'ทีเส็บ'ปั้น 'ภูเก็ต'สู่เมืองไมซ์เวิลด์คลาส


เพิ่มเพื่อน    

12 ก.ย.72562 นายจิรุถต์ อิศรางกูร  ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เปิดเผยทิศทางการขับเคลื่อนภูเก็ตไมซ์ซิตี้สู่เมืองไมซ์เวิลด์คลาสว่า ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาภูเก็ตให้เป็น “เมืองประชุมไมซ์ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยความสวยงามทางทะเลและความหลากหลายของวัฒนธรรมระดับโลก” โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และชุมชน ผลักดันการจัดงานไมซ์ในภูเก็ตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ชุมชน พัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์บนพื้นฐานความรู้เพื่อให้การจัดงานและผู้ประกอบการไมซ์ก้าวสู่มาตรฐานสากล รวมถึงส่งเสริมการทำงานอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว

“จากการศึกษาข้อมูลและยุทธศาสตร์ของเมืองภูเก็ตไมซ์ซิตี้พบว่า ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง และมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองไมซ์ซิตี้เทียบเท่านานาชาติ โดยมีเป้าหมายผลักดันภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางไมซ์ซิตี้ของอันดามัน และศูนย์กลางไมซ์ซิตี้ทางทะเลของภูมิภาคเอเชีย”

ภูเก็ตมีจุดเด่นที่หลากหลายในการเป็นไมซ์ซิตี้ระดับนานาชาติ ในฐานะจุดหมายปลายทางไมซ์เวิลด์คลาสที่มีชื่อเสียงระดับโลก การเดินทางเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ผ่านสนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งกำลังมีแผนขยายการรองรับผู้โดยสารเพิ่มจากปีละ 12.5 ล้านคนเป็น 18 ล้านคนต่อปี มีเที่ยวบินตรงเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ มากมาย ทั้งใน เอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง และยุโรป เช่น สิงคโปร์่ ฮ่องกง จีน มาเลเซีย เกาหลี รัสเซียสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ และสวีเดน พร้อมกิจกรรมก่อนและหลังเดินทางให้กับกลุ่มประชุมและอินเซนทิฟ ด้วยกิจกรรมครบครันทั้งกิจกรรมกีฬา การแสดงศิลปวัฒนธรรม สปาผ่อนคลาย กิจกรรมผจญภัย แหล่งเรียนรู้ชุมชนและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น วิถีชุมชนชาวบาบ๋าย่าหยาหรือชาวเพอรานากัน ซึ่งเป็นลูกครึ่งชาวจีนมลายู และชุมชนมุสลิม อีกทั้งยังมีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากรที่มีศักยภาพ อาทิ สถานที่การจัดประชุมสัมมนาจำนวน 220 แห่ง โดยมีจำนวนห้องประชุมกว่า 615 ห้อง จำนวนโรงแรมที่พักกว่า 600 แห่ง ด้วยจำนวนห้องพักมากกว่า 40,000 ห้อง ท่าเทียบเรือโดยสารและเรือสำราญ 14 แห่ง ท่าจอดเรือของเอกชน (Marina) อีก 4 แห่ง  และกำลังก่อสร้างรถไฟรางเบาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางจากสนามบินเข้าสู่ตัวเมือง

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาไมซ์ซิตี้ของภูเก็ต จะดำเนินงานครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การพัฒนาฐานที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ทั้งการจัดงาน บุคลากร และความพร้อมของสถานที่ประชุม กลางน้ำ การสร้างสินค้าและบริการให้มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีการสร้างโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม และปลายน้ำ มีการจัดทำแผนตลาด พัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์จังหวัดไปยังกลุ่มผู้จัดงานเพื่อดึงดูดงานไมซ์เข้าสู่จังหวัด

การกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาไมซ์ซิตี้ของจังหวัดภูเก็ตผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย การส่งเสริมประชาสัมพันธ์และการตลาดไมซ์แบบมุ่งเป้าหมาย โดยเตรียมดำเนินโครงการจัดทำสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานไมซ์ในภูเก็ต และการสร้างภาพลักษณ์ภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางไมซ์ในฝั่งอันดามัน พร้อมทั้งออกแบบและจัดทำคู่มือการจัดงานไมซ์ในภูเก็ต การยกระดับสินค้าและบริการไมซ์ร่วมกับชุมชน และสร้างโอกาสการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนสำหรับกิจกรรมหลังประชุม มีการจัดทำโปรแกรมมาตรฐานสำหรับลูกค้าองค์กร และพัฒนาคลัสเตอร์ปฏิทินร่วมงานการจัดประชุมเป็นกลุ่มเพื่อยกระดับการจัดกิจกรรมไมซ์

การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์ ผ่านโครงการพัฒนาหลักสูตรการจัดการประชุมและนิทรรศการในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในพื้นที่ รวมถึงโครงการยกระดับมาตรฐานของผู้จัดงานท้องถิ่น และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนไมซ์ ผ่าน 4 โครงการหลัก ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่หอประชุมหรือพื้นที่จัดงานไมซ์ภายในจังหวัดภูเก็ต การประชาสัมพันธ์และสนับสนุนให้โรงแรมเข้าสู่มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standard (TMVS) ประเภทห้องประชุม การจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านไมซ์ และการพัฒนาเครื่องมือออนไลน์สำหรับวางแผนการจัดประชุมไมซ์ในพื้นที่

