“รมว.ดีอี” ดอดพบ “กสทช.” ปรับปรุงโครงการเน็ตประชารัฐ และการบริหารดาวเทียม


เพิ่มเพื่อน    


วานนี้ (12  ก.ย.62)  ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เดินทางมาพบ นายสุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช.และ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เพื่อ พูดคุยและรับฟังข้อมูลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ 

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยภายหลังการเข้าหารือว่า วันนี้ได้มาพูดคุยในประเด็น 4 เรื่องด้วยกัน ในเรื่องความคืบหน้าของ 5G ได้ขอคำแนะนำและรายงานสถานการณ์ปัจจุบันว่า 5G มีความเป็นไปได้ที่จะเปิดประมูลได้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ในปี 2020หรือไม่ ซึ่ง กสทช.ยืนยังว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ กระบวนการประมูลต่างๆ ตามสิ้นปีถึงต้นปีหน้า ขั้นตอนในการดำเนินการอยู่ในกรอบเวลาที่วางไว้ และแผนจะมีการปรับเลขหมายพื้นฐานจาก 9 หลัก เป็น 10 หลัก เป็นแผนที่มีความจำเป็นต่างๆ ภาพรวมความจำเป็นต่างๆ ของผู้ใช้บริการ ของคู่สายที่มีอยู่ ก็อาจจะไม่เพียงพอในเรื่องของการใช้โทรศัพท์และมีผลผูกพันในเรื่องของเลขหมายขยายเลขหมายการให้บริการ อินเทอร์เน็ต  ซึ่งยังติดปัญหาอยู่บ้างของผู้ให้บริการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน รับไปและไปดูแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งกสทช.ก็มีแผนอยู่แล้วที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 เพียงแต่ว่าขั้นตอนการดำเนินการในปี 2563 ก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนซึ่งไม่ได้ปรับได้ทันที เพียงแต่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ 

ขณะเดียวกันในเรื่องดาวเทียม นโยบายและการบริหารจัดการดาวเทียม ทั้งที่กำลังจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน การบริหารการจัดการ กระทรวงดีอีในฐานะผู้ดูแลนโยบาย การบริหารจัดการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตามกระทรวงดีอีจะทบทวนการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐ ประสิทธิภาพความยั่งยืนของเน็ตประชารัฐมีความจำเป็น ทั้งของ USO  และเน็ตประชารัฐของกระทรวงดีอี งบประมาณสนับสนุนที่สะดุด การวางโครงข่าย ในอนาคตจะเห็นประโยชน์ของโครงข่าย ส่วน 10,000 จุด ที่กระทรวงดีอีจะลงเพิ่มนั้น  จะต้องกลับไปดูรายละเอียดวว่าสัญญาเป็นอย่างไร กรอบงบประมาณที่ต้องเติมลงไป การวางแผนของผมอย่างน้อยระยะสั้นควรจะ 5  ปี ระยะยาว  10 ปี การหางบประมาณปีต่อปีไม่ง่าย การใช้งานต่อเนื่องของโครงข่ายมีความจำเป็น

“ก็ประมาณ 4-5 เรื่อง ซึ่งในรายละเอียดเป็นการรับฟังซะส่วนใหญ่ มีหลายๆ เรื่องที่ได้ซักถามบ้าง ส่วนเรื่องในอดีตการทำงานระหว่างกระทรวงดีอี และกสทช.ที่มีปัญหาอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการทำงานร่วมกัน ปัญหาความทับซ้อน หรือกรอบงานทั้งการวางนโยบายในทางปฏิบัติ จริงๆ ที่มีการพูดคุยกันและประสานงานร่วมกันให้ใกล้ชิดกว่านี้ เชื่อว่าหลายๆ จะทำให้การทำงานในส่วนของการสื่อสารโทรคมนาคมให้กับพี่น้องประชาชนได้รวดเร็วขึ้น ความซ้ำซ้อนของหน้าที่ก็คงจะน้อยลงและที่สำคัญที่สุด ในเรื่องของโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม เครือข่ายต่างๆ ก็ดีมีความจำเป็นที่จะต้องทำ” รมว.ดีอี กล่าว 

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วนในการหารือกับ รมว.ดีอี เป็นเรื่องการบริหารจัดการกิจการดาวเทียม โดยดาวเทียมไทยคม 5 ที่จะสิ้นสุดสัมปทาน กสทช.จึงเสนอให้เร่งรัดเพื่อดำเนินการให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยกระทรวงดีอีแจ้งว่าอยู่ในขั้นตอนของการจ้างที่ปรึกษาการบริหารจัดการดาวเทียม กสทช.ได้แจ้งว่าหากการดำเนินการตามระบบบริหารจัดการใหม่ไม่ทันตามกำหนดกสทช.จะออกมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการไม่ให้เกิดผลกระทบ 
นอกจากนี้ กสทช.ยังได้อธิบายถึงการเรียกคืนคลื่นความถี่ของไทยคม 5 ย่านความถี่ 3400-3700 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz) เพื่อนำมาประมูล  และการเร่งรัดพัฒนาเทคโนโลยี5G โดยรัฐมนตรีดีอีเห็นด้วยกับแนวคิดของกสทช.ที่จะผลักดันให้การขับเคลื่อน 5G เป็นวาระแห่งชาติและมีกรรมการระดับชาติเข้ามาดูแล กสทช.ยังได้แจ้งถึงการเรียกคืนคลื่นความถี่ 2600 เมกกะเฮิรตซ์ จากบริษัทอสมท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเยียวยา โดยรัฐมนตรีดีอีได้รับที่จะไปหารือกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูและบมจ.อสมท. เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้ ส่วนการสนับสนุนนโยบายต่อต้านข่าวลวง ได้แจ้งถึงการเสนอแนวคิดที่จะให้ผู้ให้บริการ OTT ตั้งศูนย์ตรวจสอบข่าวลวงเพื่อปิดกันข่าวลวง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"