“อธิรัฐ”สั่ง จท.ทำงาน24ชม.ดูแลประชาชนเยียวยาหลังน้ำลด


เพิ่มเพื่อน    


16 ก.ย.62-นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่และตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนางสาวณัฐธ์ภัสส์  ยงใจยุทธ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคม  และคณะนายอำเภอ ผู้นำชุมชน จากอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา รวบรวมสิ่งของมาให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 15 คันรถว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ได้สั่งการให้กรมเจ้าท่า (จท.) ดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกวัน 
โดยภายหลังจากที่ระดับน้ำลดลงสู่สภาวะปกติ 100% แล้วนั้น

อย่างไรก็ตาม มอบหมายให้ดำเนินการขุดลอกคูคลองกำจัดสิ่งกีดขวางลำน้ำ รวมถึงตะกอนดินต่างๆ ที่ไหลมากับกระแสน้ำ รวมถึงการก่อสร้างและซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพังของ จท.ในหลายพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในปีหน้า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ได้สั่งการให้ จท. พิจารณาการเยียวยาประชาชนต่อไป โดยในส่วนของความเสียหายนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณปี 2563 ในการดำเนินการมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

ทั้งนี้ จท.ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณในการบำรุงรักษาทางน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2563 จำนวน 78.94 ล้านบาท เพื่อขุดลอกบำรุงรักษาทางน้ำจำนวน 22 แห่ง ระยะทาง 170 กิโลเมตร ปริมาณวัสดุที่ต้องขุดลอก 2.542 ล้านลูกบาศก์เมตร และก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง 2 โครงการ โดยเป็นงบฯ ผูกพันปี 2563 - 2564 รวมเป็นเงิน 76 ล้านบาท 

“เมื่อเกิดอุทกภัยขึ้นและทำให้ลำน้ำหลายสายได้รับผลกระทบรวมถึงมีซากต้นไม้และสิ่งของต่างๆ ที่ไหลมากับกระแสน้ำไหลลงสู่ลำน้ำ ทางกรมเจ้าท่าจะปรับแผนมาดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาในโอกาสแรกก่อน และจะเสนอของบประมาณเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป” นายอธิรัฐ กล่าว

นายอธิรัฐ กล่าวถึงแผนการขุดลอกลำคลอง แม่น้ำ เพื่อเตรียมพร้อมภัยแล้งว่า จท. มีแผนแม่บทด้านการจัดการน้ำท่วม ภายใต้เป้าหมาย/ตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (2561-2580) ตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้การกำกับของสำนักงานทรัพยากรแห่งชาติ โดยในปี 2564 ตามแผนแม่บทจะต้องดำเนินการปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขินให้สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ จำนวน 58 แห่ง ระยะทาง 902 กิโลเมตร ปริมาณวัสดุที่ต้องขุดลอก 29 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งสำรวจออกแบบพื้นที่เป้าหมายที่ต้องปรับปรุงลำน้ำ ระยะทาง 800 กิโลเมตร ตลอดจนศึกษาและทบทวนผลการศึกษาลุ่มน้ำสายหลักตามแผนแม่บทให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา งบประมาณภาพรวมทั้งประเทศ 2.11 พันล้านบาท และงบประมาณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 600 ล้านบาท 

ทั้งนี้ หากได้รับงบประมาณตามแผนแม่บทที่วางไว้ จะสามารถปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขินให้สามารถระบายน้ำได้มีอย่างประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงเครือข่ายลุ่มน้ำ ทั้งในและนอกเขตชลประทาน ซึ่งเป็นการป้องกันและช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นและยังเป็นการรักษาสภาพลำน้ำให้คงสภาพตามธรรมชาติ สนับสนุนองค์กรลุ่มน้ำ ตลอดจนเพิ่มพื้นที่แก้มลิงกักเก็บน้ำธรรมชาติในลำน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งต่อไปได้ด้วย

นายอธิรัฐ กล่าวต่ออีกว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงเป็นใยประชาชนภาคอีสานที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างมาก ซึ่งได้มีการพูดคุยแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวกับตนแทบทุกวัน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังสั่งการให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานประสานการทำงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ครอบคลุมแผนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน พร้อมกำชับให้ข้าราชการทุกคนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่

สำหรับปัญหาน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น ได้รับผลกระทบมาแล้วมากกว่า 2 สัปดาห์ ขณะนี้มีปริมาณน้ำท่วมเฉลี่ยสูง 2 เมตร ขณะที่บางจุดมีน้ำท่วมสูงถึง 4 เมตร ปัจจุบันมีจุดวิกฤติอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ หาดสวนยา ท่ากอไผ่ และท่าบ้งมั่ง อย่างไรก็ตามจังหวัดอุบลราชธานีถือว่าเป็นจุดที่รับน้ำท่วมมากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งน้ำท่วม 5 จังหวัด ไหลมารวมกันที่จังหวัดนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"