รฟท.เตรียมส่งร่างสัญญาฯรถไฟ 3 สนามบินให้ซีพีพิจารณา เพื่อหาข้อสรุปใน 7 วัน


เพิ่มเพื่อน    


12 ก.ย.นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาทร่วมกับตัวแทนจาก กิจการร่วมค้าบริษัทกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อสรุปรายละเอียดแผนส่งมอบพื้นที่ร่วมกัน โดยหลังจากนี้จะรายงานให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมรับทราบผลการประชุมต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รายงานรายละเอียด แผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ที่จะแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งมีการนิยามพื้นที่ส่งมอบและพื้นที่ส่วนที่เหลือโดยกำหนดใจความของสัญญาให้มีความชัดเจนเข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย คือ รฟท. และ กลุ่มซีพี ว่าการลงนามในสัญญา ไม่ใช่วันเริ่มต้นการนับระยะเวลาการก่อสร้าง เพื่อลดความเสี่ยงของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งยังไม่ให้ รฟท. ถูกปรับจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า และ เอกชนจะได้ระยะเวลาก่อสร้างเต็มๆ 5 ปี อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องลงพื้นที่ดูความพร้อม และเริ่มงานก่อสร้างได้เมื่อ Notice to process หรือ NTP ที่ รฟท. จะออกให้เมื่อพื้นที่พร้อม โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น 1 ปีหลังจากมีการลงนามสัญญา

“ทางคณะกรรมการคัดเลือกจะส่งหนังสือร่างสัญญาร่วมทุนฯถึงกลุ่มซีพี เพื่อยืนยันถึงแนวทางดังกล่าวและให้กลุ่มซีพี ตอบกลับภายใน 7 วัน หลังจากนั้นจะมีการกำหนดวันลงนามสัญญา โดยรัฐบาล ได้ให้นโยบายมาว่าควรเซ็นสัญญาภายในเดือนกันยายนนี้ และจะมีการรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ ส่วนค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค และ โฮปเวล ล์จองสายสีแดงที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟไทย-จีนนั้น อยู่ในงบที่รัฐจ่ายให้กับเอกชน 1.19 แสนล้าน การเวนคืนและรื้อย้ายผู้บุกรกจะเป็นหน้าที่ของ รฟท. ส่วนโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์จะส่งมอบหลังจากเซ็นสัญญา 2 ปี“ นายวรวุฒิ กล่าว

นายวรวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนจะได้รับสิทธิ์พัฒนาบริหารเดินรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งพัฒนาและบริหารที่ดินมักกะสัน 50 ปี โดยมีมูลค่าโครงการลงทุนอยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาท  ขณะที่ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท
 
นายวรวุฒิ กล่าวว่า ในส่วนของเรื่องการส่งมอบพื้นที่นั้นต้องทำให้รอบคอบ และให้เข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นความเสี่ยงทั้งรัฐและเอกชน ซึ่งในขณะนี้ กลุ่มซีพีขอนำผลหารือให้พันธมิตรไทยและต่างประเทศรับทราบ เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการของแต่ละบริษัทเห็นชอบ โดยจะใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ ซึ่งเป้าหมายการเซ็นสัญญาคือเดือน ก.ย.ปีนี้ ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกำหนด

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า สำหรับพื้นที่ที่เป็นอุปสรรค ทาง รฟท.จะเร่งเคลียร์ ส่วน ซีพีจะรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางแนวเส้นทางร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคนั้นๆ ซึ่ง รฟท.จะช่วยดำเนินการ ทั้งโครงการจะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 3,571 ไร่ รวมเวนคืนอีก 850 ไร่ เป็น 4,421 ไร่ พร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ยังมีพื้นที่อุปสรรค 2 ส่วนคือ ที่บุกรุก 210 ไร่ มีผู้บุกรุก 513 ราย พื้นที่เช่า 83 สัญญา 210 ไร่

ส่วนสถานีมักกะสันส่งมอบได้ 100 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ ยังมีรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อน้ำมัน ท่อก๊าซบริเวณคลองแห้งและโค้ง ถ.พระราม 6, ท่อน้ำมัน บจ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (แทปไลน์) ช่วงลาดกระบัง กม.68 มุ่งหน้าอู่ตะเภา เป็นแนวยาว 40 กม., ท่อก๊าซ ปตท.หน้าวัดเสมียนนารี-สนามบินดอนเมือง 11 กม., ท่อระบายน้ำ กทม.บริเวณสามเสน คาดใช้เวลาส่งมอบพื้นที่ใน 2-3 ปี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"