อให้เป็นถิ่นอาศัยและขยายพันธ์ต่อไปในอนาคต

 

 

    นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ กล่าวว่า เป็นการต่อยอดการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ที่มีความสำคัญระดับโลกในพื้นที่ภาคการผลิต ของกองทุนสิ่งแวดล้อม โดยเป็นงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างจากบริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด(มหาชน) ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และอนุรักษ์ ที่เชื่อมโยงกับวิถีชุมชน อีกทั้งยังต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วย

ณัฐวัฒน์ แปวกระโทก นักวิจัยภาคสนาม สวนสัตว์นครราชสีมา

                นายณัฐวัฒน์ แปวกระโทก นักวิจัยภาคสนาม สังกัดสำนักอนุรักษ์และวิจัยองค์การสวนสัตว์ สวนสัตว์นครราชสีมา ได้เล่าว่า นกกระเรียนพันธุ์ไทย(Eastern Sarus Crane) นับว่ามีลักษณะเด่นที่บินได้สูงที่สุดในชนิดพันธุ์ย่อยของนกกระเรียนพันธุ์เอเชีย ที่มีอีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ นกกระเรียนพันธุ์อินเดีย(Indian Sarus Crane) ในสายพันธุ์ย่อยนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด และนกกระเรียนสายพันธุ์ออสเตรเลีย (Australian Sarus Crane) ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในช่วงที่ไม่มีการพบนกกระเรียนที่ไทย ก็จะพบได้ในบางประเทศเท่านั้น คือ กัมพูชา พม่า และเวียดนาม

พื้นที่บางส่วนที่จัดแสดงนกกระเรียน

 

      นักวิจัยภาคสนาม เล่าต่อว่า จากการที่นกกระเรียนสูญหายไปในธรรมชาติ ทำให้เกิดโครงการวิจัยเพื่อขยายพันธุ์นกกระเรียนทั้งแบบเทียมและแบบธรรมชาติ เพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งก็ได้มีการเรียนรู้จากมูลนิธินกกระเรียนสากล (International Crane Foundation) รัฐวิสคอนซิล สหรัฐอเมริกา ทั้งวิธีการเลี้ยง ที่ผู้เลี้ยงต้องส่วมชุดมาสคอสเพื่อให้กลมกลืน การผสมพันธุ์ มาปรับใช้ในประเทศไทยจนประสบผลสำเร็จ โดยได้เลือกพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ แห่งเดียวในประเทศไทย จากการคัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความเหมาะสมทั้งพื้นที่ที่พบว่ามีหญ้าแห้วทรงกระเทียม เป็นพืชตระกูลกก คล้ายกับสมหวังที่รับประทาน ซึ่งเป็นอาหารทดแทน กินในช่วงฤดูแล้งได้ และชาวบ้านที่มีความเข้าใจและพร้อมมีส่วนร่วมในการดูแลอนุรักษ์ ให้เป็นพื้นที่ปล่อยนกกระเรียนคืนสู่ธรรมชาติ โดยมีการใส่หวงขาที่ตัวนกเพื่อทำการติดตาม เพราะเป็นพื้นที่กว้างขนาดใหญ่

                  “ดังนั้นตั้งแต่ปี 2554 – ปัจจุบัน ได้มีการปล่อยนกกระเรียนทั้งหมด 114 ตัว มีชีวิตรอดในธรรมชาติ 71 ตัว เกิดในธรรมชาติ 15 ตัว และ ในสวนสัตว์นครราชสีมาที่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ราวๆ 100 ตัว และคาดว่าในทุกปีจะมีการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ประมาณ 10-15 ตัว หรือขึ้นอยู่กับการว่างไข่ในปีนั้นๆด้วย” นักวิจัยภาคสนาม เล่า


                นายทองพูน อุ่นจิตต์ ผู้ใหญ่บ้านสวาย ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เล่าให้ฟังว่า จากคำบอกเล่าของรุ่นพ่อแม่ที่มีอายุ 80 ปี  ว่าในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก มีการพบนกกระเรียนพันธุ์ไทยแบบนี้ แต่ก็มีการล่านำมาเป็นสัตว์เลี้ยงและบริโภคเพราะเมื่อก่อนยังไม่มี พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จนมันหายไปไม่เคยอีกเลย จนกระทั่งได้มีโครงการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ ก็ต้องไปทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าจะมีการอยู่รวมกันอย่างไร เพราะด้วยวิถีนกกระเรียนที่กิน หอย ปู ปลา และวัชพืชในนาข้าว ก็ไม่ได้เป็นปัญหา อุ้งเท้าของมันก็ไม่ได้ทำลายนาเสียหาย เมื่อนกกระเรียนวางไข่ หรือเวลาบินไปที่ไหนก็จะมีการรายงานกันอยู่ตลอด เพราะหวังว่านกกระเรียนจะมีการขยายพันธุ์สู่ธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ

ห่วงขาไว้ใส่นกระเรียนที่ผ่านการผสมพันธุ์ เพื่อขยายจำนวน

    โดยในศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จะมีการจัดแสดงประวัติความเป็นมาของนกกระเรียนชนิดพันธุ์ต่างๆ และความเป็นมาของนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่มีทั้งโหลดองลูกนกกระเรียน ไข่ ขน หรือห่วงขาที่ใช้สำหรับติดตามนกกระเรียน รวมไปถึงหอดูนก และพื้นที่จัดแสดงนกกระเรียนพันธุ์ไทย 2 ตัว เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้ชมด้วย

พื้นที่ไว้บางส่วนที่มีไว้่เพื่อจัดแสดงนกกระเรียน 


     นอกจากนี้ยังสามารถติดตามดูนกกระเรียนพันธุ์ได้ง่ายขึ้น ดร.ธีรพล ถนอมศักดิ์ยุทธ์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึง การจัดทำแอปพลิเคชัน Doo Nok (ดูนก) ซึ่งจัดว่าเป็นโครงการระยะยาว เพื่อเป็นอีกช่องทางในการรับทราบจุดที่จะพบนกกระเรียนพันธุ์ไทย โดยมีฟังก์ชั่นพิเศษในการทราบพิกัดที่จะพบเจอนก และยังเป็นการรวบรวมข้อมูลพันธุ์นกกว่า 500 ชนิด สามารถดาวน์โหลดได้แล้วทั้งในระบบ iOS App store และ Google Play store

 

นกกระเรียนพันธุ์ไทยที่จัดแสดง


 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"