รู้จักและเข้าใจ..อัลไซเมอร์  ชีวิตที่ไม่ง่ายของคนใกล้ตัว


เพิ่มเพื่อน    


    สังคมผู้สูงอายุมาพร้อมปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม เช่น 'โรคอัลไซเมอร์' เป็นต้น ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดการเสื่อมของการทำงานของสมองจากสาเหตุต่างๆ โดยจะแสดงอาการในภาพรวมออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1.มีความผิดปกติทางด้านความทรงจำและทักษะต่างๆ (Cognition) เช่น หลงลืมสิ่งที่ทำไปแล้ว ความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ลดลง สับสนในเรื่องทิศทาง วันเวลา และสถานที่ เป็นต้น 2.มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม (Behavior) เช่น มีอารมณ์ฉุนเฉียวก้าวร้าวขึ้น ประพฤติตนในสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เป็นต้น 3.มีความผิดปกติในการทำกิจวัตรในชีวิตประจำวัน (Activity in Daily Life) เช่น ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำได้ และในที่สุดอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นต้น 
    ผลจากอาการในภาพรวมดังกล่าวจะกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทั้งตัวผู้ป่วยคนรอบข้างและสังคม ดังนั้นการมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยการดูแลรักษา และการเตรียมตัวแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับผู้ป่วย ญาติ และสังคมโดยรวม    
    ศ.นพ.กัมมันต์ พันธุมจินดา นายกสมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคอัลไซเมอร์นับเป็นโรคหนึ่งในผู้สูงอายุที่โลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด จากสถิติทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 3-6 และมักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่านั้นพบโรคนี้น้อย และส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางพันธุกรรม ในปัจจุบันแม้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุจะมีข้อมูลใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เพียงแต่ทราบพยาธิวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรวิทยา ที่เป็นผลทำให้เกิดอาการต่างๆ และทราบปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ดังนั้น ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันจึงยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่อาจควบคุมอาการต่างๆ ของโรคนี้ได้ในระดับหนึ่ง โดยการปรับเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรวิทยาของโรคนี้ ส่วนการป้องกันก็เช่นเดียวกัน คือไม่สามารถป้องกันได้เด็ดขาด เพียงแต่อาจชะลอการเกิดอาการหรือลดความรุนแรงของอาการของโรคดังกล่าว โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ชักนำให้เกิดอาการของโรค    
    หลักการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายและการดำเนินโรคก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เป้าหมายของการดูแลรักษาจึงเน้นการรักษาอาการต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหาของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อญาติ ผู้ดูแล และสังคมรอบข้างน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้      
    ดังนั้นเพื่อให้ผู้ดูแลและผู้ป่วยนั้นมีความสุขไปด้วยกัน ผู้ดูแลควรมีแนวทางการปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่เหมาะสม เช่น    
    1.เข้าใจโรคอัลไซเมอร์: ควรหาความรู้และทำความเข้าใจกับโรคอัลไซเมอร์ให้ดี เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการ ระยะเวลาการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้น วิธีการดูแลรักษาและแนวทางการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อผู้ดูแลจะได้สามารถจัดการวางแผนการดูแลและแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
    2.คอยให้กำลังใจผู้ป่วย: ในระยะแรกที่ผู้ป่วยมีอาการน้อยควรให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับอาการป่วยของตนเอง มีกิจวัตรประจำวันต่างๆ เท่าที่ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกด้อยค่าหรือเป็นภาระ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า และมีความมั่นใจมากขึ้น    3.ทำกิจกรรมที่เหมาะสม: จดรายการกิจวัตรประจำวันหรือประจำสัปดาห์ เพื่อเตือนความจำและให้ผู้ป่วยสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพกายดี และผู้ป่วยได้ผ่อนคลายไปในตัว ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว พาออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นครั้งคราว หรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนฝูงหรือเข้าสังคม เท่าที่ผู้ป่วยจะทำได้    
    4.เข้าใจผู้ป่วย: บางครั้งผู้ป่วยอาจแสดงอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกผิดหวัง เครียด วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าอาการแสดงดังกล่าวของผู้ป่วยเป็นผลมาจากอาการของโรค ไม่ควรโกรธหรือโต้ตอบผู้ป่วยด้วยอารมณ์ เมื่อผู้ป่วยเกิดปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งมักเป็นปัญหาที่ยากที่สุดปัญหาหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ดูแลพึงสังเกตปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านั้นและพยายามแก้ไขปัจจัยที่แก้ไขได้ โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมและบุคคลรอบข้างผู้ป่วยที่อาจทำให้เกิดปัญหาเหล่านั้นเป็นหลัก การที่จะแก้ปัญหาโดยให้ผู้ป่วยพยายามปรับตัวมักทำได้ยากเนื่องจากผู้ป่วยเป็นเป็นโรคนี้จึงไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนคนปกติ    5.ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยกับแพทย์ผู้รักษา: การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจะทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้ดูแลซึ่งเป็นบุคลากรที่อยู่กับผู้ป่วยเกือบตลอดเวลาควรสังเกตอาการที่ผิดปกติของผู้ป่วยทั้งความผิดปกติของโรคทางกาย และความผิดปกติของอารมณ์และพฤติกรรม รวมทั้งบันทึกความผิดปกติเหล่านี้และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อถึงเวลานัดตรวจโรค ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ช่วยแพทย์ ญาติและผู้ดูแลร่วมกันในการปรับการดูแลรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"