'ศาล-อัยการ-ตร.'ลงMOUเชื่อมโยงข้อมูลคดีออนไลน์เริ่ม 1 ต.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    


16 ก.ย.62-ที่สำนักงานศาลยุติธรรม นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมด้วยนายเชิดศักดิ์ หิรัญสิริสมบัติ รองอัยการสูงสุด และ พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร.และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การเชื่อมโยงข้อมูลสารบบคดีกระบวนการยุติธรรม โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาใช้ในการยื่นฟ้องคดีและพิจารณาคดีอาญา ตั้งแต่ชั้นตำรวจ, อัยการ, ศาล เพื่อลดระยะเวลาและความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ และยังทำให้กระบวนการยื่นฟ้องคดี การพิจารณาคดี พิพากษาคดีแล้วเสร็จด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ โดยก่อนการลงนาม MOU เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 หน่วยงานได้สาธิตการบันทึกข้อมูลด้วยสารบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ชื่อระบบ CRIMES ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลคดีส่วนของ สภ.-สน.ทั่วประเทศ 1,482 แห่ง, ของสำนักงานอัยการสูงสุดใช้ระบบชื่อ NSW และสารบบคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวว่า การพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลสารบบคดีกระบวนการยุติธรรม เริ่มจากเมื่อมีการฟ้องคดี กับศาลแขวง หรือศาลจังหวัดที่มีอำนาจพิจารณาคดีศาลแขวงในคดีอาญา โดยเฉพาะคดีฟ้องด้วยวาจาเจ้าหน้าที่จะต้องบันทึกข้อมูลตั้งต้นที่อัยการโดยตำรวจนำมาฟ้องต่อศาล เช่น ข้อมูลฟ้องทั่วไป ข้อมูลจำเลย บันทึกการจับกุม ฯลฯ ทำให้ทำให้คดีที่ควรจะตัดสินได้อย่างรวดเร็วกลับต้องเสียเวลาในการรอการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ สำนักงานศาลยุติธรรม จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศึกษาการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการยื่นฟ้องคดีและการพิจารณาคดีอาญา ตั้งแต่ชั้นตำรวจ อัยการ ศาล โดยการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ตำรวจสามารถบันทึกข้อมูลทางคดีเข้าสู่ระบบ และเชื่อมโยงข้อมูลไปยังระบบและฐานข้อมูลของสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อที่อัยการพิจารณาสั่งฟ้อง จากนั้นข้อมูลทางคดีจะถูกส่งต่อเข้ามายังระบบและฐานข้อมูลศาล ผ่านเทคโนโลยี Web Service และคำฟ้องของอัยการก็จะถูกส่งมายังศาล  ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

“การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง 3 หน่วยงานนี้ นอกจากจะลดระยะเวลาและความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูลแล้ว ยังทำให้กระบวนการยื่นฟ้องคดีและการพิจารณาคดี พิพากษาคดี แล้วเสร็จด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ อันเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคดีทางอาญาที่ฟ้องด้วยวาจาซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษไม่สูง การเชื่อมโยงข้อมูลสารบบคดีกระบวนการยุติธรรมโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการยื่นฟ้องคดีและพิจารณาคดีอาญา จะดำเนินการพร้อมกันในศาลชั้นต้น ศาลจังหวัดและศาลแขวงทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562 เป็นต้นไป ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประธานศาลฎีกาเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการคดีและเพื่อให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้น เพื่อมุ่งสู่การบริการในลักษณะระบบศาลดิจิทัล (D-Court) ในปี พ.ศ.2563”   

นายเชิดศักดิ์ ล่าวว่า ระบบ Web Service ของอัยการไม่ใช่เพียงตัวที่ใช้บันทึกว่ามีคดีรับเข้ามา ข้อมูลชื่อผู้ต้องหารวมทั้งชื่อผู้เสียหาย ข้อหาอะไร แต่สิ่งที่เราได้จากสารบบคดีด้วยก็คือ ข้อมูลที่บันทึกเหล่านี้ เราสามารถไปพัฒนาต่อยอด รวบรวมเป็นสถิติคดี เช่น เราสามารถสร้างข้อมูลเป็นท็อปเท็น ว่าคดีที่เกิดขึ้นในทุกเขตศาลทั่วประเทศไทยเป็นข้อมูลสถิตออนไลน์แบบเรียลไทม์ ทั้งในระดับรายเดือนจนถึงรายปี เราจะสามารถทราบได้ว่าในหลายจังหวัดนั้นคดีที่เกิดสูงสุดขึ้น 10 อันดับแรกคืออะไร และยังสามารถแยกเป็นประเภทคดีได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราสามารถแยกได้ 63 ประเภท ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งในการป้องกันอาชญากรรมและวางแผนได้ว่าปัจจุบันคดีเกิดขึ้นเท่าไร โดยสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ว่า ณ วันนี้ท้องที่ของท่านมีคดีอะไรเกิดขึ้นบ้าง 

พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวขอบคุณทั้งศาลและอัยการเช่นเดียวกัน ว่าได้ริเริ่มสิ่งที่เป็นประโยชน์ สื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน โดยเป้าหมายสุดท้ายก็เพื่อประโยชน์สูงสุดในการสร้างความยุติธรรมต่อพี่น้องประชาชน ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบที่มีความถูกต้องและมีคุณภาพ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"