นอกจากนี้ ทีเส็บยังได้จัดโครงการศึกษาและพัฒนาศักยภาพเส้นทางไมซ์ใหม่ในจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ ภายใต้แนวคิด 7 มุมใหม่ สไตล์ไมซ์ไทย (Thailand 7 MICE Magnificent Themes) ได้แก่ 1.ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 2.การผจญภัย 3.การสร้างทีมเวิร์ค 4.กิจกรรม CSR และการประชุมเชิงอนุรักษ์ 5. กิจกรรมบรรยากาศชายหาด 6.การจัดงานและกิจกรรมหรูหรามีระดับ 7.การนำเสนออาหารไทยในทุกการจัดงานที่หลากหลาย ซึ่งภูเก็ตเป็น 1 ใน 5 เมืองไมซ์ซิตี้หลักที่มีทุกอย่างพร้อมสรรพ อาทิ เส้นทางชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต ซึ่งใช้โปรโมทในงาน World Harmony Puppet ในปี 2561 หรือ เส้นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สร้างทีมเวิร์ค กิจกรรม CSR และการประชุมเชิงอนุรักษ์ ณ ชุมชนป่าคลอก และพิพิธภัณฑ์เพอรานากัน

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการทีเส็บ ยังกล่าวสรุปว่า หากพิจารณาจากสถิตินักเดินทางไมซ์เข้าสู่ภูเก็ตในปี 2561 เทียบกับปี 2560 พบว่ามีการเติบโตสูงมาก โดยในปี 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,216,230 คน เพิ่มขึ้น 167.94% จากปี 2560 ทำรายได้รวม 19,544.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87.75% ซึ่งมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักในทุกตลาดทั้งประชุมสัมมนาบริษัท (Meetings) การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentives) ประชุมนานาชาติ (Conventions) และงานแสดงสินค้า (Exhibitions) สะท้อนให้เห็นทิศทางตลาดและศักยภาพของภูเก็ตในการเป็นจุดหมายปลายทางไมซ์รองรับการประชุมในกลุ่มลักซูรี่ (Luxury) ทางภาคใต้ และเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์แห่งอันดามัน   อีกทั้งเชื่อมั่นว่าจากการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็งเพื่อผลักดันภูเก็ตไมซ์ซิตี้สู่เมืองไมซ์เวิลด์คลาสนั้น คาดว่าจะสามารถผลักดันให้จำนวนนักเดินทางไมซ์ในประเทศไปถึงเป้าหมาย 34,662,000 คน สร้างรายได้ 121,000 ล้านบาทได้ในปี 2562 นี้

นายธัญญวัฒน์ ชาญพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ต มีความพร้อมในด้านการบริการการท่องเที่ยว เพื่อรองรับคนที่จะหลั่งไหลเข้ามาไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว และนักเดินทางกลุ่มไมซ์  โดยจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ 4 M ได้แก่ Marina Hub เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลของภูมิภาค , Medical Hub เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ การสาธารณสุข และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , Mice City เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการประชุมและจัดนิทรรศการนานาชาติ, Manpower Development เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาบุคลากร ด้านการท่องเที่ยว และเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างแท้จริง , Sport Tourism เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และยุทธศาสตร์ 3 S ได้แก่ Smart City เพื่อพัฒนาภูเก็ตไปสู่ความทันสมัย เป็นศูนย์กลางเมืองดิจิทัล และรองรับการเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างแท้จริง และ Sustainable Development เป็นการพัฒนาอย่างที่ยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์ คือ การเป็นเมืองไมซ์ พัฒนาให้ภูเก็ตเป็นเมืองแห่งการประชุมสัมมนาและแสดงสินค้า เป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาภูเก็ต ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนต่างๆ ให้ภูเก็ตมีความพร้อมที่แท้จริง เป็นเมืองที่ยั่งยืนทั้งธรรมชาติ และคุณภาพชีวิต ทั้งยังตั้งชูจุดเด่น 3 ด้าน คือ อาคาร เพราะภูเก็ตโดดเด่นเรื่องอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ รวมถึงอาหาร ซึ่งภูเก็ตถือเป็นเมืองนำเสนอยูเนสโกเป็นเมืองอาหาร และอาภรณ์ เรื่ของการแต่งกาย


ด้านนางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง กล่าวว่า การใช้หลักการของกฎบัตร มาขับเคลื่อนจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาเมืองไมซ์ของป่าตอง มีการวางยุทธศาสตร์วางแนวทางเพื่อให้ป่าตองเป็นเมืองไมซ์ที่สมบูรณ์ให้ได้ ป่าตองมีความพร้อมที่จะรองรับการเป็นเมืองไมซ์ ในปัจจุบันมีโรงแรมรวมกันกว่า 40,000 ห้อง มีห้องประชุมที่สามารถรองรับได้ระดับ 2,000 คน นอกจากนี้เมืองป่าตองเองยังมีกิจกรรมอื่นๆที่รองรับคนที่มาเยือน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมทางทะเล และอาหารต่างๆ การขับเคลื่อนเป็นเมืองไมซ์ซิตี้สอดรับกับนโยบายจังหวัดมีความเป็นไปได้มาก
แต่ในส่วนที่รองรับงานประชุมตั้งแต่ 5,000-10,000 คนนั้นยังไม่มี ต้องสร้างห้องประชุมขนาดใหญ่เพิ่ม แต่ป่าตองยังติดปัญหาเรื่องผังเมือง ภาครัฐต้องเข้ามาช่วย ห้ามสร้างตึกสูงเกิน 23 เมตร และควบคุมความกว้าง 6,000 ตารางเมตร ซึ่งทางเทศบาลเองได้ยื่นปรับแก้ผังเมืองไปเมื่อปีที่แล้ว เช่นเดียวกับคนในท้องถิ่นที่พยายามขับเคลื่อนให้เป็นเมืองแห่งการเดิน พัฒนาถนน ทางเท้า เพื่อลดการใช้รถ รวมถึงจัดการเรื่องระบบขนส่ง ที่จะขนส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินมายังเมืองท่องเที่ยวให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"